ภาษี

การเสียภาษีมีอะไรบ้างในไทยรถยนต์ต่อภาษีตามหน้าที่ที่มี 2 การ

Click to rate this post!
[Total: 166 Average: 5]

ภาษี คือ

ภาษี คือ เงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากราษฎร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข การคมนาคม การประชาสงเคราะห์ การป้องกันประเทศและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ สร้างสาธารณูปโภค รวมไปถึงเงินเดือนของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้ทำหน้าที่บริการประชาชน และใช้จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ของสถานราชการต่าง ๆ เรียกได้ว่าการเรียกเก็บภาษีจากราษฎร เป็นเครื่องมือทางการคลังที่สำคัญในการบริหารประเทศ เพื่อให้รัฐสามารถดำเนินการตามหน้าที่ที่มีต่อประชาชน ในการดูแลความผาสุขของประชาชน และ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

ภาษีแบ่งออกเป็น

ภาษีแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม

ภาษีทางตรง คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้และทรัพย์สินต่าง ๆของบุคคล หรือนิติบุคคล โดยส่วนใหญ่จะไม่สามารถผลักภาระภาษีไปยังผู้อื่นได้ โดยทั่วไปภาษีทางตรง ได้แก่

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน
  4. ภาษีบำรุงท้องที่
  5. ภาษีมรดก
  6. ภาษีทรัพย์สินต่าง ๆ

โดยจะเรียกเก็บจากรายได้ หรือความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคลที่จัดเก็บ

โดยจะเรียกเก็บจากรายได้ หรือความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคลที่จัดเก็บ

ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เมื่อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ โดยเป็นภาษีที่สามารภผลักภาระทางภาษีทั้งหมด หรือบางส่วนไปยังผู้ซื้อหรือผู้บริโภค เป็นผู้รับชำระภาษีอากรแทนผู้ขาย โดยทั่วไปภาษีทางอ้อม ได้แก่

  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. ภาษีสรรพามิต
  3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  4. ภาษีศุลกากร
  5. ภาษีทางการค้า
  6. ค่าธรรมเนียมอากรต่าง ๆ

ที่จะเรียกเก็บจากรายจ่ายของบุคคล โดยมิได้พิจารณาฐานะความมั่งคั่งของบุคคล หรือนิติบุคคล นั้น

ประเภทภาษีในประเทศไทย

ประมวลรัษฎากรให้อำนาจกรมสรรพากร ในการจัดเก็บภาษี 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  5. อากรแสตมป์

ภาษีที่สรรพากรจัดเก็บ

ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากร จัดเก็บมี 8 ประเภท คือ

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  5. ภาษีอากรแสตมป์
  6. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  7. ภาษีมรดก
  8. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม

ภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บ

ภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น มี 4 ประเภท ได้แก่

  1. ภาษีป้าย
  2. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  3. ภาษีบำรุงท้องที่
  4. อากรรังนกนางแอ่น

กรมสรรพสามิตก็เรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าและบริการบางประเภทที่ต้องการควบคุม เช่น สุรา ยาสูบ น้ำหอม นอกจากนี้ กรมศุลกากรก็มีการเรียกเก็บภาษีศุลกากร เป็นค่าธรรมเนียมของการนำสินค้าบางชนิดเข้าประเทศ

ยื่นภาษีออนไลน์

ภาษี ยื่นแบบออนไลน์ ยื่นภาษีออนไลน์ ยื่นออนไลน์ แบบออนไลน์

ภาษี ยื่นแบบออนไลน์ ยื่นภาษีออนไลน์ ยื่นออนไลน์ แบบออนไลน์

วิธีการยื่นภาษี

  1. ไปที่   http://www.rd.go.th/publish/ และเลือกยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต
  2.  เลือกยื่นแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91
  3.  ใส่หมายเลขและรหัสผ่านที่ได้รับ
  4.  กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วน
    1.   เลือกเงินได้
    2.   บันทึกเงินได้
    3.   บันทึกลดหย่อน
    4.   คำนวณภาษี
    5.   ยืนยันการยื่นแบบ

ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา

ภาษีบุคคลธรรมดา จะต้องนำเงินได้ตั้งแต่ เดือน มกราคม ถึงเดือน ธันวาคม มาคำนวณ และนำไปยื่นภาษีภายในวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของปีถัดไป(2564)

การยื่นภาษีออนไลน์

ถึงเวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หลายคนก็เตรียมที่จะ “ยื่นภาษี” แสดงรายการขั้นตอนยื่นภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91)  ซึ่งผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีสามารถเลือกใช้วิธียื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้ ส่วนจะมี ขั้นตอนยื่นภาษีผ่านออนไลน์ ด้วยตัวเองนั้นง่ายมาก ไปดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง

ขั้นตอนยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านออนไลน์ด้วยตนเองนั้น มี 10 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ

  1. เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
  2. เลือก ภ.ง.ด.90/91 (ผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนต้องลงทะเบียนยื่นภาษีก่อนโดยกรอกข้อมูลส่วนตัว)

ขั้นตอนที่ 2 รูปที่ 1

วิธียื่นภาษีออนไลน์

วิธียื่นภาษีออนไลน

ขั้นตอนที่ 2 รูปที่ 2

วิธียื่น ภาษีออนไลน์

วิธียื่นภาษีออนไลน์

ขั้นตอนที่ 2 รูป ที่ 3

วิธียื่น ภาษีออนไลน์

วิธียื่น ภาษีออนไลน์

  1. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว มาที่หน้าแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีข้อมูลที่เคยกรอกไว้ตอนลงทะเบียนปรากฏอยู่ ให้ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของเราให้ละเอียดเรียบร้อย หากข้อมูลถูกต้องให้กดทำรายการต่อไป
  1. วิธียื่นภาษีออนไลน์

  1. เลือกสถานะ
    วิธียื่นภาษีออนไลน์

    วิธียื่นภาษีออนไลน์

  1. เลือกประเภทเงินได้ และค่าลดหย่อนการเสียภาษี
  • หากเป็นผู้ที่มีแต่เงินเดือนให้เลือกมาตรา 40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง บำนาญ โบนัส
  • ส่วนเงินที่ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน นั้น มีให้เลือกทั้ง เงินสมทบกองทุนประกันสังคม, ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF หรืออุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  • เมื่อเลือกและตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดทำรายการต่อไป
    วิธียื่นภาษีออนไลน์

    วิธียื่นภาษีออนไลน์

6. กรอกรายการเงินเดือนค่าจ้างบำนาญต่างๆ โดยเอามาจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ไม่ว่าจะเป็นเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี) กรอกในช่อง “บันทึกจำนวนเงินที่สะสมตลอดปี” ที่สำคัญต้องไม่ลืมเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ ส่วนคนที่เปลี่ยนงานหรือออกจากงานระหว่างปีให้ติดตามขอเอกสารของที่ทำงานเก่าและที่ทำงานใหม่เพื่อนำมายื่นรวมกันด้วย

วิธียื่นภาษีออนไลน์

วิธียื่นภาษีออนไลน์

  1. บันทึกรายการค่าลดหย่อนที่เรามีมากรอกใส่ทั้งหมด
    วิธียื่นภาษีออนไลน์

    วิธียื่นภาษีออนไลน์

8. ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณภาษี โดยระบบของกรมสรรพากรจะคำนวณให้อัตโนมัติ

วิธียื่นภาษีออนไลน์

วิธียื่นภาษีออนไลน์

  1. หากข้อมูลทุกอย่างถูกต้องให้ทำการยืนยันเพื่อยื่นแบบภาษี
    วิธียื่นภาษีออนไลน์

    วิธียื่นภาษีออนไลน์

  2. กดยืนยันการจ่ายเงิน หรือตรวจสอบการคืนภาษี และเลือกช่องทางทำธุรกรรมการเงินที่สะดวกที่สุด

คำถามทั่วไป

ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

  • บุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
  • นิติบุคคล  ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (ดูจากหนังสือรับรอง)

การเสียภาษีออนไลน์ ภงด91

การเสียภาษี ภงด91 คือ การเสียภาษีบุคคลธรรมดา ที่เป็นผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว

ภาษีขายของออนไลน์

การขายของออนไลน์ หากไม่ได้มีการจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท ถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่8 ต้องยื่น 2 ช่วงคือ

  1.  ยื่นภาษีสิ้นปี ภ.ง.ด. 90
  2.  ยื่นภาษีกลางปี ภ.ง.ด. 94

ยื่นภาษีออนไลน์ สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ที่ https://epit.rd.go.th/publish/index.php

ยื่นแบบออนไลน์ สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/

ต่อภาษีรถยนต์

ต่อภาษีรถยนต์ รถกะบะ

ต่อภาษีรถยนต์กี่บาท

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะคิดจาดขนาดเครื่องยนต์
    •   600 ซี.ซี. = ซี.ซี.ละ 0.5 สตางค์
    •  601- 1,800 ซี.ซี. = ซี.ซี.ละ 1.50 บาท
    •  1,801 ซี.ซี. ขึ้นไป ซี.ซี.ละ 4บาท
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง จะคำนวณภาษีตามน้ำหนักของรถ ตามอัตราดังนี้
    •  น้ำหนักรถไม่เกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,300 บาท
    •  น้ำหนักรถเกิน 1,800 กก. อัตราภาษี 1,600 บาท

ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

  1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศไทย
  2. ที่ทำการไปรษณีย์
  3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  4. เคาท์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
  5. ห้างสรรพสินค้า ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี
  6. บริการรับชำระภาษีแบบ “เลื่อล้อต่อภาษี”
  7. การต่อทะเบียนรถยนต์ออนไลน์

ต่อภาษีรถกระบะ ราคา

  • รถกระบะ 4 ประตู จะคิดภาษีในอัตราเดียวกับรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง คือ
    • 600 ซี.ซี. = ซี.ซี.ละ 0.5 สตางค์
    • 601- 1,800 ซี.ซี. = ซี.ซี.ละ 1.50 บาท
    • 1,801 ซี.ซี. ขึ้นไป ซี.ซี.ละ 4บาท
  • รถกระบะ 2 ประตู จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ มีอัตราดังนี้
น้ำหนักรถ/กิโลกรัม อัตราภาษี (บาท)
501 – 750 450
751 – 1,000 600
1,001 – 1,250 750
1,251 – 1,500 900
1,501 – 1,750 1,050
1,751 – 2,000 1,350
2,001 – 2,500 1,650

ขาดต่อภาษีรถยนต์

การต่อภาษีแบบทั่วไปคือต้องจ่ายตรงตามเวลา หรือต่อภาษีก่อน 90 วันก่อนถึงวันครบกำหนด ซึ่งจะเป็นการต่อภาษีแบบปกติ จ่ายตามจริงและไม่มีค่าปรับ หากขาดการต่อทะเบียนหลังจากเลยวันต่อไปแล้วแต่ยังไม่เกินกำหนด 3 ปี จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ของค่าต่อทะเบียนที่ต้องชำระต่อเดือนจนถึงวันที่ชำระ

สำหรับเจ้าของรถที่ปล่อยให้รถขาดการต่อทะเบียนเกิน 3 ปี จะโดนแจ้งจอด โดยมีจดหมายจากกรมขนส่งส่งมาตามที่อยู่ของเจ้าของรถ ให้ระงับการใช้งานรถยนต์และเลขทะเบียนรถนั้นจะถูกยกเลิก เมื่อทะเบียนรถขาดการต่อภาษีเกิน 3 ปี ต้องดำเนินการขอทะเบียนรถคันนั้นใหม่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์

  1. เตรียมเอกสารสาร
    1. ทะเบียนรถ หรือ สำเนาทะเบียนรถ
    2. หลักฐานการตรวจสภาพรถ
    3. ประกัน พ.ร.บ.
  2. สำนักงานขนส่ง ที่ทำการไปรษณีย์ ธนาคารที่รับบริการ หรือสามารถต่อภาษีออนไลน์
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์

ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

  1. เริ่มแรก เข้าเว็บไซค์ eservice.dlt.go.th
  2. ลงทะเบียนสมาชิกใหม่เพื่อขอรับรหัสผ่าน
  3. เมื่อได้รหัสมาแล้วก็ให้ เข้าสู่ระบบแล้วให้ไปคลิกที่  ชำระภาษีรถประจำปี
  4. จากนั้นคลิกไปที่ ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต
  5. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ จากนั้นกดลงทะเบียนรถ
  6. จากนั้นเมื่อกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถเสร็จแล้วให้ไปคลิกที่ช่อง ยื่นภาษี
  7. สำหรับรถยนต์ที่ติดแก๊สให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐาน ถ้าไม่มีข้ามไปที่ขั้นตอนที่ 8
  8. หากมีพ.ร.บ.แล้ว ให้ติ๊กที่ช่อง มีแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่มี ติ๊กที่ช่องซื้อ พ.ร.บ. ออลไลน์ เมื่อทำการซื้อเรียบร้อยแล้ว จากนั้นกรอกรายละเอียด ประกัน เลขที่กรมธรรม์ และวันที่สิ้นสุด จากนั้นจะทราบรายการที่ต้องเสีย เมื่อเสร็จแล้วไปกดที่ กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร
  9. หน้านี้ ให้กรอกที่อยู่สำหรับ ทำการจัดส่งเอกสาร กรอกให้ครบถ้วนจากนั้น กดที่เลือกวิธีการชำระเงิน
  10. เลือกวิธีชำระเงิน
  11. จากนั้นพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถ แล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ

ต่อภาษีรถยนต์ไปรษณีย์

สามารถชำระได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ โดยต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  1.  สมุดคู่มือจดทะเบียนเล่มจริง
  2.  หลักฐานการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (เช่นใบเสร็จ หรือ ตารางกรมธรรม์)
  3.  ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
  4.  ค่าธรรมเนียม 40 บาท

ต่อพรบ ภาษี รถยนต์ ล่วงหน้า

สามารถต่อภาษีได้ล่วงหน้า 3 เดือน โดยใช้เอกสารสารดังนี้

  1. สมุดคู่มือจดทะเบียน
  2. พ.ร.บ.รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ
  3. ใบตรวจสภาพรถยนต์

ต่อพรบ. รถยนต์

คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย พ.ศ.2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จะทะเบียนกับการขนส่งทางบก

ประชาธิปไตย
220335
220766
สิ่งที่เรียกว่า หัวบอล
ปก เทคโนโลยีสารสนเทศ 1
ฝันว่าเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋เดินทาง
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 151872: 1284