อุณภูมิ

องศา อุณหภูมิมีไข้กี่ระดับ ไข้ร้อนในร่างกายครบจบ 35 องศา?

Click to rate this post!
[Total: 243 Average: 5]

อุณหภูมิ

       การบอกค่าพลังงานความร้อนของสารต่าง ๆ ว่าร้อนมาหรือน้อยเพียงใดนั้น  นักวิทยาศาสตร์เรียกนะดับความร้อนของสารเหล่านั้นว่า อุณหภูมิ (temperature) เครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิเรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (thermometer)  เทอร์โมมิเตอร์ มักผลิตมาจากปรอทหรือแอลกอฮอล์ เมื่อของเหลวได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวไปตามช่องเล็กๆ ซึ่งมีสเกลบอกอุณหภูมิเป็นตัวเลข มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์

สรุปสั้นๆ เป็นการวัดค่าเฉลี่ยของพลังงานจลน์ของอนุภาคในสารใด ๆ ซึ่งสอดคล้องกับความร้อนหรือเย็นของสสารนั้น

อุณหภูมิ

อุณหภูมิร่างกายปกติ

ในอดีตมีแนวคิดเกี่ยวกับอุณหภูมิเกิดขึ้นเป็น 2 แนวทาง คือตามแนวทางของหลักอุณหพลศาสตร์ และตามการอธิบายเชิงจุลภาคทางฟิสิกส์เชิงสถิติ แนวคิดทางอุณหพลศาสตร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นโดยลอร์ดเคลวิน โดยเกี่ยวข้องกับการวัดในเชิงมหภาค ดังนั้นคำจำกัดความอุณหภูมิในเชิงอุณหพลศาสตร์ในเบื้องแรก จึงระบุเกี่ยวกับค่าตัวแปรต่าง ๆ ที่สามารถตรวจวัดได้จากการสังเกต ส่วนแนวทางของฟิสิกส์เชิงสถิติจะให้ความเข้าใจในเชิงลึกยิ่งกว่าอุณหพลศาสตร์ โดยอธิบายถึงการสะสมจำนวนอนุภาคขนาดใหญ่ และตีความพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในอุณหพลศาสตร์ (เชิงมหภาค) ในฐานะค่าเฉลี่ยทางสถิติของพารามิเตอร์ของอนุภาคในเชิงจุลภาค

เรื่องน่ารู้.. อุณหภูมิปกติของร่างกายเท่าไร? อุณหภูมิบ่งบอกอะไรได้บ้าง

อุณหภูมิ หรือบางคนเขียนผิดว่าอุนหะพูม สามารถบ่งบอกถึงระดับไข้และสภาวะร่างกายคนเราได้ ซึ่งร่างกายมนุษย์มีอุณหภูมิที่พอดีอยู่ หากอุณหภูมิในร่างกายของคนเราเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงย่อมส่งผลอันตรายต่อร่างกายมนุษย์อย่างมาก ปกติแล้วร่างกายคนเรามีอุณหภูมิอยู่ที่ 36.2 – 36.3 องศาเซลเซียส หรือตามเกณฑ์เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส หรือมีค่า 98.6 องศาฟาเรนไฮต์

อุณหภูมิร่างกายปกติเท่าไร

อุณหภูมิร่างกายปกติเท่าไร

ตามปกติก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยตามกิจกรรมที่ทำ เช่น มีการออกกำลังกาย หรือกินอาหารฤทธิ์ร้อนอย่างทุเรียน เป็นต้น กล่าวได้ว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่ได้หมายความว่าจะมีไข้เสมอไป แต่อาจะหมายถึงอาการร้อนในร่างกายในช่วงที่ร่างกายกำลังถ่ายเทความร้อนอย่างหนักชั่วคราว เมื่อผ่านไปสักพักอุณหภูมิก็จะกลับมาเป็นปกติ

หมายเหตุ : ในการศึกษาฟิสิกส์เชิงสถิติ สามารถตีความคำนิยามอุณหภูมิในอุณหพลศาสตร์ว่า เป็นการวัดพลังงานเฉลี่ยของอนุภาคในแต่ละองศาอิสระในระบบอุณหพลศาสตร์ โดยที่อุณหภูมินั้นสามารถมองเป็นคุณสมบัติเชิงสถิติ ดังนั้นระบบจึงต้องประกอบด้วยปริมาณอนุภาคจำนวนมากเพื่อจะสามารถบ่งบอกค่าอุณหภูมิอันมีความหมายที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ ในของแข็ง พลังงานนี้พบในการสั่นไหวของอะตอมของสสารในสภาวะสมดุล ในแก๊สอุดมคติ พลังงานนี้พบในการเคลื่อนไหวไปมาของอนุภาคโมเลกุลของแก๊ส

อุณหภูมิเท่าไรถึงเป็นไข้

เชื่อว่าหลายคนอยากรู้ว่าแล้วอย่างนี้ร่างกายอุณหภูมิเท่าไหร่มีไข้ และจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นแค่อาการร้อนในร่างกายเท่านั้น ฉะนั้นเรามาดูกันเลยว่ามีไข้กี่องศาถึงจะเรียกว่าไม่ปกติ

อุณหภูมิคนปกติ

อุณหภูมิคนปกติ

อุณหภูมิปกติของแต่ละวัย

  • อุณหภูมิร่างกายทารก หรืออุณหภูมิปกติของทารก อยู่ที่ 36.1-37.7 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิร่างกายเด็ก 37-37.6 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิร่างกายผู้ใหญ่ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิร่างกายผู้สูงอายุ 36-36.9 องศาเซลเซียส
  • อุณหภูมิร่างกายผู้สูงอายุ 36-36.9 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ยังมีสำหรับคนท้องจะมีอุณหภูมิร่างกายคนท้อง 36.2- 37.5 องศาเซลเซียส (คนท้องตัวร้อนก็ต่อเมื่อเกินกว่าอุณหภูมิดังกล่าว) สำหรับการวัดอุณหภูมิไข่ตก

ไข้มีกี่ระดับ กี่องศาถึงเป็น

สามารถเช็คอุณหภูมิวัดไข้ผ่านเครื่องต่าง ๆ ที่วัดได้เลย เพื่อทราบว่าระดับของไข้อยู่ที่เท่าไร ไข้ขึ้นสูงกี่องศาแล้ว หากพบว่าลูกมีไข้ 38 องศาหรือไข้ 38 ก็ถือได้ว่าเริ่มเป็นไข้เรียบร้อยแล้ว จะมีอาการไม่สบายตัวร้อนขึ้น ทั้งนี้ตำแหน่งของการวัดอุณหภูมิก็ส่งผลให้อุณภูมิร่างกายมีระดับของไข้ไม่เท่ากันได้

  • ทางทวารหนัก เหมาะสำหรับเด็กทุกอายุที่ไม่สามารถอมปรอทได้ หากเป็นไข้ตัวร้อนจะพบอุณหภูมิร่างกายสูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส
  • ทางปากเหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 4-5 ปี ที่สามารถอมปรอทวัดไข้ได้ หากเป็นไข้ตัวร้อนจะพบอุณหภูมิร่างกายสูงตั้งแต่ 6 องศาเซลเซียส
  • ทางรักแร้ แม่นยำน้อยกว่าทางปากหรือทวารหนัก เหมาะกับเด็กที่ทารกอายุน้อยกว่า 3 เดือนหรืออมปรอทใต้ลิ้นไม่ได้ อุณหภูมิร่างกายปกติรักแร้ก็จะไม่ร้อนเกิน หากเป็นไข้ตัวร้อนจะพบอุณหภูมิร่างกายสูงตั้งแต่4 องศาเซลเซียส
  • ทางหูหรือทางหน้าผาก แม่นยำน้อยกว่าทางปากหรือทวารหนัก มักนิยมใช้ในปัจจุบันเพราะสะดวกและรวดเร็วกว่าตำแหน่งอื่น หากเป็นไข้ตัวร้อนจะพบอุณหภูมิร่างกายสูงตั้งแต่ 8 องศาเซลเซียส

ระดับไข้

  • ไข้ต่ำ (Low Grade Fever) อุณหภูมิเป็นไข้ระหว่าง 37.0 – 38.9 องศาเซลเซียส
  • ไข้ปานกลาง (Medium Grade Fever) อุณหภูมิเป็นไข้ระหว่าง 38.9 – 39.5 องศาเซลเซียส
  • ไข้สูง (High Grade Fever) อุณหภูมิเป็นไข้ระหว่าง 39.5 – 40.4 องศาเซลเซียส
  • ไข้สูงมาก (Hyperpyrexia) อุณหภูมิเป็นไข้มากกว่า 41 องศาเซลเซียส

วิธีลดไข้ตัวร้อนผู้ใหญ่

ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งเบื้องต้นสามารถดูแลอาการเมื่อเป็นไข้ ดังนี้

  1. ใช้ยาลดไข้ เช่น ยาพาราเซตามอลรับประทานทุก 4-6 ชม. ให้ขนาดยาให้ตามน้ำหนักตัว ไอบูโพรเฟนใช้กรณีไข้สูงและให้ทุก 6 ชม.
  2. ดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยบรรเทาอุณหภูมิในร่างกายผ่านการปัสสาวะได้
  3. นอนพักเยอะ ๆ เพราะยิ่งเคลื่อนไหวมากจะเพิ่มอาการตัวร้อนหรืออุณหภูมิร่างกายได้
  4. ควรอยู่ในพื้นที่อากาศมีความถ่ายเทได้สะดวก สวมเสื้อผ้าที่สบาย โปร่ง ไม่อึดอัด เพื่อช่วยระบายความร้อน
  5. เช็ดตัวลดไข้ โดยใช้ผ้าหมาด ๆ ชุบน้ำถูที่ผิวหนัง จะช่วยให้หลอดเลือดขยายและความร้อยถูกถ่ายเทได้เร็วขึ้น
  6. เป็นไข้นวดได้ไหม? แม้ว่าการนวดจะช่วยให้สบายตัว และไม่ตรงกับการรักษา กรณีที่เป็นไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียสถือเป็นอันตรายห้ามนวดเด็ดขาด ซึ่งอาจจะไปโดนจุดที่เป็นอันตราย และยังจะเป็นการแพร่เชื้อได้อีกด้วย

อาการร้อนในร่างกาย

ทำไมมีไข้ตัวเย็น? แล้วภาวะตัวเย็นเป็นอย่างไร?

ตามปกติแล้วเมื่อมีอาการไข้สูง มือและเท้าจะเย็น ขณะที่อุณหภูมิร่างกายภายในจะสูง บ่งบอกถึง แต่จะมีอีกภาวะหนึ่งนั่นก็คือ ภาวะตัวเย็น หรือเรียกว่า Hypothermia คือ แทนที่ภายในร่างกายจะมีอุณหภูมิที่สูงเมื่อเป็นไข้ หรือถ้าปกติก็จะต้องอยู่ที่ 36.2 – 36.3 องศาเซลเซียส แต่ภายในร่างหายกลับเย็นกว่าปกติ คือมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ซึ่งภาวะที่อันตรายอย่างมากต่อชีวิตไม่แพ้กับอุณหภูมิที่สูง

ไข้

ไข้

ภาวะตัวเย็นที่ร่างกายมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางของร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นมาเฉียบพลัน ได้แก่ โรคไข้หวัด ปอดบวม ปลอดเลือดสมอง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้

ดังนั้นการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายจึงเรื่องสำคัญมาก ไม่ควรมากไปหรือน้อยไป ผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกาย 35 องศาเซสเซียส ถือเป็นผู้ป่วยที่มีสภาวะตัวเย็นซึ่งจะมีอาการไม่สบายขึ้นมาทันที นอนหลับได้ไม่สนิท รู้สึกเบื่ออาหาร หรืออาจจะมีมือเท้าเย็น หนาวสั่นมาก พูดได้ช้า มีอาการสับสนสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาระตัวเย็นได้เป็นเรื่องการทานและพฤติกรรมบางอย่าง นอกจากนี้ต้องเลี่ยงโดยการไม่ทานอาหารฤทธิ์เย็นที่มากไปทั้งน้ำหรืออาหาร

หน่วยที่ใช้วัดอุณหภูมิ

  • องศาเซลเซียส (  oC )
  • องศาฟาเรนไฮต์ (  oF)
  • เคลวิน ( K )

       ในการเปลี่ยนแปลงหน่วยวัดอุณหภูมิจากหน่วยหนึ่งไปยังอีกหน่วยหนึ่งใช้สูตรความสัมพันธ์ดังนี้

oC/5  = oF –32/9 =  K – 273/5

ตัวอย่าง  อุณหภูมิร่างกายของคนเราปกติคือ 37 องศาเซลเซียส จะมีค่าเท่าใดในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์

วิธีทำ     จากสูตร                                  oC/5  =  oF-32/9

                                                            37/5  =  oF-32/9

                                                         7.4 x 9  =  oF – 32

                                                            66.6   =  oF – 32 

oF   =    66.6 + 32

                                                                       =    98.6   oF

                 ดังนั้นอุณหภูมิร่างกายของคนปกติจะเท่ากับ  98.6  ฟาเรนไฮต์

การถ่ายโอนพลังงานความร้อน

       การถ่ายเทหรือถ่ายโอนพลังงานความร้อนมีหลายแบบดังนี้

  • 1. การนำความร้อน

       การนำความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่ต้องมีตัวกลาง ตัวกลางจะไม่เคลื่อนที่ แต่ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของตัวกลาง เช่นการเผาด้านหนึ่งของแท่งเหล็ก ความร้อนจะเคลื่อนที่ไปตามเนื้อของแท่งเหล็กจนทำให้ปลายอีกข้างร้อนตามไปด้วย การนำความร้อนของวัตถุแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เช่น เหล็กจะนำความร้อนได้ดีกว่า แท่งแก้ว วัตถุที่นำความร้อนได้เร็วเรียกว่า ตัวนำความร้อน วัตถุที่นำความร้อนได้ไม่ดีหรือช้า เรียกว่า ฉนวนความร้อน

  • 2. การพาความร้อน

      การพาความร้อนเป็นการส่งผ่านความร้อนที่มีการเคลื่อนที่ของตัวกลาง เช่น การที่เรานั่งรอบกองไฟแล้วรู้สึกร้อน ก็เพราะอากาศได้พาเอาความร้อนเคลื่อนที่มีถูกตัวเรา

  • 3. การแผ่รังสีความร้อน

      การแผ่รังสีความร้อน  เป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง  ซึ่งความร้อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดจะอยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สามารถเคลื่อนที่ไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางและมีอัตราเร็วในการเคลื่อนที่สูงมาก

สมดุลความร้อน

      สมดุลความร้อน  หมายถึง  การที่วัตถุมีอุณหภูมิสูงถ่ายโอนพลังงานความร้อนให้กับวัตถุที่มีอุณหภูมิต่ำจนกระทั่งวัตถุทั้งสองมีอุณหภูมิเท่ากันแล้วจึงจะหยุดการถ่ายโอนพลังงาน

การขยายตัวของวัตถุ

         เมื่อวัตถุได้รับพลังงานความร้อน  ทำให้อุณหภูมิในวัตถุเพิ่มขึ้น  วัตถุจะขยายตัว และเมื่อวัตถุคายพลังงานความร้อนทำให้อุณหภูมิของวัตถุลดลง วัตถุจะหดตัว

ปิดกิจการ
ในกรณีใดบ้างที่ควรใช้
220746
ฝันว่าเก็บพระเครื่อง
เกมส์นี้มีสกิลหรือความสามารถพิเศษ
เดบิตเครดิต
หุ้นทุนได้รับคืน
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 163852: 1211