ตรวจสอบบัญชีธนาคาร

ภาษีโอน เงินเข้าบัญชีส่งรายได้ธนาคารสรรพากรครบจบ 400 ครั้ง?

Click to rate this post!
[Total: 150 Average: 5]

ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 355 (พ.ศ. 2562)  ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ กำหนดให้ ธนาคารต้องส่ง รายงานทางการเงินของเราให้กับกรมสรรพากร ตามเงื่อนไข

ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร
ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร

เรามาดูและทำความเข้าใจกันว่า เราเข้าข่ายหรือไม่ และหากเข้าข่าย ต้องจัดการอย่างไรบ้าง  เพราะการรายงานข้อมูลการฝากหรือรับโอนเงินในครั้งแรกซึ่งต้องรายงานภายในวันที่  31 มีนาคม พ.ศ. 2563

กฎหมายนี้ได้กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงาน ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มี “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ”

ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ คืออะไร

ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ (หรือที่สื่อเรียกกันว่า กฎหมายอีเพย์เมนต์) เป็นธุรกรรมที่สถาบันการเงิน (เช่น ธนาคาร) รวมถึงผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น mPAY, TrueMoney)

ธนาคารส่งเอกสารสรรพากร
ธนาคารส่งเอกสารสรรพากร

สรรพากรตรวจสอบบัญชีธนาคารตั้ง 2562 และเริ่มบังคับใช้แล้ว สาเหตุเพื่อต้องการเช็คภาษี ของผู้ที่อยู่นอกระบบไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบการยื่นภาษี บัญชีธนาคาร การโอนเงิน รายการเดินบัญชี การรับโอน การโอนเงินเข้าบัญชี ทั้งนี้ไม่ได้เป็นการที่กรมสรรพากรต้องการดูยอดเงินในบัญชีของประชาชนแต่ต้องการที่จะจัดเก็บภาษีให้เท่าเทียมกัน จากคนที่ไม่ยอมเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดนผ่านการตรวจสอบการโอนเงินผ่านทางธนาคาร หรือบางครั้งท่านอาจมีเงินเข้าบัญชี เงินเข้าบัญชีไม่ทราบที่มา ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ทำให้สรรพากรต้องมีการเช็คอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

เงื่อนไข หลักเกณฑ์ โอนเงิน

ธนาคารส่งเอกสารสรรพากร
ธนาคารส่งเอกสารสรรพากร

เงื่อนไขการนับฝากหรือรับโอน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  1. จำนวนรายการเงินเข้าทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรม ฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป
    • ข้อนี้ จะต้องเข้าทั้ง 2 เงื่อนไขเท่านั้นจึงจะต้องรายงานข้อมูลทางการเงิน และ รายละเอียดการโอนเงิน ให้กรมสรรพากร
  2. รายการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้ง ขึ้นไป
    • ข้อนี้ ไม่สนจำนวนเงินที่เข้ามา แต่หากมีรายการทุกธนาคารที่มีชื่อเรา เคลื่อนไหวเข้าเกิน 3,000 ครั้งต่อปี จะต้องรายงานข้อมูลทางการเงิน รายละเอียดการโอนเงิน ให้กรมสรรพากร

นับการฝากหรือรับโอนเงินเข้าบัญชีของบุคคลที่มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชี ให้นับจำนวนครั้ง และจำนวนเงินทุกครั้ง ที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน เช่น การโอนที่ธนาคาร หรือสถาบันการฝากหรือรับโอนเงินเข้าบัญชีซึ่งกระทำผ่านอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์  ภาพรหัสคิวอาร์ หรือวิธีการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น เช่นการโอนจากแอพพิเคชั่น

ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป สถาบันจะส่งข้อมูลบัญชีที่เข้าเงื่อนไขให้กับกรมสรรพากร โดยการนับธุรกรรมฝากหรือรับโอนเงิน ทางธนาคารนับธุรกรรมแบบปีต่อปีตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. ของทุกปี สำหรับในปี 2564 นี้ จะต้องส่งข้อมูลบัญชี (ของเดือน ม.ค.-ธ.ค. 63) ให้กับกรมสรรพากรภายในวันที่ 31 มี.ค. 2564

สรรพากรตรวจสอบบัญชีธนาคาร
สรรพากรตรวจสอบบัญชีธนาคาร

ผู้มีหน้าที่รายงานบัญชีธนาคาร

  1. สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
  2. สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วย ระบบการชำระเงิน เช่น สถาบัน การเงิน และ Payment Gateway

ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร ดังนี้ 

ข้อมูลที่ต้องรายงาน ธนาคารส่งข้อมูลอะไรให้สรรพากร ?

  1. เลขประจำตัวประชาชน
    1. เลขที่หนังสือเดินทาง
    2. เลขทะเบียนนิติบุคคล
    3. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (อย่างใดอย่างหนึ่ง)
  2. ชื่อและชื่อสกุลของ
    1. บุคคลธรรมดา
    2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
    3. คณะบุคคลที่มิใช่
    4. นิติบุคคล หรือชื่อนิติบุคคล
  3. จำนวนครั้งของการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน (ม.ค. ถึง ธ.ค.)
  4. จำนวนเงินที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน (ม.ค. ถึง ธ.ค.)
  5. เลขที่บัญชีทุกบัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน

ในกรณีที่การฝากหรือรับโอนเงินตามวรรคหนึ่งเป็นการฝากหรือรับโอนเงินด้วยเงินตรา ต่างประเทศ ให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ย  ณ วันสิ้นปีที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ก่อนรายงานข้อมูล

ความปลอดภัยของข้อมูล

โอนเงินเกิน 200 ครั้ง
โอนเงินเกิน 200 ครั้ง

ข้อมูลที่ถูกส่งจะถูกเก็บในระบบฐานข้อมูลของกรมสรรพากร ซึ่งมีระบบความมั่นคง ปลอดภัยด้านสารสนเทศในระดับมาตรฐานสาก เจ้าหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เป็นการทั่วไป ประกอบกับได้มีการเพิ่มบทลงโทษแก่เจ้าพนักงานหากเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของผู้มีหน้าที่เสีย ภาษีด้วยแล้ว

กฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เสียภาษีโดยเป็นการเสนอ แก้ไขกฎหมายให้รองรับธุรกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์พร้อมทั้งช่วยขยาย ฐานภาษี โดยนำผู้ที่อยู่นอกระบบภาษีเข้าสู่ระบบภาษี และผู้ที่อยู่ในระบบภาษีแล้วแต่ยังแสดงรายได้ไม่ ครบถ้วนให้แสดงรายได้ให้ครบถ้วน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษี โดยไม่ได้มุ่งเน้นที่จะเก็บภาษีจากผู้ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งเป็นการเฉพาะแต่อย่างใด

ข้อมูล : ตรวจภาษี ,

สรรพากร
สรรพากร
การโอนเงิน
โอนเงิน
โอนเงิน
ตรวจสอบการยื่นภาษี
มีระบบการเชื่อมต่อกับเครื่องมือ
220474
ความหมายของเลขประจำวันจำแนก
217061
บทสวดมนต์10นาที
ส่วนประกอบของกล่องดินสอ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 156092: 1325