สุขอนามัย

เรื่อง สุขอนามัยของใช้ส่วนตัวอะไรสุขลักษณะครบจบ 2 เรื่อง?

Click to rate this post!
[Total: 213 Average: 5]

สุขอนามัย

แนวคิดสำคัญ (Main Idea)

ผู้ที่มีสุขภาพดีเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีความสุข ปราศจากโรค สุขภาพเป็นสมบัติประจำตัวของมนุษย์ตามหลักพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “อโรคยา ปรมา ลาภา” ซึ่งหมายถึง ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งมีความหมายชัดเจนว่าบุคคลที่ไม่มีโรคประจำตัวย่อมเป็นลาภอันยิ่งใหญ่ เพราะคนเรานั้นถึงแม้จะมีทรัพย์สินเงินทองมากมายแต่ถ้าเป็นโรคก็ไม่มีความสุข

สุขภาพที่ดี
สุขภาพที่ดี

ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่าการที่คนเรามีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางจิตใจนั้น ย่อมทำให้เราเป็นบุคคลหรือประชาชนที่เป็นทรัพยากรมีค่ายิ่งของสังคม ผู้ที่มีสุขภาพดีจะสามารถปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว มีบุคลิกภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรงเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไป มีความสามารถในการดูแลตนเองและครอบครัว ตลอดจนมีความสามารถที่จะให้ความร่วมมือกับบุคคลอื่น ๆ ในการสร้างสังคม ถ้าประชาชนของชาติมีสุขภาพที่ดี ก็เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติด้วย

หัวข้อเรื่อง (Topics)

  1. ความหมายของสุขภาพ
  2. ความสำคัญของสุขภาพ
  3. ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่ดี
  4. การปรับปรุงสุขภาพเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
  5. การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
  6. หลักในการออกกำลังกาย
  7. ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
  8.  ประเภทของการออกกำลังกาย
  9. การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  10. สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
  11. อาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน
  12. การพักผ่อนและการนอนหลับ

สมรรถนะย่อย (Element of Competency)

  1. แสดงความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านสุขภาพอนามัย
  2. ปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านสุขภาพอนามัย

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)

  1. อธิบายความหมายของสุขภาพได้
  2. อธิบายความสำคัญของสุขภาพได้อธิบายลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่ดีได้
  3. อธิบายการปรับปรุงสุขภาพเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพได้
  4. อธิบายการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพได้
  5. บอกหลักในการออกกำลังกายได้
  6. อธิบายประโยชน์ของการออกกำลังกายได้
  7. บอกประเภทของการออกกำลังกายได้
  8. อธิบายการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพได้
  9. บอกสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้
  10. บอกอาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันได้
  11. อธิบายการพักผ่อนและการนอนหลับได้

เนื้อหา

คนที่มีสุขภาพดีคือคนที่มีความสุข มีความหวัง และมีพลังกาย พลังใจ สุขภาพจะเป็นเสมือนหนึ่งวิถีทาง อันจะนำบุคคลไปสู่ความสุข และความสำเร็จต่าง ๆ ในชีวิต สุขอนามัยที่ดีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อบุคลิกภาพที่ดีของบุคคล ซึ่งสามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และสร้างให้เกิดนิสัยที่ดีได้ด้วยการดูแลเอาใจใส่ตนเองอย่างเหมาะสมและถูกต้อง คำว่าสุขอนามัยมาจากคำว่า “สุขภาพ” และ “อนามัย” สุขภาพ หมายถึง ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขในสังคม ส่วนคำว่า อนามัย หมายถึง การดูแล เอาใจใส่ บำรุง ป้องกัน และส่งเสริมให้บุคคลมีร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพที่ดี

            ความหมายของสุขอนามัย จากความหมายของคำว่า สุขภาพและอนามัย สามารถสรุปความหมายของสุขอนามัยได้ว่า หมายถึง การรู้จักนำความรู้เกี่ยวกับสุขภาพไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอจนเกิดเป็นนิสัยส่งผลให้บุคคลมีสุขภาพดี มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพจิตที่ดี และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในสังคม

ความหมายของสุขภาพ

            สุขภาพที่ดีย่อมส่งผลให้มีบุคลิกภาพทางกายดีด้วย มนุษย์จึงมีความจำเป็นต้องให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ เพราะเป็นการสร้างให้บุคลิกภาพทางกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นักวิชาการได้ให้ความหมายของสุขภาพไว้ดังนี้

ความหมายของสุขภาพ
ความหมายของสุขภาพ

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และสุนี เลิศแสวงกิจ (2542:92) ให้ความหมายว่า สุขภาพ หมายถึงประสิทธิภาพของร่างกายและจิตใจที่ทำงานและมีชีวิตในสังคมได้ด้วยความพึงพอใจ

ผุสดี พฤกษะวัน (2547:36) ให้ความหมายว่า สุขภาพหมายถึงสภาวะความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือความพิการ และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ดีด้วยความพอใจ

องค์การอนามัยโลก (The world health organization) ได้ให้ความหมายของสุขภาพไว้ว่า สุขภาพคือ สภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และสภาพความเป็นอยู่ทางสังคม ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่การไม่มีโรคหรือไม่ทุพพลภาพเท่านั้น

ดังนั้นสรุปได้ว่าสุขภาพ หมายถึง สภาพของร่างกายที่มีการเจริญเติบโต มีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย ร่างกายสะอาด แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ทุพพลภาพ พร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันโรคหรือมีความต้านทานโรคเป็นอย่างดี

ความสำคัญของสุขภาพ
ความสำคัญของสุขภาพ

ความสำคัญของสุขภาพ

            สุขภาพมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างยิ่ง บุคคลที่มีสุขภาพดีก็สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ เป็นประโยชน์ต่อองค์กร ต่อตนเอง และผู้อื่น เพราะบุคคลที่มีสุขภาพดี ย่อมมีอารมณ์ ความคิด จิตใจดีงามตามไปด้วย เนื่องจากไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมารบกวน คนเราจะมีสุขภาพดีได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน เช่น การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายเพื่อให้อาหารที่รับประทานเข้าไปทำการย่อยสลายเพื่อไปบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้แข็งแรง การรับประทานอาหารที่พอเหมาะจะทำให้ไม่มีส่วนเกิน มีการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด ความเหนื่อยล้าจากการทำงานเป็นการเติมเต็มความสดชื่นให้กับร่างกาย และพร้อมที่จะทำหน้าที่การงานต่อไป

           สุขภาพ ในปัจจุบันมีองค์ประกอบ ส่วน ด้วยกัน คือ

1. สุขภาพกาย (Physical health) หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคือ อวัยวะต่าง ๆ อยู่ในสภาพที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน

2. สุขภาพจิต(Mental health) หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจ เบิกบานแจ่มใส มิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข

3. สุขภาพสังคม หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตใจ อันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

4. สุขภาพศีลธรรม หมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ สามารถปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุข

การดูแลสุขภาพด้วยวิธีการต่างๆ
การดูแลสุขภาพด้วยวิธีการต่างๆ

ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพร่างกายที่ดี

สุขภาพร่างกายที่ดี หมายถึง ผู้ที่มีร่างกายเจริญเติบโต มีพัฒนาการอย่างเหมาะสม ทั้งร่างกายและจิตใจ ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอและถูกสัดส่วน ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและไม่บกพร่องพิการทางกาย ควรมีลักษณะดังนี้

  1. แข็งแรง ทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคมได้สะดวก เข้ากับผู้อื่นได้และเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นด้วย
  2. มีหน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ผิวพรรณมีน้ำมีนวล กิริยาท่าทางสนุกสนาน รื่นเริง เป็นที่น่าคบหาสมาคมของบุคคลทั่วไป
  3. ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสง่างาม เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น เช่น มีผิวพรรณสะอาด ผมเป็นเงางาม เป็นต้น

การปรับปรุงสุขภาพเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ

            บุคลิกภาพที่ดีของบุคคลเกิดขึ้นจากการที่มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจที่แข็งแรง การดูแลสุขภาพจิตให้ดีจะส่งผลให้สุขภาพกายดี และการดูแลทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี แน่นอนย่อมส่งผลให้เกิดบุคลิกภาพที่ดี ทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง มีร่างกายที่สง่าผ่าเผย อกผายไหล่ผึ่ง ลักษณะท่าทางดี การปรับปรุงสุขภาพเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ มีวิธีปฏิบัติดังนี้

1. การดูแลบำรุงรักษาสุขภาพกาย

  • กินอาหารให้ถูกต้อง ถูกหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสมไม่อ้วน หรือผอมเกินไป
  • ออกกำลังกาย เล่นกีฬาเป็นประจำและต่อเนื่องตลอดชีวิต
  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยหลับสนิทคืนละ 6 ชั่วโมง
  • ดูสุขภาพกายโดยทั่วไป ไม่ให้เจ็บป่วย
  • หากมีโรคประจำตัวต้องปรึกษาแพทย์

2. การดูแลสุขภาพด้านอารมณ์

  • มองโลกในแง่ดีเสมอ
  • ปรับตัวเข้ากับสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ดี
  • รู้จักตนเอง และเข้าใจบุคคลอื่นได้ดี
  • มีความกระตือรือร้น ไม่เหนื่อยหน่าย หรือท้อแท้ใจ หรือหมดหวังในชีวิต
  • มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ชีวิตส่วนตัว และครอบครัว
  • มีความยืดหยุ่น ไม่เถรตรง ไม่แข็งกร้าวหรือไม่โลเลจนเกินไป
  • มีอารมณ์มั่นคง ควบคุมอารมณ์ให้มั่นคง
  • ฝึกการผจญกับความเครียด จนสามารถผ่อนหนักเป็นเบา
  • สร้างความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า และยอมรับผู้อื่น
  • สร้างอารมณ์ขัน ฝึกยิ้มสู้เสมอ เมื่อเจอเหตุการณ์วิกฤตหรือคับขัน

3. การดูแลสุขภาพในด้านการเข้าสังคม

  • รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนใกล้ชิดโดยเฉพาะสมาชิกในครอบครัว
  • เตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ในการอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงานและชุมชน
  • พยายามเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัว
  • มีเพื่อนสนิทและเพื่อนที่รู้ใจ
  • เปิดใจคบเพื่อนใหม่เสมอ
  • สร้างค่านิยมที่สังคมยอมรับ
  • รู้จักพัฒนาบุคลิกภาพเมื่อต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนประเภทต่าง ๆ
  • มีอารมณ์ขัน ฝึกยิ้มเสมอ เมื่อเจอเหตุการณ์วิกฤติ
  • อาสาสมัครช่วยพัฒนาชุมชนหรือกลุ่มที่ตนเองเป็นสมาชิก
  • มีส่วนร่วมสนับสนุนกิจกรรมของสังคมและชุมชน

การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ

การเล่นโยคะเพื่อบริหารร่างกาย
การเล่นโยคะเพื่อบริหารร่างกาย

            การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ โดยธรรมชาติร่างกายและอวัยวะจำเป็นต้องใช้งานจึงจะแข็งแรงและเจริญเติบโต การออกกำลังกายนับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง การออกกำลังกายที่ปฏิบัติกันมา ได้แก่ การเล่นกีฬา หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้การทำงานของร่างกาย  แล้วให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ซึ่งช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต กิจกรรม การออกกำลังกายที่นิยมกัน ได้แก่

1. การแข่งขันกีฬา กีฬาสามารถนำมาเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพได้ แต่กีฬาประเภทนั้น ต้องมีลักษณะที่ให้ประโยชน์ในด้านการหายใจ และการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย จึงจะสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายได้

2. เกมและการละเล่นที่ต้องใช้แรงกาย เกมการละเล่นหลายชนิดสามารถนำมาจัดให้เป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพได้ เกมละเล่นพื้นบ้านที่ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและได้ออกแรงกาย ได้แก่ วิ่งเปรี้ยว ตี่จับ ลิงชิงบอล ตะกร้อลอดห่วง เป็นต้น

3. การบริหารร่างกาย มีผลต่อระบบเคลื่อนไหวของร่างกาย ได้แก่ โยคะ รำมวยจีน การ       ออกกำลังกายทั่วไป การฝึกฝนร่างกายด้วยตนเอง หรือการไปออกกำลังกายตามสถานบริหารร่างกาย เช่น การวิ่งเหยาะ การกระโดดเชือก ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น

4. งานอาชีพและงานอดิเรกที่ใช้แรงกาย งานอาชีพบางอย่างที่ได้ใช้แรงกายให้เหมาะสมก็จัดเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพได้

คำค้น : คือ มีอะไรบ้าง หมายถึง ตรงกับข้อใดมากที่สุด แปลว่า โควิด เขียนคําอ่าน สุขลักษณะ การ์ตูน png คืออะไร คําอ่าน วิธีปฏิบัติ ppt อ่านว่าอย่างไร

ที่มา:sites.google.com/site/karphathna10/home,health.kapook.com

ปิดกิจการ
221175
ปก สตาร์ทอัพด้านการเงิน
การเล่นฟุตบอล
219464
รายได้ค้างรับ
ปก ปีนักษัตร
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 173344: 1206