มีเกมส์จับคู่ภาพเหมือน ที่เน้นความสนุกหรือความซับซ้อน 2 เกมส์?
ประเภทของเกม 9 ประเภท จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเกม ตัวอย่างแผนการสอนโดยใช้เกม ประโยชน์ของการเล่นเกมการศึกษา ลักษณะของเกมมีอะไรบ้าง เทคนิค
data mining
เนื่องด้วยปัจจุบันเป็นยุคที่ข้อมูลสารและสนเทศมีความสำคัญ การเผยแพร่และสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็น การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการสื่อสารข้อมูลจำนวนมากให้แก่ผู้ ใช้ เช่น การให้บริการเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและแลกเปลี่ยนความรู้ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารข้อมูลถึงผู้ใช้จำนวนมาก ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ จะช่วยให้องค์กรสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนพัฒนาเว็บไซต์ ให้ตรงกับความต้องการใช้งานหรือใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การทําเหมืองข้อมูล (Data Mining) คือกระบวนการที่กระทํากับข้อมูลจํานวนมากเพื่อค้นหารูปแบบและความสัมพันธ์ ที่ซ่อนอยู่ในชุดข้อมูลนั้น ในปัจจุบันการทําเหมืองข้อมูลได้ถูกนําไปประยุกต์ใช้ในงานหลายประเภท ทั้งในด้านธุรกิจที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ในด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์รวมทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม
การทําเหมืองข้อมูลเปรียบเสมือนวิวัฒนาการหนึ่งในการจัดเก็บและตีความหมาย ข้อมูล จากเดิมที่มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างง่ายๆ มาสู่การจัดเก็บในรูปฐานข้อมูลที่สามารถดึงข้อมูลสารสนเทศมาใช้จนถึงการทํา เหมืองข้อมูลที่สามารถค้นพบความรู้ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล
– ปี 1960 Data Collection คือ การนําข้อมูลมาจัดเก็บอย่างเหมาะสมในอุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือและป้องกันการสูญ หายได้เป็นอย่างดี
– ปี 1980 Data Access คือ การนําข้อมูลที่จัดเก็บมาสร้างความสัมพันธ์ต่อกันในข้อมูลเพื่อประโยชน์ใน การนําไปวิเคราะห์ และการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ
– ปี 1990 Data Warehouse & Decision Support คือ การรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บลงไปในฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยครอบคลุมทุกด้านของ องค์กร เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
– ปี 2000 Data Mining คือ การนําข้อมูลจากฐานข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผล โดยการสร้างแบบจําลองและความสัมพันธ์ทางสถิติ
ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานย่อยที่จะเปลี่ยนข้อมูลดิบให้กลายเป็นความรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้
– Data Cleaning เป็นขั้นตอนสำหรับการคัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
– Data Integration เป็นขั้นตอนการรวมข้อมูลที่มีหลายแหล่งให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน
– Data Selection เป็นขั้นตอนการดึงข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์จากแหล่งที่บันทึกไว้
– Data Transformation เป็นขั้นตอนการแปลงข้อมูลให้เหมาะสมสำหรับการใช้งาน
– Data Mining เป็นขั้นตอนการค้นหารูปแบบที่เป็นประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่
– Pattern Evaluation เป็นขั้นตอนการประเมินรูปแบบที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูล
– Knowledge Representation เป็นขั้นตอนการนำเสนอความรู้ที่ค้นพบ โดยใช้เทคนิคในการนำเสนอเพื่อให้เข้าใจ
สถาปัตยกรรมของระบบการทำเหมืองข้อมูล ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 สถาปัตยกรรมระบบการทำเหมืองข้อมูล
– Database, Data Warehouse, World Wide Web และ Other Info Repositories เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำเหมืองข้อมูล
– Database หรือ Data Warehouse Server ทำหน้าที่นำเข้าข้อมูลตามคำขอของผู้ใช้
– Knowledge Base ได้แก่ ความรู้เฉพาะด้านในงานที่ทำจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้น หรือประเมินความน่าสนใจของรูปแบบผลลัพธ์ที่ได้
– Data Mining Engine เป็นส่วนประกอบหลักประกอบด้วยโมดูลที่รับผิดชอบงานทำเหมืองข้อมูลประเภท ต่างๆ ได้แก่ การหากฎความสัมพันธ์ การจำแนกประเภท การจัดกลุ่ม
– Pattern Evaluation Module ทำงานร่วมกับ Data Mining Engine โดยใช้มาตรวัดความน่าสนใจในการกลั่นกรองรูปแบบผลลัทธ์ที่ได้ เพื่อให้การค้นหามุ่งเน้นเฉพาะรูปแบบที่น่าสนใจ
– Graphic User Interface ส่วนติดต่อประสานระหว่างผู้ใช้กับระบบการทำเหมืองข้อมูล ช่วยให้ผู้ใช้สามารถระบุงานทำเหมืองข้อมูลที่ต้องการทำ ดูข้อมูลหรือโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล ประเมินผลลัพธ์ที่ได้
– Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตาราง โดยในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดสามารถแสดงได้โดย Entity Relationship Model
– Data Warehouses เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันและรวบรวมไว้ในที่ๆ เดียวกัน
– Transactional Database ประกอบด้วยข้อมูลที่แต่ละทรานเเซกชันแทนด้วยเหตุการณ์ในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน จะเก็บข้อมูลในรูปชื่อลูกค้าและรายการสินค้าที่ลูกค้ารายซื้อ
– Advanced Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบอื่นๆ เช่น ข้อมูลแบบ Object-Oriented ข้อมูลที่เป็น Text File ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลในรูปของ Web
การทํา เหมืองข้อมูลเว็บคือการใช้เทคนิคการทําเหมืองข้อมูลเพื่อค้นหาและสกัดข้อมูล และสารสนเทศจากเอกสารเว็บและบริการบนเว็บโดยอัตโนมัติ เพื่อนําความรู้ที่ได้มาแก้ปัญหาที่ต้องการทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังได้แบ่งประเภทของการทําเหมืองข้อมูลเว็บโดยพิจารณาจากข้อมูลที่ นํามาวิเคราะห์ออกเป็น 3 ประเภท คือ Web Content Mining, Web Structure Mining และ Web Usage Mining
Web Content Mining เป็นการค้นหาข้อมูลที่มีประโยชน์จากข้อมูลที่อยู่ภายในเว็บ เช่น ข้อความ รูปภาพ เป็นต้น โดย Web Content Mining สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามมุมมองคือ มุมมองทางด้านการสืบค้นสารนิเทศ (Information Retrieval) และมุมมองทางด้านฐานข้อมูล (Database) สําหรับเป้าหมายของ Web Content Mining จากมุมมองของการสืบค้นสารนิเทศคือการทําเหมืองข้อมูลเว็บเพื่อปรับปรุงการหา ข้อมูลหรือกรองข้อมูลให้ผู้ใช้โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ผู้ใช้อ้างอิงหรือร้อง ขอ ในขณะที่เป้าหมายของ Web Content Mining ในมุมมองของฐานข้อมูลส่วนใหญ่พยายามจําลองข้อมูลบนเว็บและรวมข้อมูลนั้น เพื่อให้การสอบถามทํางานดีขึ้นมากกว่าการใช้คําหลักเป็นตัวค้นหาเพียงอย่าง เดียว
Web Structure Mining เป็นวิธีการที่พยายามค้นหารูปแบบโครงสร้างการเชื่อมโยงที่สําคัญและซ่อนอยู่ ในเว็บ ซึ่งรูปแบบนี้จะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมโยงเอกสารภายในเว็บ โดยนํารูปแบบที่ได้มาใช้เพื่อจัดกลุ่มเว็บเพจและใช้สร้างข้อมูลสารสนเทศที่ เป็นประโยชน์ เช่น นํามาใช้ในการปรับโครงสร้างของเว็บให้สามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว
Web Usage Mining เป็นวิธีการที่พยายามค้นหาความหมายของข้อมูลที่สร้างจากช่วงการทํางานหนึ่ง ของผู้ใช้หรือสร้างจากพฤติกรรมของผู้ใช้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Web Log Mining โดยในขณะที่ Web Content Mining และ Web Structure Mining ใช้ประโยชน์จากข้อมูลจริง หรือข้อมูลพื้นฐานบนเว็บแต่ Web Usage Mining ทําการค้นหาความรู้จากข้อมูลการติดต่อสื่อสารระหว่างกันของผู้ใช้ที่ติดต่อ กับเว็บ โดย Web Usage Mining ทําการรวบรวมข้อมูลจากบันทึกในการดําเนินการต่างๆ เช่น บันทึกการใช้งานของ Proxy (Proxy Server Log) ข้อมูลการลงทะเบียน (Registration Data) หรือข้อมูลอื่นอันเป็นผลจากการทํางานร่วมกันมาใช้วิเคราะห์ ดังนั้น Web Usage Mining จึงเป็นวิธีการทํางานที่เน้นใช้เทคนิคที่สามารถทํานายพฤติกรรมของผู้ใช้ใน ขณะที่ผู้ใช้ทํางานกับเว็บ กระบวนการทํางานของ Web Usage Mining สามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ
เทคนิคสำหรับการทําเหมืองข้อมูลการใช้เว็บไซต์ดังนี้
– Statistical Analysis การวิเคราะห์ทางด้านสถิติ เป็นวิธีการที่จะค้นหาความรู้เกี่ยวกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ โดยการวิเคราะห์ส่วนของไฟล์ เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถบอกชนิดความแตกต่างเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสถิติบน ตัวแปร เช่น หน้าที่ดู เวลาการดูและความยาวของเส้นทางเว็บไซต์ เครื่องมือการวิเคราะห์การจราจรเว็บส่วนมากจะรายงานข้อมูลเกี่ยวกับสถิติ เช่นความถี่ของหน้าที่เข้าถึงบ่อยๆ เวลาดูเฉลี่ยของหน้าหรือความยาวเฉลี่ยของเส้นทางเว็บไซต์ รายงานนี้อาจจะรวมถึงการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่จำกัด เช่น การสืบหารายการที่ไม่ให้สิทธิเข้าถึงหรือการค้นหา url ที่ไม่สมบูรณ์ รูปแบบของความรู้สามารถเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการปรับปรุงระบบ การเพิ่มความปลอดภัยของระบบ ทำให้สะดวกในการปรับปรุงเว็บไซต์และการสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
– Association Rule เป็นการค้นหากฎความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งสองชุดหรือมากกว่าสองชุดขึ้นไปไว้ด้วยกัน ความสําคัญของกฎทําการวัดโดยใช้ข้อมูลสองตัวด้วยกันคือค่าสนับสนุน (Support) ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ของการดําเนินการที่กฎสามารถนําไปใช้ หรือเป็นเปอร์เซ็นต์ของการดําเนินการที่กฎที่ใช้มีความถูกต้อง และข้อมูลตัวที่สองที่นํามาใช้วัดคือค่าความมั่นใจ (Confidence) ซึ่งเป็นจํานวนของกรณีที่กฎถูกต้องโดยสัมพันธ์กับจํานวนของกรณีที่กฎสามารถ นําไปใช้ได้ ในการหากฎความสัมพันธ์นั้นจะมีขั้นตอนวิธีการหาหลายวิธีด้วยกัน แต่ขั้นตอนวิธีที่เป็นที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลายคือ อัลกอริทึม Apriori
– Clustering คือการจัดกลุ่มข้อมูลซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการแบ่งประเภทแต่จะไม่เหมือนกัน โดยการแบ่งประเภทจะวิเคราะห์ข้อมูลตามต้นแบบ แต่สําหรับการแบ่งกลุ่มเป็นการวิเคราะห์โดยไม่พิจารณาจัดกลุ่มตามประเภทที่ มีหรือที่รู้จัก แต่จะใช้ขั้นตอนวิธีการจัดกลุ่มเพื่อค้นหากลุ่มที่สามารถยอมรับได้เพื่อจัด เข้ากลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มของวัตถุมีการสร้างขึ้นโดยเปรียบเทียบวัตถุที่มีความเหมือนกันจัดเข้า กลุ่มเดียวกัน
– Classification เป็นการจัดแบ่งประเภทของข้อมูล โดยหาชุดต้นแบบหรือชุดของการทํางานที่อธิบายและแบ่งประเภทข้อมูล วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้เป็นต้นแบบทํานายประเภทของวัตถุหรือข้อมูลที่ ไม่มีการระบุประเภทหรือชนิดของข้อมูล ซึ่งต้นแบบสร้างจากการวิเคราะห์ชุดของข้อมูลฝึกสอน (Training Data) โดยอาจจะเป็นกลุ่มข้อมูลที่มีการระบุประเภทหรือกลุ่มเรียบร้อยแล้ว รูปแบบของต้นแบบแสดงได้หลายแบบเช่น Classification Rules, Decision Trees หรือ Neural Networks เป็นต้น
– Sequential Pattern เป็นเทคนิคการสืบค้นรูปแบบลําดับเหตุการณ์ เป็นการหาความสัมพันธ์ของข้อมูลระหว่างทรานแซคชั่นซึ่งทําให้มีเวลาเข้ามา เกี่ยวข้อง ด้วยรูปแบบลําดับที่น่าสนใจ จะแสดงว่าถ้าเกิดเหตุการณ์นี้แล้วหรือพบกลุ่มของข้อมูลชุดนี้แล้วมีแนวโน้ม ที่จะเกิดเหตุการณ์อะไรหรือพบกลุ่มของข้อมูลใดตามมาภายหลัง
– Dependency Modeling เป็นแบบจำลองการพึ่งพา เป็นการค้นพบรูปแบบอื่นๆ ที่มีประโยชน์ในการทำเหมืองข้อมูลเว็บ เป้าหมายคือการพัฒนาต้นแบบที่สามารถทำได้ของตัวแทนที่สำคัญของการพึ่งพาท่าม กลางตัวแปรต่างๆ ในโดเมนเว็บ เช่น อาจจะใช้วิธีการสร้างแบบจำลองสถานที่แตกต่างกัน ให้ผู้เยี่ยมชมได้เห็นในขณะที่เลือกซื้อซื้อสินค้าทางออนไลน์ มีหลายเทคนิคการเรียนรู้ที่เป็นไปได้ สามารถถูกใช้เป็นแบบของการค้นหาพฤติกรรมของผู้ใช้ เช่น ตัวแบบฮิดเดนมาร์คอฟ (Hidden Markov Model) และแนวคิดข่ายงานความเชื่อเบย์ (Bayesian Belief Network)
กระบวนการทําเหมืองข้อมูลการใช้เว็บไซต์ประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ
– การเตรียมข้อมูล (Preprocessing) เป็นขั้นตอนการแปลงข้อมูลเว็บให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมสําหรับการค้นหาความ สัมพันธ์ เช่น Data Cleaning, Data Fltering
– การค้นหารูปแบบ (Pattern Discovery) เป็นขั้นตอนที่นําเทคนิคการทําเหมืองข้อมูล เช่น Association Rule Discovery, Sequential Pattern Discovery เพื่อค้นหาความสัมพันธ์หรือรูปแบบจากข้อมูลเว็บที่ผ่านขั้นตอนการเตรียม ข้อมูลแล้ว
– การวิเคราะห์รูปแบบ (Pattern Analysis) เป็นรูปแบบการนําผลลัพธ์จากการค้นหามาทำการวิเคราะห์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หรือการวางแผนทางธุรกิจ
ภาพที่ 2 ขั้นตอนการทํา Web Usage Mining (Srivastava, 2000)
ข้อมูลที่ใช้ในการทำเหมืองข้อมูลเว็บไซต์ สามารถนำมาจาก 3 แหล่งด้วยกันดังนี้
– การรวบรวมข้อมูลจากบันทึกการเข้าใช้งานเครื่องให้บริการเว็บ (Server-Side)
– การรวบรวมข้อมูลจากบันทึกการเข้าใช้งานเครื่องใช้บริการเว็บ (Client-Side)
– การรวบรวมข้อมูลจากบันทึกของเครื่องให้บริการการเป็นตัวแทนเชื่อมต่อ (Proxy Server)
การประยุกต์ใช้ Data Mining จะมีได้หลากหลายแต่สามารถจัดกลุ่มกว้างๆ ได้เป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ใช้เพื่อการทำนายและกลุ่มที่ใช้เพื่อการอธิบาย
การทำ Data Mining เพื่อการทำนาย เป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้มาจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ในการทำนาย ข้อมูลใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น จากข้อมูลลูกค้าของแผนกสินเชื่อของธนาคารที่ได้มีการจัดลำดับชั้นของลูกค้า ไว้แล้วว่าใครเป็นลูกค้าชั้นดี ใครเป็นลูกค้าในระดับปานกลาง และใครเป็นลูกค้าที่มักจะผิดนัดชำระหนี้ Data Mining สามารถเรียนรู้จากข้อมูลเหล่านี้และค้นหาโมเดลที่สามารถใช้อธิบายลักษณะของ ลูกค้าชั้นดี ลูกค้าระดับปานกลาง และลูกค้าที่ไม่เป็นที่ต้องการ จากโมเดลที่ได้นี้สามารถนำไปใช้ทำนายลูกค้าใหม่ที่มาขอสินเชื่อได้ว่าน่าจะ เป็นลูกค้าประเภทใด
การทำ Data Mining เพื่อการอธิบาย เป็นการค้นหารูปแบบที่น่าสนใจจากกลุ่มข้อมูล รูปแบบนี้มักจะเป็นความสัมพันธ์หรือลักษณะที่เชื่อมโยงกันของข้อมูล การทำแบบนี้ต่างจากแบบแรกตรงที่ผู้ใช้ไม่ได้กำหนดล่วงหน้าว่าจะให้โปรแกรม Data-Mining ค้นหารูปแบบหรือโมเดลของอะไร แต่ให้ค้นหาทุกรูปแบบที่น่าสนใจจากข้อมูล¹
ที่มา:¹http://compcenter.bu.ac.th/news-information/data-mining
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
ประเภทของเกม 9 ประเภท จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเกม ตัวอย่างแผนการสอนโดยใช้เกม ประโยชน์ของการเล่นเกมการศึกษา ลักษณะของเกมมีอะไรบ้าง เทคนิค
ChatGPT คือ ChatGPT รีวิว แช ท GPT OpenAI แช ท GBT OpenAI Thai Chat OpenAI คือ /login Openthai GPT ใกล้ฉัน ออนไลน์
ประโยคคําเชื่อม ภาษาไทย แต่ง ประโยค คํา เชื่อม ภาษาไทย คําเชื่อมประโยค มีอะไรบ้าง ประโยคสัมพันธ์กันทางเวลา ตัวอย่าง การใช้คําเชื่อม ภาษาไทย ตัวอย่าง
สิ่งที่ควรโพสต์ ลงเฟส วิธีเขียน โพสต์น่าสนใจ ตัวอย่างการโพสขายของ ความสำเร็จ Facebook โปรโมทเพจ 2024 เขียนโพสต์ คนไลค์เยอะ เขียนโพสต์ให้น่าสน
กติกาฟุตซอล ประวัติฟุตซอลไทย ใครเป็นผู้คิดค้น กีฬาฟุตซอล กีฬาฟุตซอลจะมีผู้เล่นข้างละกี่คน กติกาฟุตซอล 18 ข้อ ประวัติกีฬาฟุตซอลในประเทศไทย และต่าง
จดทะเบียนการค้า ผู้มีหน้าที่จดทะเบียน จัดตั้งบริษัทใหม่ เอกสารที่ใช้ในการจด กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ กิจการที่ได้รับยกเว้น การยื่นคําขอจดทะเบียน