บทสวดพาหุงมหากา หลวงพ่อจรัญก่อนนอนย่อที่ไม่มีใครพูด 9 จบ?
บทสวดพาหุงมหากา จากคำสอนหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน <<เริ่มสวด>> คาถาแผ่เมตตาตนเอง แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ บทกรวดน้ำ (อุทิศส่วนกุศล) คำแปล มหาการุณิโก
การสวดมนต์ไหว้พระ วัตถุประสงค์เพื่อการถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระพุทธศาสนา เพื่อแสดงถึงการเคารพต่อพระรัตนตรัย นั่นคือ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สามารถช่วยขัดเกลาให้มีจิตใจมีความอ่อนโยนลง มีความใจเย็น มีความเพียร ความอดทนอดกลั้นได้
สำหรับการสวดบทพาหุง บทสวดมนต์บทหนึ่งที่ใช้ในการเจริญพระพุทธมนต์ ถ้อยคำภาษาบาลีสันสฤตและความหมายของบทสวดพาหุง มีความเป็นสิริมงคล การปราบชนะมารและชนะผู้มีอิทธิฤทธิ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยวิธีการบำเพ็ญทาน, การมีขันติ(ความอดทน), ความเมตตา, การใช้สมาธิ, การเทศนา เป็นต้น ทำให้พุทธศาสนิกชนนิยมสวดกันอย่างมากมาย เช่นเดียวกับ การนำบทสวดอิติปิโส 9 จบ นำมาสวดเพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต และช่วยสร้างขวัญและกำลังใจ
แม้ว่าบทสวดมนต์พาหุงจะมีลักษณะที่ค่อนข้างยาว สำหรับผู้ที่เริ่มต้นสวดมนต์บทนี้แรกๆนั้น เพราะต้องสวดบทอาราธนาบทไตรสรณคมน์ บทสวดพุทธคุณ บทสวดพระธรรมคุณ และบทสวดพระสังฆคุณก่อน แต่หากลองได้อ่านและศึกษาความหมายของบทสวดพาหุงแปล จะทำให้รู้สึกซาบซึ้ง ความทึ่ง ความมหัศจรรย์ของพระพุทธองค์จึงนิยมนำมาบรรจุเป็นหนังสือบทสวดมนต์ที่ตีพิมพ์กันอย่างแพร่หลายของ บทสวดมนต์ก่อนนอน พาหุง หรือเรียกกันในหมู่ของพุทธศาสนิกชนผู้ใฝ่ในธรรมว่า พระคาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร
หมายเหตุ : ข้อควรรู้ก่อนการบทสวดพาหุง บทสวดพาหุง หรือบทสวดพุทธชัยมงคลคาถา ประกอบด้วย 8 บท และบทสวดชัยปริตร หรือบทมหาการุณิโก จำนวน 1 บท
สำหรับ บทขันธปริตรคาถา หรือ บทขันธะปะริตตะคาถา(พระปริตร) บทขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประทานให้บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎก เรื่องบทสวดมนต์ 12 ตํานาน เพื่อใช้สำหรับสวดป้องกันอันตรายจากสัตว์มีพิษ ตระกูลสัตว์เลื้อยคลานทุกประเภท เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง เนื่องจากบทสวดขันธปริตร เป็นบทสวดที่แผ่เมตตาให้กับพญานาคทั้ง 4 ตระกูล ผู้เป็นเทพใหญ่แห่งพญานาคราช คือ
ท้าววิรูปักโข คือท่านพญานาคราชแห่งตระกูลวิรูปักษ์ ผู้มีอิทธิฤทธิ์ มีบริวาร ทรัพย์สมบัติ และมีพลังอานุภาพ พญานาคราชผู้มีคุณธรรมเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ผู้ปกครองดูแลนครใต้พิภพบาดาล ดังนั้นการสวดบทพระปริตรในทุกๆวัน จึงสามารถทำให้ช่วยป้องกันภัยจากสัตว์มีพิษ สัตว์ดุร้ายและทำให้เทพเทวดาคุ้มครองรอดพ้นจากอุปสรรคและภยันอันตรายจากสรรพสัตว์ต่าง ๆ ได้
วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง
ไตรสรณคมน์ คือ พระรัตนตรัย 3 ประการ(แก้วอันประเสริฐ 3 ประการ) พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ การนำบทสวดไตรสรณคมน์ มาสวดมนต์ทุกวัน สามารถทำให้เกิดบุญกุศลแก่ผู้สวด เข้าถึงหลักธรรมและการปฏิบัติธรรมะในทางพระพุทธศาสนาได้ง่ายมากขึ้น สามารถทำให้แคล้วคลาดจากสิ่งอันไม่เป็นมงคลทั้งปวง
เนื่องจากการมีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะครบทั้ง 3 ประการแล้ว เมื่อจะเริ่มกระทำการในสิ่งใดย่อมก่อให้เกิดการมีสติ ช่วยให้คิดไตร่ตรองการลงมือกระทำ เข้าใจในเหตุผล และการรู้จักยับยั้งชั่งใจได้ง่าย ทำให้ต้องมีการสวดมนต์ไตรสรณคมน์ ก่อนสวดบทอื่นเสมอๆ เช่น บทสวดชัยมงคลคาถา, บทอาราธนาศีล เป็นต้น
บทสวดไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
คาถาอิติปิโสถอยหลัง
การสวดบทพระคาถาอิติปิโส เป็นบทที่มีพลังภานุภาพมหัศจรรย์มากมาย แต่สำหรับการสวดบทพระคาถาอิติปิโสถอยหลัง พลังและความศักดิ์สิทธิ์สามารถนำชะตาชีวิตช่วยพลิกจากร้ายเป็นดี และเป็นเคล็ดลับที่สำคัญมากสำหรับการสวดมนต์ในทุกวัน คือ เป็นบทคาถาสำหรับการถอนสิ่งชั่วร้าย เป็นยอดพระคาถาอันล้ำเลิศอย่างน่าอัศจรรย์ เพราะสามารถถอนของ, ถอนมนต์ดำ ,ถอนศาสตร์ที่เป็นอวิชชา, ถอนคุณไสย, ถอนสิ่งอัปมงคลได้ เป็นต้น
บทสวดอิติปิโสถอยหลัง
ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิฯ
สวดอิติปิโสเท่าอายุ
การสวดบทอิติปิโสอยู่เป็นประจำ บทพุทธคุณที่ช่วยเติมมงคลที่ดีต่อชีวิต เสริมสร้างความเป็นมงคล สำหรับการเริ่มสวดอิติปิโสเท่าอายุนั้น ยิ่งเสริมพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ การป้องกันอันตรายจากสิ่งที่ไม่ดี จากการถูกปองร้าย การป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้ เพราะการสวดอิติปิโสเท่าอายุในทุกๆวันนั้น เป็นเสมือนการช่วยสะเดาะเคราะห์ให้กับตนเองที่ได้ผลลัพธ์ดีมากๆ แบบที่ไม่ต้องใช้เงินทอง ไม่ต้องลงทุน และไม่ต้องหาหมอดูต่างๆเข้าช่วยได้เลย
บทสวดอิติปิโส
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสามระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
เชื่อกันว่าการนำบทสวดอิติปิโสถอยหลังและการสวดอิติปิโสเท่าอายุในทุกๆวัน เป็นหนึ่งในการสวดมนต์ที่สร้างความเจริญให้แก่ชีวิตของผู้สวดและเป็นหนึ่งในการสร้างบารมีให้แก่ตนเอง แก่ครอบครัว เพราะเป็นส่วนหนึ่งของบทสวดชนะมาร นั้นเอง
บทสวดพระธรรมคุณ
การสวดบทธรรมคุณ หรือ “บทสะวากขาโต” เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระธรรมที่องค์พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และนำมาสั่งสอนเป็นบทที่มีพลังกำลังมาก สามารถช่วยทำให้บุคคลผู้ที่สวดมนต์บทนี้ในทุกวันเป็นประจำ เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ น่าเคารพ ตลอดจนน่ายกย่องยิ่งนัก เนื่องจากบทสวดพระธรรมคุณเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อคุณพระธรรมทั้ง 6 ประการ
บทสวดสะวากขาโต
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
บทสวดสุปะฏิปันโน พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
สัมมาอะระหังคำสอนของหลวงพ่อสด จนฺทสโร
สำหรับ คำเจริญภาวนา “สัมมาอะระหัง” คำที่มีความศักดิ์สิทธิ์ของสายผู้ปฎิบัติธรรมวิชาพระธรรมกาย สายพระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสด จนฺทสโร แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ พระอาจารย์ผู้ที่มีความประพฤติปฏิบัติดี แม้ว่าท่านจะละสังขารไปนานมากแล้วตั้งแต่ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 แต่หลักธรรมและคำสอนของหลวงพ่อสดที่ถ่ายทอดจากพระธรรมคำสอนขององค์พระพุทธเจ้า ก็ยังคงมีความน่ามหัศจรรย์ มีคำพูดจากเหล่าท่านพระครูบาอาจารย์ พระเกจิอาจารย์มากมาย ที่กล่าวกันว่า เพราะบารมีขององค์หลวงพ่อสด ในวิชาพระธรรมกาย “ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด” และ “สัมมาอะระหัง” แห่งฐานที่เจ็ดสำเร็จทุกประการ สัมมาอะระหัง จึงมีความหมายว่า
พระธรรมสิงหบุราจารย์ หรือ หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม พระเกจิอาจารย์สายกรรมฐานผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2559 แต่คำสั่งสอนเรื่อง “การสวดมนต์เป็นยาทา การทำวิปัสสนาเป็นยากิน”
เป็นคำสั่งสอนที่เป็นความจริง ทำให้บรรดาลูกศิษย์จำนวนมากมายที่มีความศรัทธาในแนวทางการปฏิบัติพระกรรมฐาน ที่เน้นการบริกรรมทางสติปัฏฐาน 4 ควบคู่กับการบริกรรมภาวนา “ยุบหนอ พองหนอ” คือการหายใจเข้าและการหายใจออกดูอาการของท้องที่กระเพื่อมเคลื่อนไหวขณะกำลังหายใจยุบและพอง ส่วนหนึ่งมาจากคาถาบทสวดมนต์หลวงพ่อจรัญ ในเรื่องของการขอขมาพ่อแม่หลวงพ่อจรัญ สำหรับลูกที่เคยกระทำไม่ดีกับพ่อและแม่ ได้กระทำการล่วงเกินต่อท่านด้วยทางกาย ทางวาจา ทางใจ ทั้งที่เจตนาและไม่ได้เจตนาก็ตาม การขอขมากรรมต่อพ่อและแม่เป็นการช่วยให้ชีวิตดีขึ้น ทำมาหากินเจริญมากขึ้นได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ตามที่หลวงพ่อจรัญท่านได้แนะนำ
บทสวดขอขมาพ่อแม่
คำกล่าว : “กายกัมมัง วจีกัมมัง มโนกัมมัง โยโทโส ที่ข้าพเจ้า (ชื่อและนามสกุล) ได้ประมาทพลาดพลั้งกระทำผิดพลาดมาในชาตินี้ ตั้งแต่เกิดจนถึงในปัจจุบัน (เรื่องที่ได้เคยกระทำไม่ดีกับพ่อและแม่ บอกให้หมด) บัดนี้ลูกได้สำนึกผิดแล้วในการกระทำกรรมไม่ดีอันนั้น ขอให้พ่อและแม่ ได้โปรดอโหสิกรรม ทางกายกรรม ทางวจีกรรม และทางมโนกรรม ให้กับลูกคนนี้ในทุกๆเรื่อง”
(เมื่อลูกขอขมาแล้ว พ่อและแม่ ต้องพูดคำว่า) “ขออโหสิกรรมให้กับลูกในทุกๆเรื่อง”
ความน่าเหลือเชื่ออีกประการก็คือ หลังจากที่ได้กระทำการขอขมากรรมต่อพ่อและแม่แล้ว ต้องนำบทสวดมนต์พุทธคุณ บทสวดมนต์ธรรมคุณ และบทสวดมนต์สังฆคุณ ว่ากันว่า พลังอานุภาพมากมาย เป็นพระคาถาความจำดี การสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ เป็นประจำยังสามารถช่วยลดทอนจากการขอขมากรรมที่เคยทำต่อพ่อและแม่ อาจเรียกว่าการสวดด้วยจิตใจที่มีความตั้งมั่นบริสุทธิ์ ทำให้สามารถกลับกลายเป็นบทสวดตัดกรรม แม้ไม่อาจลบล้างความผิดที่เคยกระทำได้ แต่การกระทำที่ลูกเคยกระทำความผิดและได้กล่าวขออโหสิกรรมต่อบุพการีแล้วนั้น สามารถทำให้ชีวิตลูกที่ย่ำแย่กลับกลายมาเป็นชีวิตที่ดีขึ้นได้
สัมปชัญญะในการทำงานมากขึ้น ทำให้การทำงานมีความผิดพลาดลดลง ช่วยให้ทำสิ่งใดเกิดความสำเร็จ มีชัยชนะ ลดการเกิดปัญหาและอุปสรรค ช่วยให้ผู้สวดมีจิตใจที่แข็งแกร่ง มีความเก่งและความกล้าตัดสินใจมากยิ่งขึ้น เสริมให้ชีวิตได้ประสบความปรารถนา และทำให้เป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าได้อ่าน บทพาหุงแปล ความหมายยิ่งดีมากๆ เป็นบทสวดพระนเรศวร มหาราชผู้ยิ่งใหญ่ในแผ่นดินสยามประเทศแห่งนี้ ใช้ในการออกทัพสงครามต่อสู้กับข้าศึกศัตรูอย่างพม่าจนได้รับชัยชนะทุกครั้ง
คาถาชนะมาร คือ พาหุงบทสวดทั้ง 8 บท และคาถามะหาการุณิโก เรียกบทสวดมนต์ทั้งหมดนี้ว่า บทชัยมงคลคาถา คือ พระคาถาแห่งชัยชนะ, พระคาถาประสบความสำเร็จ
บทสวดคาถาพาหุงมหากา พุทธชัยมงคลคาถา และคำแปล
พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ผู้เนรมิตแขนมากได้ตั้งพัน มือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่คชสารชื่อคิรีเมขละ พร้อมด้วยเสนามารโห่ร้องกึกก้อง ทรงชนะด้วยธรรมวิธีทานบารมี เป็นต้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง โหดร้าย บ้าคลั่ง น่าสพึงกลัว มีฤทิ์ยิ่งกว่าพญามาร มาต่อสู้กับพระองค์ ตลอดทั้งคืนจนพยศร้ายได้แพ้พ่ายสิ้น ด้วยขันติบารมี วิธีที่พระองค์ได้ฝึกไว้ดีแล้ว ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้าง ชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันกำลังตกมันจัด ดุร้าย ทารุณโหดร้ายยิ่งนัก ดุจไฟป่า ร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า ด้วยวิธีพระเมตตาธรรม ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ทรงบันดาลมโนมยิทธิ อิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ชนะมหาโจร ชื่อ องคุลีมาล ในมือถือดาบร้ายกาจมีฝีมือ โหดร้ายทารุณยิ่ง วิ่งไล่ตามพระองค์ห่างออกไปเรื่อย ๆ เป็นระยะทางถึง ๓ โยชน์ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ทรงชนะคำกล่าวใส่ร้ายท่ามกลางหมู่ชน ของนางจิญจมาณวิกา ผู้ทำอาการผูกท่อนไม้ซ่อนไว้ที่ท้องให้เป็นประดุจดั่งหญิงที่มีครรภ์ ด้วยความจริงที่สงบเยือกเย็น ด้วยวิธีสมาธิอันงามคือความสงบระงับพระหฤทัย ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ทรงชนะ สัจจกนิครนถ์ ผู้เชิดชูลัทธิถ้อยคำของตนว่าจริงแท้สูงล้ำ ราวกับการชูยกธงขึ้นฟ้า ซึ่งเป็นผู้มืดมนยิ่งนักมุ่งโต้วาทะกับพระองค์ ด้วยพระปัญญาให้มองเห็นความจริง อันเป็นเลิศดุจประทีป ด้วยเทศนาญาณวิถี ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญานาคชื่อนันโทปนันทะ ผู้มีความหลงผิด มีฤทธิ์มาก ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าพระเถระ ทรงโปรดให้อิทธิฤทธิ์แก่พระโมคคัลลานะ เถระพุทธชิโนรสนิรมิตกายเป็นพญานาคราชไปปราบให้จนเชื่อง ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหม ชื่อมีนามว่า ท้าวพกาพรหมผู้มีฤทธิ์ ผู้มีทิฏฐิ มีความเห็นผิดสำคัญตนไว้อย่างแนบแน่น โดยสำคัญผิดว่าตนมีคุณอันบริสุทธิ์มีฤทธิ์รุ่งเรือง ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ
นรชนใด มีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคลคาถา ๘ บทนี้ทุกๆวัน นรชนนั้นจะพึงละเสียย่อมได้ถึงเหตุที่พ้นอุปัทวอันตรายทั้งปวง นรชนผู้นั้นย่อมมีปัญญาย่อมถึงซึ่งความสุขเป็นอเนก และถึงซึ่งวิโมกข์นฤพานคือความหลุดพ้นอันเป็นบรมสุขแล
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทรงได้บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดมสูงสุดแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์สัจจะวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะ ประดุจดั่งพระจอมมุนีในชัยมงคลพิธี ผู้ทรงยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ ทรงมีชัยชนะมาร ณ โคนต้นมหาโพธิ์ ทรงถึงความเป็นผู้เลิศยอดเยี่ยมในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปีติปราโมทย์อยู่เหนืออปราชิตบัลลังก์อันสูงที่ไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี อันเป็นที่อภิเษกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ฉะนั้นแทอญ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ
เวลาที่กำหนดดี งานมงคลดี การประพฤติชอบ รุ่งแจ้งดี ฤกษ์ดี ความพยายามดี มงคลดี สว่างดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี การบูชาดีแล้ว แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ในพรหมจารีทั้งหลาย
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
กายกรรมอันเป็นประทักษิณการกระทำความดีอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นประทักษิณการกระทำความดีอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นประทักษิณการกระทำความดีอันเป็นกุศล ความปรารถนาดีของท่านอันเป็นประทักษิณการกระทำความดีอันเป็นกุศล ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นประทักษิณการกระทำความดีอันเป็นกุศล ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลายที่จะประสบความสุขโชคดี
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ
ความเมตตาธรรมคุ้มจุนโลก เป็นคาถาสุดยอดเมตตามหานิยม คาถาเมตตาหลวงพ่อจรัญ สวดเป็นประจำทุกวัน ทำให้รวย กิจการเจริญรุ่งเรือง ผู้คนรักเมตตาให้ความช่วยเหลือ
บทสวดเมตตา
“เมตตาคุณณัง อะระหัง เมตตา”
บทสวดหลวงพ่อจรัญ
บารมีของหลวงพ่อจรัญ ที่ลูกศิษย์นำมาประพฤติปฏิบัติตาม คือบทสวดหลวงพ่อจรัญ คุณประโยชน์คือเป็นพระคาถาสำเร็จทุกอย่าง, คาถาสอบติดเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย, คาถาสอบติดราชการ, คาถาค้าขายดีหลวงพ่อจรัญ ตลอดจนมีหนุ่มสาวมากมายนำมาใช้และได้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ต้องพึ่งทางไสยศาสตร์มนต์ดำ คือ คาถาให้แฟนเก่ากลับมา เริ่มสวดจาก
ทั้งหมดนี้ คือ บทสวดคาถาหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี นำมาถ่ายทอดและการรันตีเสมอว่า หากสวดมนต์ทุกวัน หมั่นเจริญภาวนา ชีวิตไม่มีวันตกต่ำ ไม่ต้องไปเสริมบุญเสริมดวงชะตา หรือสะเดาะเคราะห์ที่ไหน เพราะมีของดีอยู่กับตัว ทำเองปฏิบัติเองได้ ยิ่งบทสวดมนต์อิติปิโสเท่าอายุ และบวกบทอิติปิโสอีก 1 บท พลังและอานุภาพยิ่งเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆได้มากมาย
คาถาป้องกันภัยอันตรายทั้ง 10 ทิศ คือ บทสวดบูรพา10ทิศ พระคาถาที่ป้องกันอันตรายจากทิศต่างๆ จากภูตผี จากสัตว์ ทำให้นั่งนอนเป็นสุข เพิ่มบารมีและโชคลาภ สร้างความเป็นมงคลให้แก่ชีวิต ไม่มีโรคภัยภยันตรายต่างๆ สวดเป็นประจำทุกวันเป็นดั่งกำแพงแก้วที่ป้องกันให้รอดพ้นสิ่งชั่วร้ายในทิศทั้ง 10
***บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
***บูระพารัสมิง พระธัมเมตัง
***บูระพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค
สัพพะภัย สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร
วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง สัพพะลาภัง
ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ
*** บูรพา(ทิศตะวันออก), อาคเนย์(ทิศตะวันออกเฉียงใต้), ทักษิณ(ทิศใต้), หรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้),
ปัจจิม(ทิศตะวันตก), พายัพ(ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ), อีสาน(ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ), ปฐวี(พื้นดิน), อากาศ, อุทก(น้ำ) *** เวลาสวดแต่ละรอบจะเปลี่ยนเฉพาะทิศและคำที่ขีดเส้นใต้เท่านั้น
คาถาบูชาบทสวดพระพุทธสิหิงค์ พระคาถาที่ป้องกันโรคไข้เจ็บจากโรคระบาด ป้องกันภยันอันตราย เนื่องจากพระพุทธสิหิงค์เป็นพระประจำคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย
“อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโต โส สักกาโร อุปาโท สะการะพุทธะ สาสะนัง โชตะยันโต วะ ทีโป สุระณะเรหิ มะหิโต ธะระมาโน วะ พุทโธติ พุทธสิหิงคา อุบัติมา ณ แดนใด”
การสวดมนต์บทพาหุงและทุกบทที่กล่าวมา คือการแสดงความเคาระบูชาพระศาสนา เป็นเครื่องใหม่ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนนับถือศาสนาพุทธพึ่งกระทำและปฏิบัติเพื่อขัดเกลาจิตใจ สร้างทาน ศีลและภาวนา
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com