คำกริยา

คำกริยา กรรมกริยาสกรรมกริยามีอะไรอาจมีความหมายสมบูรณ์ 5 ชนิด

คำกริยา

คํากริยา 4 ชนิดมีอะไรบ้าง

คำกริยาคือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนามและคำสรรพนามในประโยคคำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบและบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ คำกริยามีชนิด ได้แก่ อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิตรรถกริยา และกริยานุเคราะห์

ร้องไห้เป็นคำกริยาประเภทใด

อกรรมกริยา (intransitive verb) คือคำกริยาที่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมมารองรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน วิ่ง หกล้ม ร้องไห้ ตัวอย่างประโยค เช่น เขาร้องไห้ เธอวิ่ง

ชนิดของคำกริยา

คำกริยาแบ่งเป็น  ๕  ชนิด
  • ๑.  อกรรมกริยา  คือ  คำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์  เข้าใจได้  เช่น
                                –  เขา”ยืน”อยู่                     –  น้อง”นอน”
  • ๒.  สกรรมกริยา  คือ  คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับ  เพราะคำกริยานี้ไม่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง  เช่น
                                –  ฉัน “กิน”ข้าว           (ข้าวเป็นกรรมที่มารับคำว่ากิน)
                                –  เขา”เห็น”นก           (นกเป็นกรรมที่มารับคำว่าเห็น)
  • ๓.  วิกตรรถกริยา  คือ  คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง  ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความ ต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ  คำกริยาพวกนี้คือ  เป็น  เหมือน  คล้าย  เท่า  คือ  เช่น
                                 –  เขา”เป็น”นักเรียน                  –  เขา”คือ”ครูของฉันเอง
  • ๔.  กริยานุเคราะห์  คือ  คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยคำกริยาสำคัญในประโยคให้มีความหมายชัดเจนขึ้น  ได้แก่คำว่า  จง  กำลัง  จะ  ย่อม  คง  ยัง  ถูก  นะ  เถอะ  เทอญ ฯลฯ  เช่น 
                          –  นายดำ”จะ”ไปโรงเรียน                       –  เขา”ถูก”ตี
  • ๕.  กริยาสภาวมาลา  คือ  คำกริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำนามจะเป็นประธาน  กรรม  หรือบทขยายของประโยคก็ได้  เช่น
    –  “นอน”หลับเป็นการพักผ่อนที่ดี                 (นอน  เป็นคำกริยาที่เป็นประธานของประโยค)
    –  ฉันชอบไป”เที่ยว”กับเธอ                         (เที่ยว เป็นคำกริยาที่เป็นกรรมของประโยค)
หน้าที่ของคำกริยามีดังนี้คือ
  • ๑.  ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค  เช่น
                      –  ขนมวางอยู่บนโต๊ะ                             –  นักเรียน[/b]อ่าน[/b]หนังสือทุกวัน
  • ๒.  ทำหน้าที่ขยายคำนาม  เช่น
                      –  วันเดินทางของเขาคือวันพรุ่งนี้         (“เดินทาง”  เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำนาม “วัน”)
  • ๓.  ทำหน้าที่ขยายกริยา  เช่น
                      –  เด็กคนนั้นนั่งดูนก     (“ดู”  เป็นคำกริยาที่ไปขยายคำกริยา “นั่ง”)
  • ๔.  ทำหน้าที่เหมือนคำนาม  เช่น
                     –  ออกกำลังกายทุกวันทำให้ร่างกายแข็งแรง   (“ออกกำลังกาย”  เป็นคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
                     –  เด็กชอบเดินเร็วๆ           (“เดิน”  เป็นคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค)

คำค้น : คือ ป. 4 ภาษาจีน อังกฤษ ppt ภาษาอังกฤษ หมายถึง คำนาม คำสรรพนาม มีอะไรบ้าง ใบงาน ภาษาไทย เรื่อง ป. 3 verb ภาษาญี่ปุ่น คำศัพท์ ป.4 เรื่อง ป. 4 3 ช่อง แผนการสอน คืออะไร จีน คำนาม คำสรรพนาม คําราชาศัพท์ go เช่น ใบงานภาษาอังกฤษ ใบงาน ป. 4 ใบงานเรื่อง verb

ที่มา:esarntech.ac.th

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: วัยรุ่น
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 172577: 423