ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ภาพประกอบอาชีพดำรงชีวิตครบจบ 10 อย่าง?

Click to rate this post!
[Total: 215 Average: 5]

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

คำว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภาษาอังกฤษแปลว่า Wisdom ฟังดูแล้วเป็นเรื่องที่อาจจะไกลตัวสำหรับคนรุ่นใหม่ไปมาก เพราะเรามักจะคิดว่าความเป็นท้องถิ่นไทยนั้นเป็นวัฒนธรรมสมัยก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่าท้องถิ่นนั้นก็คือ ความเป็นชุมชน ความมีอัตลักษณ์ (Identity) ที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของพื้นที่นั้นเอง เมื่อใครเกิดในภูมิภาคไหน ท้องถิ่นอะไรก็จะมีอัตลักษณ์หรือความเป็นท้องถิ่นนั้นอยู่แล้ว ดังนั้น ภูมิปัญญาเมื่อมารวมกับความเป็นท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องของพวกเราทุกคนในสังคมที่ต้องทำความเข้าใจ ยอมรับร่วมกัน ซึ่งจะมีความหมาย ความสำคัญ และสามารถแบ่งประเภทของภูมิปัญญาไทยได้กี่ชนิดเราไปดูกันเลย

ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญา หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ร่วมกันกับเรื่องความเชื่อของบุคคลนั้นสามารถตกผลึกถ่ายทอดออกมาได้เป็นแนวทางการปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์การปฏิบัติสิ่งนั้นเพื่อต้องการพัฒนา แก้ไขให้กับมนุษย์หรือคนในสังคม โดยภูมิปัญญาจะเป็นเรื่องที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ที่สังคมสามารถยอมรับร่วมกันได้ เมื่อเกิดการยอมรับในสังคม จะนำไปสู่ความเข้าใจ ความเชื่อถือที่เกิดขึ้นร่วมกัน ซึ่งในความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ (๒๕๔๖, หน้า ๘๒๖) อธิบายถึงความหมายภูมิปัญญาไว้ว่า พื้นความรู้ความสามารถ โดยภูมิปัญญาเป็นเรื่องของทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่ได้มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งทรัพยากรเหล่านั้นจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละบุคคลหรือเป็นลักษณะที่ยอมรับร่วมกันในสากล

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้และความสามารถร่วมกันของคนไทย เกิดจากการหลอมร่วมกันของทักษะ ความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ โดยจะเป็นประสบการณ์ที่ถ่ายทอด สืบสานต่อกันมาผ่านกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาต่อยอด เติมแต่ง เลือกสรรมาต่อเนื่องกันจากรุ่นสู่รุ่นของคนไทย โดยภูมิปัญญาไทยเกิดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ร่วมกัน แก้ไขปัญหาวิถีชีวิตคนไทยให้สอดคล้องกับยุคสมัย จึงสรุปได้ว่าภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมของภูมิปัญญาคนไทยนำมาร่วมกัน ส่งผลให้เกิดคุณค่าที่ดีต่อวิถีคนไทยมากขึ้น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า (Local Wisdom) ซึ่งถือเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งและมีความหมายด้วยกันหลากหลายความหมาย คือ พื้นเพรากฐานของความรู้ชาวบ้านหรือประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นนั้น เป็นความรอบรู้ของชาวบ้านที่ได้เรียนรู้และได้สั่งสมประสบการณ์ของบุคคล มีการสืบสอดความรู้ความสามารถกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม การเรียนรู้มาทางตรงคือได้รับประสบการณ์เอง ส่วนความรู้ทางอ้อมเป็นการเรียนรู้จากผู้ใหญ่อาศัยการจดจำนำมาใช้ จึงเป็นลักษณะของความรู้ที่สะสมและได้สืบต่อกันมา

วัฒณธรรมไทย
วัฒณธรรมไทย

ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

วัฒนธรรมท้องถิ่น หมายถึง วิถีชีวิตของคนในแต่ละชุมชน เป็นมรดกที่สืบทอดต่อกันมา ซึ่งทุกคนในท้องถิ่นมีความภูมิใจและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งร่วมกัน รูปแบบของศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นสามารถบ่งชี้ได้ถึงเรื่อง การให้ความสำคัญของคนในสังคมที่ได้สืบทอดต่อกันมาว่ามีความสนใจและมีความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องอะไร

เมื่อมองภาพของวัฒนธรรมท้องถิ่นกับภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วจะสะท้องให้เห็นว่ามีความใกล้เคียงกันอยู่มากทีเดียว แต่ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกัน โดยวัฒนธรรมท้องถิ่นจะเป็นเรื่องที่เป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่นที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอยู่แล้ว ให้สังเกตเรื่องวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวเล ซาไก จะสามารถเข้าใจถึงความมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะได้อย่างชัดเจน และสำหรับภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องขององค์ความรู้และความสามารถของบุคคลที่ได้นำมาใช้เพื่อปรับแก้ไขปัญญาในการดำเนินชีวิต ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้จะต้องไม่ได้มีความขัดแย้งต่อการยอมรับของวัฒนธรรมท้องถิ่น จะต้องสามารถนำมาต่อยอด พัฒนาและส่งเสริมความเป็นท้องถิ่นให้มีวิถีชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในชุมชนเองจัดเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ได้ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามยุคสมัย ซึ่งคนจะเข้าใจผิดว่าภูมิปัญญา ท้องถิ่นจะต้องมีความดั่งเดิม ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ซึ่งมาจากบุคคลสามารถเป็นภูมิปัญญา ท้องถิ่นได้ ทั้งนี้ ในเชิงของภูมิปัญญาไทยที่ควรอนุรักษ์มักจะต้องสอดรับกับยุคสมัยได้ เพราะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าพอยุคสมัยเปลี่ยนไป การดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่อาจจะไม่ได้พึ่งเรื่องภูมิปัญญาไทยบางอย่าง ทำให้เลือนหายไปตามกาลเวลาเป็นเพียงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ดังนั้น เทคโนโลยีท้องถิ่นเป็นภาพที่สะท้อนถึงความร่วมสมัยของภูมิปัญญา ท้องถิ่นในแต่ละยุคได้ด้วยเช่นกัน

ภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญาไทย

ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญา ท้องถิ่นจัดเป็นเรื่องของภูมิปัญญาของการดำเนินชีวิตของคนไทย เพราะมีส่วนทำให้วิถีชีวิตคนไทยดำรง สืบสานวัฒนธรรมความอยู่ต่อกันมาอย่างเนิ่นนาน ภูมิปัญญาเปรียบได้กับคำสอนที่สั่งสอนให้เรียนรู้ว่าต้องดำรงและใช้ชีวิตอย่างไร หากไม่มีภูมิปัญญาหรือไม่มีองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดต่อกันมาก็ทำมนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

แต่เดิมภูมิปัญญานั้นเป็นเรื่องของท้องถิ่นจึง คำว่าภูมิปัญญา ท้องถิ่นจึงมีเอกลักษณ์ในเรื่องของการดำรงอยู่ร่วมกันแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของท้องถิ่นใครท้องถิ่นมัน เมื่อสังคมมีความกว้างมากขึ้นภูมิปัญญาจึงได้ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยและเกิดคำว่าภูมิปัญญาไทย แสดงถึงเรื่องที่เป็นองค์ความรู้ที่หลอมร่วมและดำเนินวิถีชีวิตร่วมกันในสังคม

ลักษณะภูมิปัญญาไทยในปัจจุบัน

ในสมัยใหม่เรานิยมใช้คำว่าการแก้ไขปัญญาว่าเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งแท้จริงแล้วก็เปรียบได้กับการนำภูมิปัญญา ท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดขึ้นได้เองมาแก้ไขปัญหาให้กับคนในสังคม ดังนั้น เมื่อยุคสมัยแปรเปลี่ยนไปรูปแบบของภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญา ท้องถิ่นจึงได้ปรับเปลี่ยนไปตามการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

ประเภทของภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญา ท้องถิ่นสามารถแบ่งออกเป็นสาขาของภูมิปัญญาไทย อ้างอิงจากสานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑) ทั้งหมด 10 สาขา ดังนี้

  1. สาขาเกษตรกรรม คือ ทักษะความรู้และเทคนิคที่ใช้กับเกษตรกรรม เป็นการหลอมรวมกันระหว่างเทคโนโลยีและความรู้ทางเกษตรกรรม ช่วยให้สามารถพึ่งพาตนเองแก้ไขปัญหาเรื่องเกษตรกรรมได้
  2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม (ด้านการผลิตและการบริโภค) คือ กระบวนการที่ให้ชุมชนท้องถิ่นหรือคนในท้องที่นั้นได้พึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อแปรรูปผลผลิตช่วยลดการนำเข้าตลาด เช่น โรงงานยางพารา การทำหัตถกรรมแม่บ้าน เป็นต้น
  3. สาขาการแพทย์ไทย คือ ความรู้ความสามารถที่สามารถป้องกัน รักษาสุขภาพของคนในชุมชนได้ สนับสนุนให้คนในชุมชนพึ่งพาตนเองในชุมชนไปรักษาที่อนามัยหรือปรึกษาปรึกษาปัญหาสุขภาพได้ดี
  4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การอนุรักษ์ การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม สร้างสมดุลของสิ่งแวดล้อม
  5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน คือ ความสามารถในการดำเนินการในเรื่องบริการจัดการเรื่องกองทุนของชุมชน การจัดการเรื่องการสะสม โดยจะเป็นทั้งรูปแบบเงินตราและโภคทรัพย์ ช่วยให้ความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนดีขึ้น
  6. สาขาสวัสดิการ คือ ความสามารถในการจัดการรูปแบบของสวัสดิการการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมได้
  7. สาขาศิลปกรรม คือ รูปแบบของความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิตงานด้านศิลปะ โดยจะสามีแขวงวิชาต่าง ๆ เช่น จิตกรรม ประติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ เป็นต้น
  8. สาขาจัดการ คือ ความสามารถในการบริการจัดการด้านต่าง ๆ ของคนในชุมชน ซึ่งเป็นลักษณะขององค์กรชุมชนในสังคมไทย เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้านระบบผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ถือเป็นความสำคัญในการบริหารจัดการที่ต้องมีประสิทธิภาพในชุมชน โดยจะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและถ่ายทอดต่อยอดได้อย่างเหมาะสม
  9. สาขาภาษาและวรรณกรรม คือ รูปแบบความสามารถในการผลิตงานด้านภาษาถิ่น การใช้ภาษาไทย ภาษาท้องถิ่น ภาษาโบราณในแต่ะวัฒนธรรม ตลอดจนการสืบต่อเรื่องวรรณกรรมดังเดิมทุกประเภทด้วยเช่นกัน
  10. สาขาศาสนาและประเพณี คือ รูปแบบของความสามารถในสืบสาน ประยุกต์ ปรับใช้หลักคำสอน หลักธรรมของศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ทั้งนี้ จะต้องประยุกต์อย่างเหมาะสมโดยรักษาแก่นของศาสนาและประเพณีอันดีงามไว้ ตัวอย่างเช่น การถ่ายทอดศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีท้องถิ่น เป็นต้น

ดังนั้นหากถามว่าการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตของคนไทยเป็นภูมิปัญญาในลักษณะใด ก็ขึ้นอยู่กับบริบทของท้องถิ่นและบุคคลนั้นว่าจะเลือกดำเนินชีวิต หรือมีวิถีชีวิตในรูปแบบใด เพราะไม่ว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไร คนเราสามารถนำภูมิปัญญาต่าง ๆ เข้ามาผสมผสานกับอาชีพและการดำรงชีวิตได้ทั้งสิ้น

ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทยนั้นมีหลากหลายรูปแบบ โดยมาจากทุกท้องถิ่นของไทย ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจนว่าภูมิปัญญาไทยจะมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม และหัตถกรรม ด้านการแพทย์แผนไทย ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ด้านศิลปกรรม ด้านภาษาและวรรณกรรม ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี และด้านโภชนาการ วัฒนธรรม ซึ่งตัวอย่างของตัวอย่างภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่น เราจะสามารถจำแนกภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง มีดังนี้

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย ท้องถิ่นเทศบาลนครปากเกร็ด

  • การทำปุ๋ยจากสารอินทรีย์ โดยนายธำรง จันทร์สุกรี
  • เครื่องปั้นดินเผา โดยนายอำนาจโห้เฉื่อย
  • สูตรยาดมส้มโอมือ โดยนางสาวดวงอมร กฤษณ์มพก
  • ศิลปะการเพ้นท์จากขวดแก้ว โดยนายประภัทร สุขเกษม
  • งานไม้เขียนลาย โดยนางนิรมล ใจสว่าง
  • การเป่าแก้วประยุกต์ศิลปะไทย โดยนายสมชาย น้อยจินดา
  • กระบวนการแปรสภาพขยะ คือปุ๋ยหมัก และน้ำ โดยนายอเนก  หอมหวาน

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย พื้นบ้านอีสาน

  • การสานกระติบข้าว
  • การละเล่นเดินกะลา
  • ซุปหน่อไม้
  • เซิ้งกระติบข้าว
  • พิธีบายศรีสู่ขวัญ

อย่างไรก็ตาม เห็นได้อย่างชัดเจนว่าภูมิปัญญา ท้องถิ่นนั้นมีความหลากหลายอย่างมาก และไม่ได้มีข้อจำกัดแค่เพียงการประดิษฐ์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องของการบริการการจัดการบางอย่างก็ได้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้น คนรุ่นใหม่หรือใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่องภูมิปัญญาไทยและมองว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว ให้เราสังเกตง่าย ๆ ว่าเพียงแค่เราหรือคนในชุมชนต้องการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรหรือวิถีชีวิตให้ดีขึ้น ลงมือทำคนเดียวหรือร่วมกันทำให้สำเร็จได้ก็ถือเป็นภูมิปัญญาได้เรียบร้อยแล้ว เพราะภูมิปัญญาเป็นเรื่องของความรู้ความสามารถที่จะนำมาต่อยอดเพื่อช่วยเหลือตนเองและคนในสังคม ยิ่งถ้ามีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงได้มากเท่าไรและลงมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าวิถีชีวิตคนไทยจะพัฒนาและดีขึ้นได้อย่างแน่นอน

รวมอาชีพ มีอะไร สุจริต อิสระ น่าสนใจ ในฝัน

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มาอ้างอิง

  • ภูมิปัญญา ท้องถิ่น. เทศบาลนครปากเกร็ด. สืบค้นวันที่ 14 พ.ย.64 .จาก https://www.pakkretcity.go.th/index.php/2-uncategorised/2873-local-wisdom.html
  • ภูมิปัญญา ท้องถิ่น. เทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย. สืบค้นวันที่ 14 พ.ย.64 .จาก http://www.namtoksaiyoknoi.go.th/Main/PlaceotopPreview/id/6
  • ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน. โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. สืบค้นวันที่ 14 พ.ย.64 .จาก https://sites.google.com/site/phumipayyaphunbanxisan/
  • วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมท้องถิ่น. สยามรัฐออนไลน์. 1 พฤศจิกายน จาก https://siamrath.co.th/n/25668
อากรแสตมป์
ประวัติวอลเลย์บอล
217645
ปก การเตรียมเป็นผู้ประกอบการ
ปก ขั้นตอนการพัฒนาทีมงาน
ปกวางแผนการออม
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 170518: 590