สิทธิบัตรทอง
ประกัน สังคม
บัตรทอง คือ สิทธิของคนไทย หรือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค) เป็นบัตรที่ออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิเข้ารับบริการสาธารณสุขจากหน่วยบริการ ** โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สปสช.
ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิ ได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติซึ่งบุคคลใน ที่นี้หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย ดังนั้น ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจ าตัว ประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้
สิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรทอง
- การส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ ทั้งก่อนและหลังคลอดการคลอด การคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 2 ครั้ง
- การดูแลสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก รวมทั้ง วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค
- บริการวางแผนครอบครัว ได้แก่ การให้คำแนะนำปรึกษาแก่คู่สมรส การคุมกำเนิด
- การตรวจ การวินิจฉัย การรักษาโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
- จ่ายค่ายาและเวชภัณฑ์ ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ
- จ่ายค่าอาหารและค่าห้องสามัญ ระหว่างพักรักษาตัว ณ หน่วยบริการ
- ได้รับการจัดส่งต่อเพื่อการรักษา ระหว่างหน่วยบริการ
วิธีสมัครบัตรทอง
ทำบัตรทองตามสถานที่รัฐจัดให้ ได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
- สำนักงานเขต กทม. (19 เขต)
- สปสช. เขตพื้นที่ 1-13
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ โรงพยาบาลของรัฐ
สมัครบัตรทองทางโทรศัทพ์
- โทรสายด่วน สปสช. 1330 จากนั้นกด 2 ตามด้วยหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และเครื่องหมาย #
สมัครบัตรทองผ่าน Application “สปสช.”
- ดาวน์โหลดฟรี ได้ทั้งระบบ Andriod และ iOS (สแกน QR Code เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน) (หมายเหตุ : เมื่อลงทะเบียนติดตั้งแอปพลิเคชันเรียบร้อย สามารถเข้าใช้งานฟังก์ชั่น ตรวจสอบสิทธิตนเอง และตรวจสอบสิทธิคนในครอบครัวได้ทันที)
เอกสารที่ใช้สมัครบัตรทอง
- บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้
- หากเป็นเด็กต่ำอายุต่ำกว่า๑๕ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
- แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ขอได้ ณ จุดรับลงทะเบียน)
- แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ
กรณีพักอาศัยอยู่จริงไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
- สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
- หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ
- ต. หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
- เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ
- ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนพักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ จริง
ใช้บัตรทองที่ไหน
บัตรทองใช้ที่ไหนได้บ้าง ปัจจุบันสิทธิบัตรทอง ผู้ป่วยนอกสามารถรักษาหน่วยบริการปฐมภูมิทุกที่ ในเขต กทม. และปริมณฑล เริ่ม 1 พ.ย. นี้ เมื่อต้องการรักษาโดยใช้สิทธิ สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ทั่วประเทศตามหน่วยบริการปฐมภูมิ ซึ่ง หมายถึง สถานบริการตั้งแต่ระดับสถานีอนามัย ศูนย์เทศบาล ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ หรือหน่วยบริการอื่น ๆ ทั้งหน่วยบริการของภาครัฐและเอกชน มีภารกิจด้านงานส่งเสริมสุขภาพ พื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรคการใช้สิทธิบัตรทอง ผู้ประสงค์ใช้สิทธิบัตรทองให้แสดงบัตรทอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้ารับบริการสาธารณสุข ได้ที่หน่วยบริการประจำที่ระบุในบัตรก่อนทุกครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
สิทธิบัตรทองเจ็บป่วยทั่วไป
- สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
- แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ : ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้
ใช้บัตรทองป่วยฉุกเฉิน
- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น
- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน
- โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิตโรคหรือลักษณะอาการของ
- โรคที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาจากความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษา และความเร่งด่วนในการรักษาประกอบด้วย
- เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
- แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ : กรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่นนอกเหนือหน่วยบริการประจำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (ตั้งแต่ ๓ด กรกฎาคม ๒๕๕๑)
กรณีได้ประสบอุบัติเหตุ ใช้สิทธิบัตรทอง
- ควรเข้ารับการรักษายังหน่วยบริการของรัฐหรือเอกชนที่เข้าร่วมโครงการฯ และอยู่ใกล้ที่สุด
- แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิพร้อมแสดงเอกสารประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร (ใบเกิด)
อุบัติเหตุจากรถใช้สิทธิบัตรทอง
ผู้มีสิทธิสามารถใช้สิทธิบัตรทองต่อเนื่องจากค่าเสียหายเบื้องตันที่กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถหรือบริษัทประกันภัยเป็นผู้จ่าย โดย
1 เข้ารับการรักษายังหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการ
- แจ้งใช้สิทธิพร้อมหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
- หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
2 เข้ารับกรรักษายังหน่วยบริการที่ไม่เข้าร่วมโครงการ
- แจ้งใช้สิทธิบัตรพร้อมหลักฐานประกอบได้แก่ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรประจำตัวประชาชน หรือหลักฐานอื่นใดที่ราชการออกให้และมีรูปถ่าย (หากเป็นเด็กใช้สูติบัตร) สำเนา พ.ร.บ.รถที่ประสบภัย
- ติดต่อสายด่วน สปสช. ๑๓๓๐ เพื่อประสานหาเตียงรองรับ ในการใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อเนื่อง
- หากมีความเสียหายเกินค่าเสียหายเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยสำรองจ่ายแล้วไปรับคืนจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (กรณีได้ข้อยุติว่ารถของคู่กรณีเป็นฝ่ายผิด)
หมายเหตุ : ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ได้กำหนดให้โรงพยาบาลเรียกเก็บแทนผู้ประสบภัย
รักษาต่อเนื่องใช้บัตรทอง
- เข้ารับการรักษา ณ หน่วยบริการที่ระบุในบัตรทอง
- แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
- หากการรักษาพยาบาลครั้งนั้นเกินศักยภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิจะพิจารณาส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพที่สูงกว่าตามภาวะความจำเป็นของโรค
เช็คสิทธิบัตรทอง
ขั้นตอนตรวจสอบสิทธิ์บัตรทอง
- สามารถไปติดต่อด้วยตนเองได้ที่ สำนักงานเขตกทม.(19เขต) / สปสช. เขตพื้นที่ 1-13 / โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล /โรงพยาบาลของรัฐ
- โทรหาสายด่วนของ สปสช ที่เบอร์ 1330 กด2 ตามด้วยหลายเลขบัตรประชาชน 13หลัก และเครื่องหมาย
- วิธีตรวจสอบสิทธิ์บัตรทองผ่านเว็บไซต์
- การตรวจสอบสิทธิ์บัตรทองผ่านแอปพลิเคชั่น
วิธีตรวจสอบสิทธิ์บัตรทองผ่านเว็บไซต์
- เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservices.nhso.go.th/eServices/mobile/login.xhtml
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
- กรอก วัน / เดือน / ปีเกิด
- กรอกตัวเลขที่ระบบกำหนดให้ ลงในช่อง “ระบุตัวอักษรในภาพ” ** หมายเหตุ หากไม่ได้ ให้ รีเฟสอีกครั้ง **
- คลิกตกลง
- ระบบจะแสดงรายละเอียดของผู้ต้องการตรวจสอบสิทธิขึ้นมา สามารถเลือกเช็คข้อมูลได้ตจามต้องการ
การตรวจสอบสิทธิ์บัตรทองผ่านแอปพลิเคชั่น
- ติดตั้งแอปพลิเคชั่น ด้วยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “สปสช.” ฟรีทั้งใน ios และ android
- เข้าแอปพลิเคชั่นเพื่อกรอกข้อมูล
- หากยังไม่ลงทะเบียนให้คลิกปุ่ม “ลงทะเบียน” เพื่อลงทะเบียนก่อน
- กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และ รหัสผ่านที่ลงทะเบียนไว้
- เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว สามารถ เลือก ตรวจสอบสิทธิบัตรทองตามที่ต้องการ
วิธีสมัครบัตรทอง ในแอพพลิเคชั่น
- เลือกช่อง “ลงทะเบียน” ในแอพพลิเคชั่น
- กรอกเลขบัตรประชาชน แล้วกดปุ่ม “ตรวจสอบ” ระบบจะขึ้น ชื่อ นามสกุล มาให้
- กรอกเลข เลขรหัสหลังบัตรประชาชน
- กรอก วัน/เดือน/ปีเกิด แล้วกดช่อง “ถัดไป” ระบบจะให้ทำการตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก และยืนยันการตั้งรหัสผ่าน
- ให้ตั้งรหัสผ่าน 6 หลัก เพื่อยืนตัวตน เมื่อตั้งรหัสเสร็จ ระบบจะขึ้นหน้า “ยืนยันตัวตน” ขึ้นมา
- ให้รอกเบอร์โทรศัพท์ลงใน้ช่อง “เบอร์โทรศัพท์” แล้วกดคลิก “ขอรหัส OTP”
- ระบบจะส่งข้อความเลข OTP กลับมาให้ยังเบอร์ที่กรอกไว้ เป็นอันเสร็จสิน การลงทะเบียน
วิธีเช็คสิทธิ์บัตรทองด้วยเลขบัตรประชาชน
- ให้เปิดที่ http://eservices.nhso.go.th/eServices/
- คลิกไปที่เว็บไซต์ และ กรอกบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก
- กรอก วัน เดือน ปี เกิด
- จะทราบผลทันทีไม่เกิน 1 นาที
ย้ายสิทธิบัตรทอง
การขอย้ายสิทธิรับบริการบัตรทอง การขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ สามารถติดต่อขอเปลี่ยนได้ที่หน่วยบริการ หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานเขตของ กทม. ในวันเวลาราชการ โดยเปลี่ยนได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ต่อปี (ตุลาคม – กันยายน) ของปีถัดไป ทั้งนี้ การขอรับบริการ ณ หน่วยบริการแห่งใหม่ สามารถใช้สิทธิไม่เสียค่าใช้จ่ายได้หลังการแจ้งความจำนงประมาณ ๑ เดือน
วิธีย้ายสิทธิบัตรทอง
- เข้าเข้าพลิเคชั่น กรอกข้อมูล เลขบัตรประชาชน และรหัสผ่าน ให้ครบถ้วน
- มองหาหมวด บริการ แล้วเลือกช่อง “ลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ” แล้วคลิก ระบบจะแสดงที่อยู่ ตามทะเบียนที่สมัครไว้
- ถ่ายรูปหน้าตรงปัจจุบัน 1 รูป ถ่ายรูปหน้าบัตรประชาชน 1 รูป และถ่ายรูป หน้าตรงพร้อมบัตรประชาชนอีก 1 รูป แล้วอัพโหลด ให้เรียบร้อย
- ให้เลือกหน่วยบริการที่ต้องการให้ ระบบจะแสดงหน่วยบริการเดิมมาให้ด้านบน
- เมื่อเลือกหน่วยบริการใหม่เสร็จ เลือกปุ่ม “ยืนยัน” เป็นอันเสร็จสิน
บัตรทองทําที่ไหน
ทำบัตรทอง กรุงเทพ
เขตที่ |
ชื่อ |
สถานที่ / เบอร์โทรศัพท์ |
1 |
คลองเตย |
ชั้น 1 ฝ่ายทะเบียน ห้อง BSC / 02-126-6902 |
2 |
คลองสามวา |
ชั้น 1 มุมด้านหลังข้างห้องทะเบียน / 02-548-0134 |
3 |
ธนบุรี |
ชั้น 1 ฝ่ายทะเบียน / 02-465-5841 |
4 |
บางกะปิ |
ชั้น 1 ห้องบัตร หลังเสาธง (อาคาร 1) / 02-130-7260 |
5 |
บางขุนเทียน |
ชั้น 1 ห้อง one stop service / 02-416-0170 |
6 |
บางแค |
ชั้น 2 ฝ่ายเทศกิจ / 02-455-4310 |
7 |
บางพลัด |
ชั้น 1 ห้อง one stop service / 02-424-1265 |
8 |
ประเวศ |
ชั้น 4 ฝ่ายพัฒนาชุมชน / 02-130-7302 |
9 |
พระโขนง |
ชั้น 3 ฝ่ายพัฒนาชุมชน / 02-136-5960 |
10 |
มีนบุรี |
ชั้น 1 ฝ่ายสัสดี / 02-540-7035 |
11 |
ราชเทวี |
ชั้น 2 ฝ่ายปกครอง / 02-126-6913 |
12 |
ราษฎร์บูรณะ |
ชั้น 2 ห้อง one stop service / 02-408-4249 |
13 |
ลาดกระบัง |
ชั้น 1 ห้องทะเบียน / 02-326-6134 |
14 |
ลาดพร้าว |
ชั้น 2 ฝ่ายปกครอง / 02-538-6531 |
15 |
สายไหม |
ชั้น 1 ทางเข้าด้านหลัง / 02-147-5464 |
16 |
หนองแขม |
ชั้น 1 ฝ่ายทะเบียน / 02-421-5818 |
17 |
หนองจอก |
ชั้น 1 ห้อง one stop service (ช่อง 13) / 02-548-2953 |
18 |
หลักสี |
ชั้น 1 ห้องเงินออม / 02-147-5411 |
19 |
ห้วยขวาง |
ชั้น 1 ห้อง one stop service / 02-126-6905 |
สปสช. เขตพื้นที่ 1-13
สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อยู่ที่
การทำบัตรทองที่ต่างจังหวัด
- สถานีอนามัย
- โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน หรือ
- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เปิดให้บริการในวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๑๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 161195: 1641