เลิกบริษัทปิดบริษัท รับปิดงบเปล่า 10 ชำระบัญชีวิธีเลิกกิจการ
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
(เรื่องควรรู้) เงินอุดหนุนบุตรสำคัญอย่างไร จะได้รับเงินวันไหนบ้าง 2564
นับว่าเป็นสวัสดิการทางสังคมที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดหรือที่เราเรียกว่าเงินอุดหนุนบุตเพราะมีส่วนสำคัญในการช่วยแบ่งเบาภาระและลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง
เหล่าคุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายที่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างยากจน โดยลักษณะการเข้าช่วยเหลือเยียวยาภายใต้โครงการนี้จัดทำโดยรัฐบาลจะเป็นผู้ให้เงินสดแก่ผู้ลงทะเบียนโครงการเงินอุดหนุนบุตร เป็นจำนวนเงินคนละ 600 บาทต่อเดือน เริ่มต้นตั้งแต่เด็กแรกเกิดเป็นทารกไปจนถึงเด็กมีอายุ 6 ขวบ
ความสำคัญของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
ถือได้ว่าโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดนี้ เป็นนโยบายระดับชาติที่นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) และแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564)
โดยจะต้องมีการทำงานแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาบุคคลให้เติบโตและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีซึ่งเด็กนับว่าเป็นรากฐานสำคัญต่ออนาคตของประเทศชาติอย่างมาก จำนวนเงิน 600 บาทต่อเดือนนี้จะถูกมอบให้แก่ผู้ลงทะเบียนในครัวเรือนที่มีความยากจนหรือพิจารณาดูแล้วว่าเป็นครัวเรือนที่มีความเสี่ยงต่อความยากจน หรือไม่ได้เป็นความยากจนแต่ได้รับสิทธิ์ทางสวัสดิการประกันสังคมเพื่อขอเงินอุดหนุนบุตรเรียกได้ว่านอกจากจะได้รับเงินเข้าช่วยเหลือเดือนละ 600 บาทแล้ว จะทำให้เด็กเข้าไปสู่ระบบการบริการของรัฐได้ด้วยเช่นกัน เป็นการส่งเสริมเพื่อพัฒนาด้านคุณภาพชีวิตให้เด็กได้เติบโตและมีพัฒนาการตามวัยอย่างเหมาะสม
ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองหรือผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนควรจะทำการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการพื้นฐานซึ่งถือว่าเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานเพื่อให้เด็กแรกเกิดที่อยู่ในสภาวะยากลำบากได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาการของเด็กแรกเกิดรวมทั้งเด็กปฐมวัยด้วยเช่นกัน
คุณสมบัติสำคัญของผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตร
เด็กแรกเกิดที่มีสิทธิ์จะได้รับลงทะเบียน ได้แก่
ผู้ปกครองที่มีสิทธิ์ขอลงทะเบียน ได้แก่
ทั้งนี้หากมารดาซึ่งเป็นผู้อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์จะยังไม่สามารถมายื่นคำร้องเพื่อขอลงทะเบียนในการรับสิทธิ์เงินเลี้ยงดูหรือรับสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตรเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดได้
เอกสารสำคัญในการลงทะเบียนที่ต้องเตรียม มีดังต่อไปนี้
เอกสารสำคัญ เช่น แบบคําร้องขอลงทะเบียน (ดร.01), แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) ฯลฯ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ช่องทางออนไลน์ เว็บไซด์ https://csg.dcy.go.th/th/support/how-to-register
จุดรับลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตร
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองที่ประสงค์ขอลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตรจะสามารถลงทะเบียนได้ในพื้นที่ที่เด็กแรกเกิดได้เลย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นจริง ได้แก่
ตรวจสอบสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตรได้ที่ช่องทางไหน
ภายหลังจากการยื่นเอกสารลงทะเบียนโครงการเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดเรียบร้อยแล้วประมาณ 20 วันขึ้นไปสามารถเข้าไปเช็คได้ที่ระบบตรวจสอบสิทธิ์เงินอุดหนุน ซึ่งเป็นระบบตรวจสอบสถานะสิทธิ์ เว็บไซด์ http://csgcheck.dcy.go.th/public/eq/popSubsidy.do?
โดยสามารถกรอกรายละเอียด 3 ส่วนหลักๆได้ทางออนไลน์ได้เลย ดังนี้
เงินเข้าวันไหนบ้าง ตารางเงินอุดหนุนบุตร 2564
รอบเดือน | วันที่เงินเข้า |
---|---|
มกราคม | เงินเข้าวันศุกร์ที่ 8 มกราคม 2564 |
กุมภาพันธ์ | เงินเข้าวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ |
มีนาคม | เงินเข้าวันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 |
เมษายน | เงินเข้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 |
พฤษภาคม | เงินเข้าวันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม 2564 |
มิถุนายน | เงินเข้าวันพฤหัสที่ 10 มิถุนายน 2564 |
กรกฎาคม | เงินเข้าวันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2564 |
สิงหาคม | เงินเข้าวันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2564 |
กันยายน | เงินเข้าวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564 |
เว็บไซต์ระบบตรวจสอบสถานะสิทธิ์สามารถทำการเช็คได้ว่ามีเงินเข้าบัญชีแล้วหรือยัง โดยยึดจากระบบการจ่ายเงิน ทั้งนี้ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบได้หลายช่องทาง คือช่องทางแรกผู้ลงทะเบียนสามารถเช็คได้ว่าเงินเข้าบัญชีหรือยังกับทางธนาคารโดยตรง อีกช่องทางก็คือการเช็คผ่านระบบเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบว่าระบบทำการจ่ายเงินแล้วหรือยัง
ระบบตรวจสอบสถานะสิทธิ์ เว็บไซด์ csgcheck.dcy.go.th/public/eq/popSubsidy.do
ทั้งนี้หากพบว่ากรณีผู้ลงทะเบียนไม่ได้รับเงินเข้าบัญชีธนาคารตามวันและเวลาที่แจ้งไว้ตามตารางการจ่ายเงิน และได้ตรวจสอบกับทางธนาคารแล้วว่าไม่มีเงินเข้ามาจริงขอให้ผู้มีสิทธิ์ที่ได้ทำการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วรีบดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่โดยทันที เพื่อให้เจ้าหน้าที่โครงการเงินอุดหนุนบุตรได้ทำการเช็คในระบบและเข้าช่วยเหลือหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางด้านบัญชีโดยด่วน ช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่ สำหรับกรณีที่ไม่ได้รับเงินควรจะโทรสายตรงหาศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โดยดูรายละเอียดข้อมูลติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการโครงการตามข้อมููลด้านล่าง
ที่อยู่ กรมกิจการเด็กและเยาวชน เลขที่ 618/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทร 02 255 5850 – 7 ต่อ 121, 122, 123 , 147, 152 หรือ 02 651 6534 หรือ 02 651 6902 หรือ 02 651 6920
โทรสาร 02 253 9119
อีเมล csginfo@dcy.go.th
เช็คเงินอุดหนุนบุตร 2564 ได้เท่าไรกันแน่
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า COVID-19 ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติออกมาว่าจะมีการเพิ่มเงินอุดหนุนบุตรเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาทสำหรับเดือนพฤษภาคม สิงหาคม และเดือนกรกฎาคมในปี 2553 ที่ผ่านมา จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1.45 ล้านครัวเรือน ทำให้หลายคนจับตามองว่าแล้ว ในปี 2564 จะมีเงินอุดหนุนบุตรเป็น จะมีเงินอุดหนุนบุตรเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นกี่บาท
โดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เผยแพร่ภาพราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวง เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร 800 บาท ซึ่งมีผลบังคับแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 ปรับเงินจ่ายเงินอุดหนุนบุตรจาก 600 บาท เป็นเงินอุดหนุนบุตร 800 บาท จนกว่าบุตรจะมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น ยกเว้นมาตรา 40 และผู้ประกันตนจะต้องส่งสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ถือว่าเป็นเงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคม เริ่มจ่ายครั้งแรกในวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 งวดแรก และสำหรับเดือนมกราคม-เมษายน 2564 ที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินในส่วนที่ปรับเพิ่มขึ้นเดือนละ 200 บาท โดยจะเป็นการจ่ายย้อนหลังให้นั้นเอง
หากไม่ใช่อยู่ในเงื่อนไขเงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคมดังกล่าวนี้จะให้รัฐบาลเป็นคนจ่ายเงินอุดหนุนบุตรจำนวน 600 บาทเช่นเดิม
สรุป
อย่างไรก็ตามถือว่าเงินในส่วนของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือที่เรียกว่าเงินอุดหนุนบุตร ถือได้ว่ามีส่วนจำเป็นและสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองทุก ๆ ท่าน หากตรวจสอบแล้วว่าสามารถมีสิทธิ์ลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินโครงการดังกล่าวควรจะดำเนินการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์จากโครงการโดยทันที หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่สามารถลงทะเบียนด้วยตัวเองได้หรือมีเหตุให้จำคุกอยู่ก็ตามสามารถผู้ปกครองที่ได้รับการเลี้ยงดูเด็กมาแทนได้ เช่น สมาชิกในครอบครัวเป็น พี่ ป้า น้า อา บุคคลในครอบครัวมาลงทะเบียนรับสิทธิ์แทนได้ด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ก็เรียกได้ว่าแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือส่วนที่อยู่ภายใต้ประกันสังคม มาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับเงินเพิ่มเป็นจำนวน 800 บาทซึ่งถือเป็นเงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคมจนกระทั่งเด็กอายุได้ 6 ขวบ หากผู้ปกครองอยู่ในประกันสังคมมาตรา 40 หรือ หรือไม่ได้อยู่ในประกันสังคมก็ หรือไม่ได้อยู่ในประกันสังคมก็จะอยู่ หรือไม่ได้อยู่ในประกันสังคมก็จะอยู่ภาย หรือไม่ได้อยู่ในประกันสังคมก็จะอยู่ภายใต้โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดโดยจะได้เงินจำนวน 600 บาทจากรัฐบาลนั้นเอง ทั้งนี้ก็ต้องตรวจสอบอีกทีว่าผู้ที่จะได้รับเงินภายใต้โครงการจะต้องมีรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกิน 1 แสนบาทด้วยเช่นกัน
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
ปรับปรุงลูกหนี้กรมสรรพากร ลูกหนี้กรมสรรพากร ภาษาอังกฤษ ลูกหนี้กรมสรรพากร สินทรัพย์หมุนเวียน ลูกหนี้กรมสรรพากร อยู่หมวดไหน ลูกหนี้กรมสรรพากร เลขที่
LINE@ เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้แม่ค้าออนไลน์ ติดต่อกับลูกค้าได้อย่างง่ายดาย ผ่านช่องทางแชท ไม่เพียงช่วยสร้างความสะดวกในการตอบคำถามและแจ้งข้อมูล
เครื่องดนตรี อีสาน เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน ความเป็นมาของดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน วิวัฒนาการของดนตรีพื้นบ้านอีสาน เครื่องดีด เครื่องตี เครื่องสี
วิธีทำแคบหมูมีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแคบหมูไร้มันแบบไม่ต้องตากแดด หรือแบบตากแดดที่นิยมทำกัน พร้อมเคล็ดลับทำให้กรอบและปรุงรสอร่อย สามารถทำ
เครื่องดนตรีไทยมีอะไรบ้าง? มีเครื่องดนตรีไทย 10 ชนิด, 20 ชนิด, 100 ชนิด หรือมากถึง 200 ชนิดที่สามารถพบได้ในไทย การแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีไทย
เพราะเหตุใดอริยสัจ 4 จึงเป็นหลักธรรมสําคัญที่ทุกคนควรนําไปยึดปฏิบัติ อริยสัจ 4 ได้แก่ อริยสัจ 4 ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน อริยสัจ 4 คือ อริยสัจ 4 สอนให้แก้