หน้าที่พลเมือง
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองและมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
พลเมืองดี คือ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรมของชาติ คำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของสาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
- หน้าที่ พลเมือง มี อะไร บ้าง
หน้าที่ คือ
กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
กิจที่ควรทำ คือ
สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
สิทธิและหน้าที่
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อ มีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง
หน้าที่พลเมือง คือ
หน้าที่พล เมือง คือ หน้าที่ความรับผิดชอบของ ชนชาวไทยที่ต้องปฏิบัติหรือกระทำให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย ถ้าหากผู้ใดไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายและจะถูกลงโทษ เพราะหน้าที่พล เมือง หรือหน้าที่ของชนชาวไทย ถือเป็นภาระและความรับผิดชอบของประชาชนชาวไทยทุกคนที่ต้องยึดถือปฏิบัติ
หน้าที่พลเมืองดีมีอะไรบ้าง
การ ปฏิบัติ ตน เป็น พลเมือง ดี 10 ข้อ
- พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
- เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
- รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
- เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทําการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
- ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสําคัญ
- ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
- เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
- ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
พลเมือง ดี ตาม วิถี ประชาธิปไตย
ตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิป ไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพล เมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิป ไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้น
- การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
- วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
- ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
- การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
- การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
- ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ “คดในข้อ งอในกระดูก” นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
- การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทุกคนเกิดมามีคุณค่าเท่าเทียมกันไม่ควรดูหมิ่น เหยียดหยามหรือกระทำต่อกันเหมือนมิใช่มนุษย์
- เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฎกติกาของสังคม รู้สิทธิและเสรีภาพของตนเองไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายไม่เพิกเฉยต่อความไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม
- รับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่นต่อสังคม และประเทศชาติ ทำหน้าที่ของตนในฐานะสมาชิกของสังคม
- พลเมือง ดี ตาม วิถี ประชาธิปไตย
ความ หมาย ของ พลเมือง ดี
- พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
- หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวม
- จริยธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย
- คุณธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
- ศีลธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย พร้อมกันนั้นก็สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย
มนุษย์นับว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมีความสำคัญมากที่สุดในโลก เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สามารถเรียนรู้และรับการฝึกอบรมสั่งสอน จนสามารถนำความรู้ที่ได้ รับมาสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อโลกได้ ในการเรียนรู้และการฝึกอบรมเพื่อสะสมประสบการณ์ชีวิต มนุษย์ควรได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมไปด้วย พร้อม ๆ กัน เพราะคุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างพลเมืองดี
- การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
- การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
- รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
- ความซื่อสัตย์สุจริต
- ความสามัคคี
- ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
- ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
- การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
จริยาธรรม พลเมืองดี
คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมือง ดี ได้แก่
- ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดี ต่อพระมหากษัตริย์
- ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
- ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
- ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
- การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
- การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
คุณธรรม ๓ ประการ คือ
๑. คารวธรรม หมายถึง การมีความเคารพซึ่งกันและกัน การประพฤติตนเป็นผู้มีคารวธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
- เคารพบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด เคารพญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุ เคารพครูอาจารย์ และเพื่อน ๆ โดยแสดงความ เคารพและกล่าวคำทักทายด้วยคำสุภาพ
- เคารพกฏระเบียบทางสังคม เช่น ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม ปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศ
- เคารพสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่ทำร้ายผู้อื่นโดยเจตนา ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นต้น
- เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น ควรฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความตั้งใจและไตร่ตรองก่อนตัดสินใจว่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ และไม่ควรยึดถือความคิดเห็นของตนว่า ถูกเสมอไป
- เคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่สำคัญสูงสุดของประเทศ
๒. สามัคคีธรรม หมายถึง การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม การประพฤติตนเป็นผู้มีสามัคคีธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
- ร่วมกันคิด ช่วยกันวางแผน และร่วมกันทำงานด้วยความเต็มใจ
- ร่วมกันรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
- ร่วมกันติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
- ร่วมกันปรับปรุง มีการแก้ไข พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
- ร่วมกันทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
๓. ปัญญาธรรม หมายถึง การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต การประพฤติตนเป็นผู้มีปัญญาธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
- มีความคิดกว้างไกล โดยรับฟังข่าวสารและความคิดเห็นของผู้อื่น
- ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่นำอารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ตัดสินปัญหา
- แสดงความคิดเห็น โดยปราศจากอคติ
- รู้จักการคิด มีการวิเคาระห์ วิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล
- รู้จักโต้แย้งด้วยเหตุผล ถ้ามีการโต้แย้งในหมู่คณะให้ใช้เหตุผล และสติปัญญาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับฟัง ไม่ใช้อารมณ์มาเป็นตัวตัดสินปัญหา
ความสำคัญของคุณธรรม และจริยธรรมที่กล่าวมานี้ ประเด็นที่สำคัญก็คือ สามารถลดปัญหา และขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคล สังคม และประเทศชาติได้ เมื่อทุกคน
ประพฤติปฏิบัติตนดีแล้ว อุปสรรค ศัตรู ภัยอันตราย ก็จะหมดสิ้นไป ผู้คนมีแต่ความรักต่อกัน สังคมมีแต่ความสงบ และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง
ขอบคุณที่มาบทความ:ฝ่ายบริการเผยแพร่ทางไกล สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช stou.ac.th
sites.google.com/site/civicduty63/hnathi-phlmeuxng
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
เขียนบทความ ตัวอย่าง ตัวอย่างการเขียนบทความทั่วไป การเขียนบทความ ส่งอาจารย์ วิธีเขียนบทความให้น่าสนใจ ตัวอย่างการเขียนบทความวิชาการ pdf ตัวอย่าง
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า มาตรฐานการบัญชี ปรับปรุงค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า สินทรัพย์หมุนเวียน ปรับปรุงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่า ใช้ จ่าย จ่ายล่วง
กลอนสุภาพ 1 บท กลอนสุภาพ กลอนแปด กลอนสุภาพ 2 บท กลอนสุภาพหมายถึง ตัวอย่างกลอนสุภาพ กลอนสุภาพ 1 บทมีกี่วรรค แผนผังกลอนสุภาพ กลอนดอก
นอกจากนี้ กระบวนการการสร้างสรรค์และการออกแบบยังควรใส่ใจเรื่องการเก็บรักษาคุณภาพ ทำงานร่วมกันของทีมที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถในด้านต่าง ๆ
ทรัพยากรธรรมชาติมีอะไรบ้าง ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ 4ประเภท ทรัพยากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ ทรัพยากร มี 3 ประเภท คือ แผนที่ทรัพยากรธรรมชาติ ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติ มี กี่ ประเภท อะไร บาง แผนผังทรัพยากรธรรมชาติ ประโยชน์ของทรัพยากร8ข้อ ใกล้ฉัน ออนไลน์
การฝันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับทุกคนและบ่อยครั้งความฝันนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจหรือแหล่งทำนายโชคได้หลากหลาย รวมถึงการตีเลขเด็ด วันนี้เราจะมาอธิบายถึงการ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172665: 1508