พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ
ด้วยพื้นที่ของประเทศไทยมีความเหมาะสมในด้านการเกษตรจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “พืช” คือสิ่งที่ทำให้คนไทยมีอาหารเลี้ยงปากท้องและยังสร้างรายได้กับครัวเรือน ต่อยอดไปจนถึงการสร้างรายได้ให้ประเทศจนกลายเป็น “พืชเศรษฐกิจ” ที่เกษตรกรจำนวนมากยึดถือเป็นอาชีพ
จึงอยากนำเสนอให้กับผู้ที่สนใจหรือคนที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อโอกาสในการสร้างประโยชน์ต่อตัวเองและประเทศชาติต่อไปในอนาคตมารู้จักกับพืชเศรษฐกิจของไทยอย่างที่กล่าวไปว่าพืชถือเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่แค่การบริโภคเท่านั้น แต่เมื่อปลูกในปริมาณมากขึ้นก็ย่อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรมากตามไปด้วย
ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันมีพืชเศรษฐกิจที่ส่งเสริมอาชีพ ทำเงินให้กับคนในประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ไม่ใช่หมายถึงการส่งออกพืชเหล่านั้นแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่หลายชนิดยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อสร้างประโยชน์และเม็ดเงินได้อีกมากมายพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การบริโภคของคนเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการถูกนำไปเลี้ยงสัตว์และทำประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดด้วย
นี่คือความโชคดีของประเทศไทยด้วยพื้นที่และสภาพอากาศเหมาะสมจึงสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิดในแบบที่หลายประเทศทำไม่ได้ แหล่งรายได้หลักจึงมักมาจากประเทศพัฒนาแล้วแต่ขาดแคลนด้านการผลิตจึงต้องอาศัยการนำเข้านั่นเอง มารู้จักกับพืชเศรษฐกิจของไทยให้มากขึ้น พร้อมเรียนรู้เรื่องราวอื่น ๆ ไปพร้อมกันได้เลย มีสิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้อีกมากทีเดียว
พืชเศรษฐกิจในปัจจุบันอย่างที่กล่าวไปว่าหนึ่งในรายได้ที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้นมาจาก “พืชเศรษฐกิจ” ดังนั้นบรรดาพืชที่จะกล่าวถึงนี้ยังคงถูกขนานนามให้เป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันเหมือนเดิม พร้อมทั้งยังทำเงินให้กับเกษตรกรและประเทศอย่างต่อเนื่อง จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย
- ข้าว
ข้าว คือ อาหารหลักของคนไทยและผู้คนอีกจำนวนมาก จึงต้องยอมรับว่ายังคงเป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับความต้องการจากประเทศคู่ค้ามหาศาลในแต่ละปี โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ถูกยกย่องว่าดีสุดของโลกอย่าง “ข้าวหอมมะลิ” ด้วยรสสัมผัสอันเนียนนุ่ม บวกกับรสชาติที่มีความหวานในตัว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครที่ได้ทานต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย ซึ่งจริง ๆ แล้วข้าวอันถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเมืองไทยนั้นไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ข้าวเหนียว, ข้าวหอม, ข้าวขาวพื้นแข็ง เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข่าวที่ถูกส่งออกมากที่สุดได้แก่ ข้าวขาวพื้นแข็ง คิดเป็นเกือบ 50% ของข้าวพันธุ์อื่น ๆ โดยกลุ่มประเทศที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ในการส่งออกข้าวของประเทศไทยคือ จีน และสหรัฐฯ แม้ในปัจจุบันจะมีคู่แข่งรายสำคัญอย่างเวียดนามที่ส่งออกข้าวได้มากกว่า แต่ด้วยคุณภาพจึงต้องยอมรับในด้านของความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีนั้น ข้าวของประเทศไทยยังคงเป็นที่ชื่นชอบ
- ยางพารา
หากบอกว่านี่คือพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองลงมาจากข้าวคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก แม้ว่าราคาในประเทศจะมีปรับขึ้น-ลงตามความเหมาะสม แต่ด้วยปัจจุบันการน้ำยางยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพื่อนำไปทำสิ่งต่าง ๆ ให้มนุษย์ได้ใช้งานมากมาย อาทิ ยางรถยนต์, ส่วนผสมในการทำยางมะตอยเทพื้น, ยางกันรั่วซึม, ถุงยางอนามัย และอื่น ๆ อีกมาก ผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยนั้นมีการส่งออกทั้งแบบน้ำยางดิบและผ่านการแปรรูปมาแล้ว จึงส่งผลถึงการสร้างรายได้ที่หลากหลาย ในอดีตการปลูกยางมักปลูกกันแถบภาคใต้ ทว่าปัจจุบันได้มีการพัฒนาและปรับพื้นที่ในภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการปลูกยางพารากันมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากตามไปด้วย การที่ยางพาราถูกจัดให้เป็นพืชเศรษฐกิจลำดับที่ 2 ต่อจากข้าว เพราะ ประเทศไทยยังคงถูกยกให้เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกมาร่วม 30 ปี โดยคิดเป็นเกือบ ๆ 30% ของยางพาราทั้งหมดที่ใช้งานกันในทุกประเทศ
- อ้อย
พืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังมีความต้องการสูงมาก ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งการส่งออกอ้อยนั้นไม่ได้หมายถึงการส่งออกไปแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่มีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายเพื่อใช้ปรุงอาหาร รวมถึงมีการนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนต่าง ๆ (น้ำตาลทรายจะถูกส่งออกมากที่สุด) เมื่อเทียบกันในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยมีการสร้างรายได้จากอ้อยมากเป็นอันดับ 2 รองเพียงแค่บราซิลประเทศเดียวเท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพืชเศรษฐกิจกลุ่มนี้ยังคงมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศมากจริง ๆ ในอดีตการปลูกอ้อยมักกระจายตามแถบพื้นที่ราบลุ่มและทนแล้งในระดับหนึ่ง เช่น นครสวรรค์, อุดรธานี, นครราชสีมา, กาญจนบุรี, กำแพงเพชร แต่ทุกวันนี้มีเกษตรกรที่หันมาปลูกไร่อ้อยกันมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากได้ราคาดี ดูแลง่าย เก็บเกี่ยวรวดเร็ว ไม่ต้องรอนานเหมือนกับพืชหลาย ๆ ชนิดอีกด้วย
- มันสำปะหลัง
พืชอีกชนิดที่ถูกยกให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยมากในลำดับต้น ๆ ปกติแล้วมันสำปะหลังจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ประกอบอาหารของคน แต่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เนื่องจากมีคุณค่าโภชนาการสูง อีกทั้งยังมีการนำไปแปรรูปเพิ่มเติมกลิ่นให้กับอาหารมีความน่าทานมากขึ้น, ผลิตเป็นน้ำมันเอทานอลเพื่อใช้งานแทนที่พลังงานจากน้ำมันดิบ นั่นส่งผลให้พืชเศรษฐกิจตัวนี้มีความต้องการในตลาดโลกสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศจีนเท่านั้น แต่ประเทศทางแถบยุโรปรวมถึงสหรัฐฯ เองต่างก็เป็นคู่ค้ารายสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเงินให้ประเทศอีกด้วย ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้พืชชนิดนี้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมาจากพื้นที่อันมีแสนอุดมสมบูรณ์ในเมืองไทย จึงปลูกมันสำปะหลังได้ง่าย ดูแลไม่ยุ่งยาก ได้ผลผลิตดี เป็นไปตามความคาดหวังของเกษตรกร หากลองไปพื้นที่ตามต่างจังหวัดจะสังเกตว่ามีพืชชนิดนี้ปลูกอยู่เยอะมาก ๆ
- ปาล์มน้ำมัน
การส่งออกของพืชชนิดนี้จะผ่านการแปรรูปให้กลายเป็นน้ำมันปาล์มเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกเป็นอย่างดี ซึ่งทางภาครัฐเองให้ความสำคัญกับผลผลิตชนิดนี้พอสมควร เนื่องจากเมื่อเกษตรกรจำนวนมากเลือกปลูก พอผ่านการแปรรูปแล้วปรากฏว่าของล้นตลาดจนต้องเร่งระบายออกไม่ให้ราคาตกมากเกินไปนัก ซึ่งถ้ามองในมุมของเกษตรกร เมื่อเกิดความต้องการเยอะ ผลผลิตของพวกเขาก็ขายได้รวดเร็วมากขึ้น มีราคาดีกว่าการปล่อยเอาไว้ให้ราคาตก แม้ในบรรดาพืชเศรษฐกิจทั้งหมดที่กล่าวมานี้ปาล์มน้ำมันอาจไม่ใช่พืชที่สร้างรายได้จากจำนวนเงินมหาศาลมากนัก แต่ทั้งนี้ก็ยังถือว่าเป็นพืชที่คนไทยนิยมปลูก เพราะให้ผลผลิตดี ดูแลไม่ยาก ที่สำคัญยังสามารถนำเอาไว้ใช้ในประเทศได้อีกด้วย ยิ่งเมื่อรัฐมีนโยบายที่ใส่ใจมากขึ้นก็เท่ากับโอกาสสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
พืชเศรษฐกิจ มีกี่ประเภท
หลังจากการรู้จักกับบรรดาพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันของไทยกันไปแล้ว คราวนี้ก็มาต่อกันที่พืชเศรษฐกิจ มีกี่ประเภทกันบ้าง โดยปกติจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการปลูกหรือการเกิดขึ้น ดังนี้
- พืชไร่
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย เพราะจากทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาก่อนหน้าล้วนเป็นพืชไร่ทั้งสิ้น จุดเด่นของพืชเศรษฐกิจประเภทนี้คือ ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนใด ๆ เพื่อป้องกันการเสียหายมากนัก ปลูกได้ดีในพื้นที่ลุ่มดอน มีน้ำเข้าถึงง่าย แต่อาจต้องใช้พื้นที่ในปริมาณมากเพื่อให้เกิดผลผลิตในแบบที่คาดหวังเอาไว้ ปกติแล้วมักปลูกแบบพืชฤดูกาลเดียว คือ ใช้พื้นที่เดียวแต่ปลูกพืชหลาย ๆ อย่างตามแต่ฤดูกาล เช่น ช่วงหน้าฝนทำนา หลังหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็จะเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ไร่ถั่ว เป็นต้น
ทั้งนี้หากแยกกลุ่มของพืชไร่ออกมาสามารถแบ่งย่อยได้ คือ
- กลุ่มธัญพืช เช่น ถั่วประเภทต่าง ๆ, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลี
- กลุ่มพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน, อ้อย
- กลุ่มพืชน้ำตาล เช่น อ้อย
- กลุ่มพืชเส้นใย เช่น ฝ้าย, ปอ, ป่าน, กล้วย, มะพร้าว
- กลุ่มพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง, มันแกว, มันเทศ, เผือก
- กลุ่มพืชอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง, หญ้ากีนี
- กลุ่มพืชออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น ชา, กาแฟ, ยาสูบ
- พืชสวน
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย ไม่จำกัดพื้นที่ว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ซึ่งแบ่งย่อยออกได้ดังนี้
- กลุ่มพืชผัก มักใช้ในการประกอบอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของผลผลิตไม่ว่าจะเป็นใบ, ดอก, ราก, ต้น, เมล็ด
- กลุ่มพืชผล หรือ ผลไม้ ส่วนใหญ่จะใช้จากผลเป็นหลัก มักเป็นกลุ่มพืชที่มีอายุยืน ใช้เวลานาน หลายชนิดจึงมีราคาแพง
- กลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นพืชเศรษฐกิจกลุ่มใหม่ที่กำลังมาแรงมาก นำไปใช้งานในด้านการประดับตกแต่งเป็นส่วนใหญ่
- ไม้เศรษฐกิจ
ในปัจจุบันกลุ่มนี้ถือว่าต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อไม่เกิดปัญหาเรื่องการบุกรุกป่า หรือการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งบรรดาไม้เศรษฐกิจที่ยังได้รับความนิยม เช่น ไม้ยางพารา, ไม้เต็ง, ไม้รัง, ไม้มะฮอกกานี, ไม้ไผ่, ไม้ยูคาลิปตัส รวมถึงการถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
พืชเศรษฐกิจในอนาคต
แม้ว่าพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กล่าวถึงไปจะยังคงเป็นหัวใจหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่ก็มีพืชอีกหลายชนิดที่ถูกมองว่าจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต โดยขอยกตัวอย่างดังนี้
- พริกชี้ฟ้า
ปลูกง่าย ให้ผลผลิตรวดเร็วทันใจ เพียงแค่ 2-3 เดือน ก็สามารถทำเงินได้ทันที นอกจากการขายหรือส่งออกแบบสด ๆ แล้ว ยังแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ซอสพริก, พริกแห้ง, พริกป่น เป็นต้น
- ไผ่กิมซุง
หรือไผ่ตงลืมแล้ง พืชเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่ามีโอกาสนำมาทดแทนยางพารา เพราะสามารถทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การเก็บหน่อขายสด แปรรูป, การนำไปทำเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงประโยชน์ในด้านประมง
- แมคคาเดเมีย
กลายเป็นพืชที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ส่งผลให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกมากขึ้น เพราะนอกจากส่งผลผลิตสด ๆ แล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น น้ำมัน, สบู่
- โกโก้
พืชเศรษฐกิจที่ถูกมองว่าในอนาคตจะสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันผลผลิตที่ได้จำหน่ายในประเทศ 80% และส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน 20%เรื่องราวเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะช่วยเพิ่มแนวคิดหรือแนวทางดี ๆ ในการต่อยอดเพื่อสร้างโอกาสในการทำรายได้ให้กับตนเอง รวมถึงยังเป็นการสร้างเม็ดเงินให้เข้ามาภายในประเทศมากขึ้นอีกด้วย
คำค้น : ราคาสูง 13 ชนิด พืชชนิดใดต่อไปนี้ไม่ใช่ 2018 2560 5 อันดับแรก ของประเทศไทย 2564 2019 แคนาดา 2563 2565 ปลูกในน้ำ ที่ราบเกรตเพลนส์ 2562 กัญชง สุพรรณบุรี 2017 มีอะไรบ้าง ของจังหวัดเชียงใหม่ มีกี่ประเภท หมู่เกาะเวสต์อินดีส คะเนเดียนชีลด์ ได้แก่ กระท่อม 2561 มสธ ปาล์มน้ํามัน ภาคใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โกโก้ จังหวัดนครปฐม จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ อเมริกาเหนือ ใน อนาคต 2564 อนาคตไกล ที่ จังหวัดกาญจนบุรี ไทย นครปฐม อนาคต ข้าว อ้อย อนาคต ไกล ที่ น่าน สิงคโปร์ อเมริกา ของไทย นครสวรรค์ แมลงศัตรู
ที่มา:arda.or.th
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172927: 431