งบกระแสเงินทุนแหล่งที่มาและใช้ไปรายการของบัญชีแตกต่าง 5 งบ?
งบกระแสเงินทุน กระแสเงินทุน (Funds Statement) ในรายการของบัญชี ประโยนช์ของงบ ประโยชน์ของงบกระแสเงินทุน งบกระแสเงินทุน เงินทุนหมุนเวียน งบ
อธิบายงบกระแสเงินสดแบบเข้าใจง่าย จบ ครบ ในทีเดียว
ไม่ว่าจะอยู่ยุคสมัยไหน เรื่องที่ขาดไม่ได้เลยก็คือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการเงิน การบัญชี เพราะไม่ได้เป็นเรื่องที่ไกลตัวเราไปเลย ไม่ว่าจะธุรกิจองค์กรขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่หรือแม้แต่กับตัวบุคคลก็ล้วนแต่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินทั้งสิ้น ธุรกิจเล็ก ธุรกิจรายย่อยก็ยังต้องมีการทำรายรับรายจ่ายเพื่อเป็นข้อมูลด้วยกันทั้งสิ้น แต่ตอนนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่อง “งบกระแสเงินสด” ที่อยู่ในเรื่องของงบการเงินอีกที มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำเนินธรุกิจทั้งกับผู้บริหารกิจการ รวมไปถึงนักลงทุน เพราะเจ้าตัวงบกระแสเงินสดนี้เองที่มีผลต่อการบันทึกข้อมูลทางด้านบัญชีโดยตรงที่ความสำคัญ และยังเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของธุรกิจได้ดีอีกด้วย
งบกระแสเงินสดนั้นก็เป็นเรื่องในงบการเงิน (Financial Statements) ที่มีความสําคัญอย่างมากอีกงบหนึ่งที่ธุรกิจควรจะต้องจัดทํานอกเหนือจากงบอื่น ๆ ที่ธุรกิจทำอยู่เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานทางธุรกิจ งบแสดงฐานะการเงินซึ่งเป็นงบที่แสดงถึงฐานะการเงินของกิจการ เป็นต้น เพราะงบกระแสเงินสดจัดเป็นงบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดที่แสดงเกี่ยวกับเงินสดที่ได้รับว่ามาจากแหล่งใด และแสดงเกี่ยวกับเงินสดที่ต้องจ่ายออกไปเนื่องจากสาเหตุใด โดยการได้มาหรือใช้ไปของเงินสดในแต่ละงวดนั้น มีผลสืบเนื่องจากกิจกรรมภายในองค์กรธุรกิจ จะเห็นได้ว่างบกระแสเงินสดมีความสำคัญขนาดนี้ เราไปทำความรู้จักกับงลกระแสเงินสดกันเลย
รู้จักกับความหมายของคำศัพท์ในเรื่อง “งบกระแสเงินสด”
เงินสด ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cash หมายถึง เงินสดที่ถืออยู่ในมือ เป็นรูปแบบจับต้องได้ รวมทั้งรูปแบบเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม เรียกง่าย ๆ ว่าลักษณะเป็นเงินสดที่ใช้กันโดยทั่วไปส่วนใหญ่ซึ่งมีมูลค่าทางทรัพย์สินตามกฎหมายอย่างชัดเจน สามารถใช้แลกเปลี่ยนทำธุรกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นสากลนั่นเอง อาทิเช่น เงินสดย่อยทั่วไป เช็คที่กำหนดชำระแต่ยังไม่ได้นำฝาก เช็คเดินทาง เงินฝากธนาคารกระแสรายวันและออมทรัพย์ที่อยู่ในบัญชีธนาคาร เป็นต้น
รายการเทียบเท่าเงินสด ภาษาอังกฤษเรียกว่า Cash equivalents หมายถึง ลักษณะหนึ่งของเงินลงทุนที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งจะมีวันครบกำหนดภายในระยะเวลา 3 เดือนหรือน้อยกว่านับจากวันที่กิจการหรือธุรกิจรับและได้มา ลักษณะของรายการเทียบเท่าเงินสดจะต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่เห็นได้อย่างชัดเจน เรียกง่าย ๆ ว่าเรารู้อยู่แล้วว่ารายการเทียบเท่าเงินสดมีมูลค่าเป็นเงินสดจริงได้เท่าไร โดยจะต้องมีอายุของรายเทียบเท่าเงินสดนั้นไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้รายการเทียบเท่าเงินสดจะมีความเสี่ยงบางอย่างที่อาจจะระบุไม่ได้บางกรณีซึ่งอาจจะทำให้รายการเทียบเท่าเงินสดเกิดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าได้ด้วยเช่นกัน แต่ก็ก็จะเป็นควาเมสี่ยงที่ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไร เช่น เงินฝากประจำที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน กล่าวคือ เรารู้อยู่แล้วว่าเป็นจำนวนเงินสดเท่าไรแต่ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินสดได้ด้วยเช่นกัน เป็นต้น
กระแสเงินสดภาษาอังกฤษเรียก cashflow หมายถึง ลักษณะของการเข้าและออกของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
งบกระแสเงินสดภาษาอังกฤษเรียก Statement of Cash Flow หมายถึง งบแสดงการเปลี่ยนแปลงการได้มา และใช้ไปของเงินสด หรือรายการเทียบเท่าเงินสด เป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยข้อมูลทางการเงิน ซึ่งจะอยู่ในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
โดยงบกระแสเงินสดจะแสดงให้เห็นถึงกระแสเงินไหลเข้า (Cash Inflows) และกระแสเงินไหลออก (Cash Outflows) ของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ทั้งนี้ การทำงบกระแสเงินสดจะเป็นการแสดงรายการในงบกระแสเงินสดโดยจะนำ “กระแสเงินสดเข้า” และ “กระแสเงินสดจ่ายมา” แสดง ในส่วนของ กิจกรรมดำเนินงานจึงเป็นกิจกรรม (activities) หลักที่ก่อให้เกิดรายได้หรือหากำไร เรียกง่าย ๆ ว่า งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) ช่วยเห็นเงินสดว่ามีสภาพเป็นอย่างไร เห็นถึงจำนวนเงินสดเข้าออกหรือการได้มาและการใช้ไป เพื่อช่วยให้ผู้บริหาร หรือผู้ประกอบธุรกิจ หรือนักลงทุนได้ทราบถึงสภาพคล่องของกิจการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และได้ทราบข้อมูลที่แท้จริงของธุรกิจเกี่ยวกับเงินสดว่ามีการใช้จ่ายอย่างไร รวมทั้งเอื้อประโยชน์อีกมากมาย
งบกระแสเงินสดนอกจากจะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเงินสดของกิจการว่ามีการได้มาและใช้ไปในแต่ละงวดมากน้อยเพียงใด ยังเป็นงบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ โดยมุ่งเน้นในส่วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินสด หรือรายการที่เทียบเท่าเงินสด เช่น เงินฝากธนาคาร หรือเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงเท่ากับเงินสด เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลนี้จะส่งผลให้เห็นถึง
งบกระแสเงินสดทางตรง ภาษาอังกฤษเรียก Direct Method หมายถึง การจัดทำงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานรับ-จ่าย โดยวิเคราะห์รายการต่าง ๆ ที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ปรับกระทบด้วยรายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายการที่ก่อให้เกิดเงินสดรับจากการขายสินค้า จ่ายดอกเบี้ยจ่าย และภาษีเงินได้
สูตรการคิดคำนวณคือ เงินสดรับ – เงินสดจ่าย = งบกระแสเงินสด
งบกระแสเงินสดทางอ้อม ภาษาอังกฤษเรียก Indirect Method หมายถึง การจัดทำงบกระแสเงินโดยเริ่มจากการใช้ “กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้” ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จของปีนั้น ๆ ปรับกระทบด้วยรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสด เช่น หนี้สงสัยจะสูญ
ประเภทของกิจกรรมของงบกระแสเงินสด
จากความหมายข้างต้นเราจะเห็นได้ว่ากิจกรรม (activities) เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในกิจการ การแยกประเภทกิจกรรม (activities) จะแสดงให้เห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดที่ได้รับเข้ามา (Cash Inflow) และกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายออกไป (Cash Outflow) ให้มีรูปแบบที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในรอบระยะเวลารายงานงบประแสเงินสด (Statement of Cash Flow) โดยจะแบ่งกิจกรรม (activities) ทีต้องนำเสนองบประแสเงินสด ออกเป็น 3 กิจกรรม (activities)ได้ ดังต่อไปนี้
กระแสเงินสดจากกิจกรรมหลักของกิจการที่ทำให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ โดยมักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน เป็นผลสืบเนื่องมาจากรายการต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณกำไรหรือขาดทุน สะท้อนถึงเงินสดที่แท้จริงจากกิจกรรมดำเนินงานเกี่ยวข้องกับบัญชี สินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ควรจะมีค่าเป็นบวก แสดงถึงว่า กิจการมีรายได้และได้รับเป็นเงินสด งบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสามารถเลือกแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานได้ 2 วิธีทั้งวิธีทางตรงและทางอ้อม โดยมักจะแสดงด้วยวิธีทางอ้อมส่วนใหญ่ โดยจะมีวิธีคิดคือ ปรับจากกำไรทางบัญชี แปรเป็นกำไรเงินสด
ตัวอย่างรายงานงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กระแสเงินสดเข้า
กระแสเงินสดออก
เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมเกี่ยวกับการได้มาและการจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่นของกิจการซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนแสดงให้เห็นถึงรายจ่ายที่กิจการจ่ายไป เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่จะก่อให้เกิดรายได้และกระแสเงินสดในอนาคตทั้งนี้ เฉพาะรายจ่ายที่ส่งผลให้เกิดการรับรู้สินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงินเท่านั้นที่สามารถจัดประเภทเป็นกิจกรรมลงทุน เรียกง่าย ๆ ว่า เป็นเรื่องกิจกรรมในระยะยาวรวมทั้งเงินลงทุนต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธุรกิจโดยตรงแต่อย่างใด แต่เน้นเรื่องด้านการลงทุนเท่านั้น โดยจะมีความเกี่ยวกับบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียนในส่วนเฉพาะที่เกี่ยวกับการลงทุนเท่านั้น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน มักจะมีค่าเป็นลบ เพราะกิจการมักมีการลงทุนอยู่เสมอ เพื่อดำเนินงานหรือขยายกิจการ
ลักษณะเงินสดที่นำไปลงทุน
การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ลักษณะแบบนี้ไม่ได้ส่งผลให้ธุรกิจเติบโต เช่น เงินลงทุนระยะสั้น สำหรับพักเงิน เป็นต้น หรือการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ลักษณะนี้จะช่วยขยายกำลังการผลิตได้ เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เครื่องจักร เป็นต้น
ตัวอย่างรายงานงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
กระแสเงินสดเข้า
กระแสเงินสดออก
เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากกิจกรรมที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในขนาดและองค์ประกอบของส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืมของเจ้าของกิจการ ลักษณะของกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการคาดคะเนสิทธิเรียกร้องในกระแสเงินสดในอนาคตจากผู้ให้เงินทุนแก่กิจการ โดยจะมีความเกี่ยวข้องกับบัญชี หนี้สินหมุนเวียนในส่วนเฉพาะที่เกี่ยวกับการจัดหา หนี้สินไม่หมุนเวียนในส่วนของเจ้าของ (ทุน) ทั้งนี้ลักษณะกระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา ควรสังเกตว่า ถ้ามีค่าเป็นบวก เกิดจากการกู้ยืมเงินทั้งระยะสั้นและยาว ต้องพิจารณาว่ากิจการนำไปใช้วัตถุประสงค์ใด
เมื่อกิจการเกิดกำไรสะสมก็จะสามารถจ่ายปันผลเป็นเงินได้ หากนักลงทุนซื้อหุ้นก่อนวัน XD (Excluding Dividend) ก็จะได้รับปันผลเป็นเงินสด หรือตามที่กิจการกำหนดอย่างการปันผลเป็นหุ้น
การจัดหาเงิน เช่น
ตัวอย่างของกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
กระแสเงินสดเข้า
กระแสเงินสดออก
จะเห็นได้ว่างบกระแสเงินสดเป็นประเภทหนึ่งของงบการเงินที่ความสำคัญอย่างมาก และเป็นรูปแบบงบการเงินที่ผู้บริการ หุ้นส่วน นักลงทุนใช้ประเมินสภาพคล่องของกิจการด้วยเช่นกัน เพราะว่างบกระแสเงินสดช่วยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินของกิจการเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงของกิจการได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ หรือธุรกิจขนาดกลาง หรือธุรกิจ SME รวมทั้งธุรกิจส่วนตัวก็ตาม ก็ต้องมีการจัดทำงบกระแสเงินสดเพื่อเป็นการบ่งบอกสถานะการเปลี่ยนแปลงของเงินสดว่ามีแนวโน้ม ทิศทางทางการเงินเป็นลักษณะใดในขณะที่กำลังประกอบธุรกิจอยู่นี้นั่นเอง