กำแพงเบอร์ลิน

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินประวัติศาสตร์ของโลก 15 ประเทศครบ?

Click to rate this post!
[Total: 182 Average: 5]

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

ในช่วงของศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์สำคัญๆทางประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของโลกที่ถูกจารึกบันทึกไว้และเป็นยุคจุดเปลี่ยนของอาณาจักรดินแดนบนโลกใบนี้ นั้นก็คือ การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน แล้วอะไรล่ะคือ กำแพงเบอร์ลิน

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

กำแพงเบอร์ลิน

กำแพงเบอร์ลิน ถูกก่อสร้างขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.1961 หรือราวๆปี พ.ศ. 2504 ซึ่งกำแพงนี้มีความยาวโอบล้อมรอบมากถึง 155 กิโลเมตร วัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อปิดกั้นระหว่างดินแดนฝั่งเยอรมนีตะวันออกและดินแดนฝั่งเยอรมนีตะวันตก ส่วนชื่อของ “เบอร์ลิน” นั้นมาจาก ชื่อเมืองหนึ่งของทางฝั่งเยอรมนีตะวันตก ซึ่งเป็นดินแดนตำแหน่งที่ถูกกำหนดให้สร้างปิดกั้นด้วยกำแพงนั่นเอง

สงครามเย็น

คือ สงครามที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ของมหาอำนาจทางการเมืองในกลุ่มสองประเทศใหญ่ๆที่เป็นประเทศทางมหาอำนาจ ในช่วงปี ค.ศ.1945 – ค.ศ.1991 หรือราวๆปี พ.ศ. 2488 – พ.ศ.2534 ระหว่างประเทศทางกลุ่มการเมืองคอมมิวนิสต์ ผู้นำคือสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพโซเวียต และประเทศทางกลุ่มการเมืองโลกเสรีหรือแบบประชาธิปไตย ผู้นำคือสหรัฐอเมริกา

ถึงแม้ว่าการทำสงครามเย็นจะไม่ใช้สงครามที่ใช้ขีปนาวุธหรืออาวุธปรมาณู ที่ต้องใช้กำลังและทำให้ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ โดยวิธีการทางทหารและประชาชน เพราะสงครามเย็น คือ สงครามทางจิตวิทยา สงครามที่ขัดแย้งกันทางอุดมการณ์ที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของความคิดด้านความเชื่อทางการเมือง เช่น การเกย์ทัพกันด้วยโฆษณาชวนเชื่อ

การแสวงหาพันธมิตรใหม่ๆเข้ามาเป็นฝ่ายของตนเอง การแข่งขันชิงเด่นกันทางด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์ใหม่ๆ การแข่งขันทางด้านกีฬา การแข่งขันทางด้านการประดิษฐ์ยานอวกาศ (เพื่อไปเหยียบดวงจันทร์หรือนอกจักรวาล) การคว่ำบาตรกับฝ่ายตรงข้าม และการโน้มน้าวชักจูงเพื่อให้ประเทศมาเข้าฝ่ายเดียวกัน ด้วยวิธีปลูกฝั่งทางความคิด การนำเสนอสร้างกระแสความนิยมทางเลือกที่ดีกว่า

โดยเป็นเสมือนการดิสเครดิต (Discredit) ระยะไกลทำให้อีกฝ่ายไม่ได้รับความนิยม ถูกมองให้เสียคะแนนหรือมองว่าเป็นพวกหัวรุนแรง ลัทธินิยม หรือการให้อิสระเกินไปไม่แสดงความช่วยเหลือประชาชนและผู้ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน เรียกง่ายๆ ก็คือ การใช้กลวิธีต่างๆ เพื่อแข่งขันโดยทำให้นานาประเทศในโลกเกิดการเข้าร่วมพวกเดียวกันและทำลายฝ่ายตรงข้ามทำให้เสียภาพลักษณ์นั้นเอง

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

ผู้นำท่านสุดท้ายของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต คือ “มีฮาอิล กอร์บาชอฟ” อยู่ในช่วง ค.ศ. 1985 – ค.ศ.1991 ราวๆปี พ.ศ. 2528 – พ.ศ.2534 คือผู้ที่ปฏิรูปประเทศสหภาพโซเวียตขึ้น จีงทำให้เกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เกิดจากการนำกลยุทธ์ในการใช้บริหารประเทศ ภายใต้นโยบาย เปเรสตรอยกา (Perestroika) และกลาสนอสต์ (Glasnost) มาใช้ในการปฏิรูปและดูแลประชา

กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลิน

เปเรสตรอยกา (Perestroika)

หมายถึง การปฏิรูประบบเศรษฐกิจใหม่ในสหภาพโซเวียต โดยการลดบทบาทของภาครัฐบาล การนำหลักกลไกทางราคามาใช้ เพื่อเปิดโอกาสให้ ภาควิสาหกิจ ภาคเอกชน มีความรับผิดชอบต่อการกระจายเศรษฐกิจและมีอิสระภาพทางการค้าขายมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการในระบบอุปสงค์และอุปทานได้มากยิ่งขึ้น ทำให้สหภาพโซเวียต มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในทางที่ดีขึ้น มีความก้าวหน้าต่อการเจริญเติบโต

เนื่องจากประเทศถูกหลุดพ้นจากสภาวะการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจแต่เพียงรัฐบาลผู้เดียว เปิดโอกาสเสรีทางเศรษฐกิจมากขึ้น หรือเรียกง่ายๆว่า การหลุดพ้นจากระบบสังคมคอมมิวนิสต์ส ทำให้ด้านการค้าขายภายในประเทศ การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศสะดวกและเจริญรวดเร็ว เป็นการยกระดับคุณภาพของประเทศให้สูงขึ้นและง่ายต่อการพัฒนาสู่สภาวะ เป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว

กลาสนอสต์ (Glasnost)

หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล ความเที่ยงตรง โปร่งใส่ ของภาครัฐบาลที่สามารถตรวจสอบได้ ในเรื่องของนโยบายการบริหารประเทศ เรื่องเศรษฐกิจการซื้อขายและการใช้เงินลงทุนต่างๆไป การทำสนธิสัญญาต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งประชาชนสามารถรับรู้และการเข้าถึงข่าวสารทางการเมืองได้มากยิ่งขึ้น มีสื่อมวลชนและตัวแทนประชาชนได้เข้าร่วมการประชุมสภา

แม้ว่ารัฐบาลในสหภาพโซเวียตยังคงเป็นส่วนกลางในการบริหารประเทศต่อไป แต่อำนาจต่างๆที่เคยถูกปิดกลั้นไม่ให้ประชาชนได้ล่วงรู้ บัดนี้สามารถตรวจสอบความชอบธรรม ที่มาและความจริงในการบริหารประเทศของภาครัฐได้อย่างถูกต้องตรงประเด็น

สาเหตุของสงครามเย็น

จุดเริ่มต้นของสาเหตุสงครามเย็น มหาอำนาจของโลก คือประเทศสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ในขณะที่สหรัฐอำเมริกาต้องการขยายอาณาเขตระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ทั้งสองประเทศจึงเกิดการทำสงคราม Proxy War หรือ สงครามตัวแทน เพื่อต้องการขยายอำนาจอาณาเขตไปยังประเทศอื่นๆ ให้มากขึ้น หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สอง

ได้สิ้นสุดลง การใช้อำนาจทางอาวุธ การต่อสู้ที่ใช้กำลัง ที่เคยมีประชาชนเสียเลือดเนื้อและการเสียดินแดนอาณาจักรแบบไม่เป็นธรรมได้สิ้นสุดลง เพราะมหาอำนาจอย่างฝ่ายอักษะผู้นำกลุ่มนาซีของประเทศเยอรมัน ญี่ปุ่น และอิตาลี พ่ายแพ้สงครามให้กับกลุ่มมหาอำนาจอย่างผู้นำสหราชอาณาจักรอังกฤษ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส จึงทำให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการทำสงครามการแทรกแซงระบบทางความคิด ระบบเศรษฐกิจ  และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางระบบการปกครองประเทศในที่สุด

การสิ้นสุดสงครามเย็น

ทุกๆการเริ่มต้นของเรื่อง ย่อมมีจุดสิ้นสุด แม้กระทั้งเหตุการณ์สงครามเย็นก็เช่นกัน สัญลักษณ์ที่เป็นเครื่องตราตรึงแสดงให้เห็นว่าวาระการสิ้นสุดสงครามเย็นได้หมดสิ้นและจบลงไปแล้ว ต่อไปจะไม่มีคำว่ามหาอำนาจความแตกต่างอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศที่ยิ่งใหญ่อีก นั่นก็คือ กำแพงเบอร์ลินในประเทศเยอรมนีได้ล่มสลาย ถูกทำลายลง พรมแดนที่กั้นถึงกันถึงจุดสิ้นสุดลง เป็นการควบรวมประเทศเยอรมนีเข้าด้วยกัน

บัดนี้สงครามที่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองที่มีความคิดและระบบการปกครองที่แตกต่างกันได้สิ้นสุดลง แม้ว่าจุดสิ้นสุดของกำแพงเบอร์ลินจะมีอายุไม่ยาวนาน อย่างกำแพงเมืองจีน ที่ปัจจุบันก็ยังคงสภาพอยู่มามากกว่า 2,000 กว่าปีแล้ว ผ่านเหตุการณ์สงครามหนัก อย่างสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นต่อสู้กับอังกฤษ แต่ด้วยความแข็งแรงการสร้างด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาติจีนสมัยโบราณ ทำให้ ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ศตวรรษ จุดสิ้นสุดกำแพงเมืองจีน ก็ไม่มีวันพังทลายและคงยืนสร้างความศรัทธาเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีและสถานที่ท่องเที่ยวของประเทศจีนที่คงคุณค่าต่อการมาเยือน

จากประวัติสงครามเย็น เป็นเครื่องแสดงถึง การต่อสู้ที่มีชั้นเชิงของประเทศมหาอำนาจ ที่สร้างความแตกต่างจากการทำสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการทำสงครามโลกครั้งที่สองที่ผ่านมา การเกิดของสงครามเย็นสาเหตุที่แท้จริงก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากการทำสงครามโลกสักเท่าใดนัก จุดประสงค์ก็คือ การขยายอำนาจ การสร้างอาณานิคม การทำให้ประเทศต่างๆ ยอมรับในอุดมการณ์เดียวกัน และเลือกข้างประเทศในที่สุด แต่ด้วยยุทธวิถีที่แตกต่างกัน ทำให้สงครามเย็น กลายเป็นสงครามที่บีบบังคับ โดยชาติมหาอำนาจทั้ง 4 คือ ฝ่ายเสรีประชาธิปไตย

เสรีประชาธิปไตยประกอบด้วย ประเทศสหรัฐอำเมริกา (มหาอำนาจหลัก), อังกฤษ, ฝรั่งเศส บ่ายเบี่ยงการเรียกร้องจากสหภาพโซเวียต ที่ใช้ประเทศเยอรมันเป็นเสมือนเครื่องต่อรอง ทำให้สหภาพโซเวียตสิ้นสุดความอดทน จึงปิดล้อมและใช้กำลังบีบฝั่งเยอรมันเมืองเบอร์ลินตะวันตกให้อยู่ในลิทธินิยมคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ฝั่งเยอรมันเมืองเบอร์ลินตะวันออกกลับเฟื่องฟู รุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เพราะเกิดจากการสนับสนุนเสรีประชาธิปไตยของมหาอำนาจหลัก อย่างสหรัฐอำเมริกา และผู้ร่วมสนับสนุนอย่างประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศสที่เน้นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การค้าขายเสรี การเปิดประเทศ จึงทำให้ประชาชนจำนวนมากที่หนีข้ามฝั่งกำแพงจากฝั่งเยอรมันเมืองเบอร์ลินตะวันตก มาอาศัยอยู่ฝั่งเยอรมันเมืองเบอร์ลินตะวันออก

สงครามเย็น
สงครามเย็น

กรณีปัญหาเรื่องประเทศเยอรมนี กรุงเบอร์ลินได้ถูกแบ่งแยกโดยชาติมหาอำนาจทั้ง 4 ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นประเด็นเนื่องจากสหภาพโซเวียตได้เรียกร้องจากเยอรมนีเป็นจำนวนมาก แต่สหรัฐอเมริกาพยายามบ่ายเบี่ยงทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจ เบอร์ลินตะวันตกนี่คือเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลเยอรมันฝั่งตะวันออก สร้างกำแพงเบอร์ลิน ขึ้น เปรียบเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม ค.ศ.1961 และถูกทลายในวันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1991นับเป็นเวลาถึง 28 ปีเท่านั้น การทำลายของกำแพงเบอร์ลิน โดยรัฐบาลฝั่งเมืองเบอร์ลินของเยอรมันตะวันออก ออกมาประกาศว่าไม่มี เยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออกอีกต่อไป

เกิดการควบรวมประเทศแผ่นดินเยอรมนี และการพังทลายของกำแพงที่กั้นเมืองทั้งสองในที่สุด ส่งผลให้เปลี่ยนประเทศเยอรมนีเป็นการปกครองระบบประชาธิปไตย ประชาชนได้รับเสรีนิยม กล้าแสดงออกทางความคิดทางการเมืองมากขึ้น สามารถเลือกตัวแทนเข้าไปในสภาและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ รวมถึงสามารถรับรู้นโยบายต่างๆของรัฐบาล รายรับรายจ่ายของรัฐบาลเยอรมนีที่สามารถตรวจสอบได้ จึงนับเป็นจุดสิ้นสุดและการยุติการทำสงครามเย็นตั้งแต่นั้นมา

หลังจากที่การทำสงครามได้แผ่ขยายและลุกลาม จนสร้างความกดดันให้กับประชาชนในกรุงเบอร์ลินเอง และประชาชนในประเทศเยอรมันเป็นอย่างมาก ตลอดจนอารยประเทศต่างๆ ที่ไม่อยากต้องเลือกข้างเพื่อฝักฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทำให้ตลอดระยะเวลานานถึง 28 ปี ของการเกิดสถานการณ์สงครามเย็น ต่างสร้างความตึงเครียดและสร้างการเปลี่ยนแปลงกันไปทั่วโลก

สหภาพโซเวียตล่มสลาย

จากการล่มสลายของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ทำให้เกิดเป็นประเทศใหม่ จำนวน 15 ประเทศ ที่มีพื้นที่ของอาณาเขตติดต่อกัน ทำให้เกิดเป็นภูมิภาคประเทศในดินแดนฝั่งยุโรปตะวันออก  และองค์การระหว่างประเทศให้การยอมรับพร้อมเปิดรับสมาชิกประเทศใหม่ๆ เช่นองค์การสหประชาชาติ (UN), สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (Eurasian Economic Union), องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้น

รายชื่อของ 15 ประเทศ ที่เกิดขึ้นจากการดินแดนชองสหภาพโซเวียตล่มสลาย ดังนี้

  1. ประเทศรัสเซีย
  2. ประเทศเบลารุส
  3. ประเทศยูเครน
  4. ประเทศจอร์เจีย
  5. ประเทศมอลโดวา
  6. ประเทศเอสโตเนีย
  7. ประเทศอาเซอร์ไบจาน
  8. ประเทศอาร์เมเนีย
  9. ประเทศลิทัวเนีย
  10. ประเทศคาซัคสถาน
  11. ประเทศเติร์กเมนิสถาน
  12. ประเทศอุซเบกิสถาน
  13. ประเทศลัตเวีย
  14. ประเทศคีร์กีซสถาน
  15. ประเทศทาจิกิสถาน

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย

1. จุดสิ้นสุดการทำสงครามเย็นหรือสงครามทางจิตวิทยา ระหว่างประเทศที่เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ และ ประเทศที่เป็นมีระบบเป็นประชาธิปไตย เพราะเมื่อระบบคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลง ประชาชนก็ได้รับอิสรภาพ สิทธิเสรีภาพในเรื่องของระบบการเมือง การแสดงความคิดเห็นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริงมากยิ่งขึ้น

2. เกิดการเปลี่ยนแปลงของอาณาจักรประเทศมหาอำนาจ อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้มีอำนาจสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางการค้า เศรษฐกิจโลก การทหาร การทูต วัฒนธรรม ซึ่งต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกและประเทศในโลกที่ร่วมกลุ่มกัน มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง การให้ความร่วมมือเป็นไปในทิศทางและแนวทางเดียวกัน

3. ประชาชนภายในประเทศสามารถมีส่วนร่วมในการลงประชามติ การได้รับความเป็นธรรมและอยู่ภายใต้การปกครองประเทศที่มีความยุติธรรม เสรีนิยมทางระบบประชาธิปไตย สิทธิในการเลือกตั้ง สิทธิในการศึกษาเล่าเรียนขั้นพื้นฐาน สิทธิในการรักษาพยาบาลและสวัสดิการต่างๆที่รัฐพึ่งจัดให้ตามนโยบายของประเทศที่สามารถตรวจสอบได้เสมอ และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้กฎหมายของประเทศ


สาเหตุของสงครามเย็น

สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสิ้นสุดการทำสงครามทางจิตวิทยาคือ

แม้ว่า การทำลายกำแพงเบอร์ลิน ในประเทศเยอรมันนี้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลกที่น่าจดจำ และสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยความรู้การทหาร การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ การแพทย์ที่พัฒนามากยิ่งขึ้น รวมถึงการแข่งขันต่างๆในนานาประเทศ สงครามเย็นแห่งเมืองเบอร์ลิน จึงทิ้งไว้แต่เพียงผนังกำแพงที่หลงเหลือเพียงบางส่วน เพื่อเป็นอนุสรณ์เท่านั้นและถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความทรงจำของการสิ้นสุดการทำสงครามทางจิตวิทยาอย่างถาวร

บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 164135: 1588