น้ำท่วม อุทกภัย

อุทกภัยผลกระทบมีลักษณะเกิดจากสาเหตุที่ไม่มีใครพูดถึง 2 อุทกภัย?

Click to rate this post!
[Total: 224 Average: 5]

อุทกภัย

อุทกภัย คือ ภัยหรืออันตรายที่เกิดจากน้ำท่วม หรือ อันตรายอันเกิดจากสภาวะที่น้้าไหลเอ่อล้นฝั่งแม่น้ำลำธาร  หรือทางน้้า เข้าท่วมพื้นที่ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ได้อยู่ใต้ระดับน้ำ หรือเกิดจากการสะสมน้ำบนพื้นที่ซึ่งระบายออกไม่ทันท้าให้พ้นที่นั้นปกคลุมไปด้วยน้ำ โดยทั่วไปแล้วอุทกภัยมักเกิดจากน้ำท่วม

อุทกภัย ที่เกิดจากฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง
อุทกภัย ที่เกิดจากฝนตกหนัก น้ำท่วมขัง

อุทกภัยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ

1.น้ำท่วมขัง/น้ำล้นตลิ่ง

เป็นสภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเนื่องจากระบบระบายน้ำไม่มีประสิทธิภาพ มักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ๆ มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเกิดจากฝนตกหนัก ณ บริเวณนั้นๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือเกิดจากสภาวะน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขังส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณท้ายน้ำและมีลักษณะแผ่เป็นบริเวณกว้างเนื่องจากไม่สามารถระบายได้ทัน ความเสียหายจะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนใหญ่ ส้าหรับความเสียหายอื่นๆ มีไม่มากนักเพราะสามารถเคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย

น้ำท่วมฉับพลัน มักเกิดขึ้นเป้นพื้นที่กว้าง
น้ำท่วมฉับพลัน มักเกิดขึ้นเป้นพื้นที่กว้าง

2.น้ำท่วมฉับพลัน

เป็นภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในพื้นที่ เนื่องจากฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่ซึ่งมีความชันมาก และมีคุณสมบัติในการกักเก็บหรือการต้านน้ำน้อย หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ และมักเกิดขึ้นในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซึ่งอาจจะไม่มีฝนตกหนักในบริเวณนั้นมาก่อนเลยแต่มีฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้ำที่อยู่ห่างออกไป เนื่องจากน้ำท่วมฉับพลันมีความรุนแรงและเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็วมากโอกาสที่จะป้องกันและหลบหนีจึงมีน้อย ดังนั้นความเสียหายจากน้ำท่วมฉับพลันจึงมีมากทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน สาเหตุของการเกิดอุทกภัยจากธรรมชาติ อุทกภัยคือ ภัยและอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน มีสาเหตุมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องมาจาก

  1. หย่อมความกดอากาศต่ำ
  2. พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น , พายุโซนร้อน , พายุใต้ฝุ่น
  3. ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ
  4. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
  5. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
  6. เขื่อนพัง
สภาวะน้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง
สภาวะน้ำท่วมขัง น้ำล้นตลิ่ง
อุทกภัยที่เกิดจาก การพังทลายของเขื่อน
อุทกภัยที่เกิดจาก การพังทลายของเขื่อน

สาเหตุของการเกิดอุทกภัยจากการกระทำของมนุษย์ มีดังนี้

  1. การตัดไม้ท้าลายป่า
  2. การขยายเขตเมืองลุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ลุ่มต่ำ (Flood plain)
  3. การก่อสร้างโครงสร้างขวางทางน้ำธรรมชาติ
  4. ออกแบบทางระบายน้ำของถนนไม่เพียงพอ
  5. การบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดี
สาเหตุการเกิดอุทกภัย จากการตัดไม้ทำลายป่า
สาเหตุการเกิดอุทกภัย จากการตัดไม้ทำลายป่า
สาเหตุการเกิดอุทกภัย จากการขยะในทางระบายน้ำ
สาเหตุการเกิดอุทกภัย จากการขยะในทางระบายน้ำ

เมื่อเกิดอุทกภัยอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

สามารถแบ่งอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย ดังนี้

  1. น้ำท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้้าที่ไกลเชี่ยวพังทลายได้ คนและสัตว์พาหนะและสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ำตาย
  2. เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดเป็นช่วง ๆ โดยความแรงของกระแสน้ำ ถนน และสะพานอาจจะถูกกระแสน้ำพัดให้พังทลายได้ สินค้าพัสดุอยู่ระหว่างการขนส่งจะได้รับความเสียหายมาก
  3. ระบบสาธารณูปโภค จะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ โทรเลข ไฟฟ้า และประปา ฯลฯ
  4. พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ทุกประการที่กำลังผลิดอกออกผล อาจถูกน้ำท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ วัว ควาย สัตว์เลี้ยง ตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุน หรือมีไว้เพื่อท้าพันธุ์จะได้รับความเสียหาย ความเสียหายทางอ้อม จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไป เกิดโรคระบาด สุขภาพจิตเสื่อม และสูญเสียความปลอดภัยเป็นต้น
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน

วิธีปฏิบัติในการป้องกันตนเองและบรรเทาจากอุทกภัย กระทำได้อย่างไรบ้าง

  1. การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำหนดผังเมือง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวเมือง ไม่ให้กีดขวางทางไหลของน้ำ กำหนดการใช้ที่ดินบริเวณพื้นที่น้ำท่วม ให้เป็นพื้นที่ราบลุ่มรับน้ำ เพื่อเป็นการหน่วงหรือชะลอการเกิดน้ำท่วม
  2. การออกแบบสิ่งก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ให้มีความสูงเหนือระดับที่น้ำเคยท่วมแล้ว เช่น บ้านเรือนที่ยกพื้นสูงแบบไทย ๆ เป็นต้น
  3. การเคลื่อนย้ายวัสดุจากที่ที่จะได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากน้ำท่วม ให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัยหรือในที่สูง
  4. การนำถุงทรายมาทำเขื่อน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
  5. การพยากรณ์และการเตรียมภัยน้ำท่วม เพื่อให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า เพื่อเตรียม ป้องกัน
  6. การสร้างเขื่อน ฝาย ท้านบ และถนน เพื่อเป็นการกักเก็บน้้าหรือเป็นการกั้นทางเดิน ของน้ำ เป็นต้น
สร้างกระสอบทรายกั้นน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย
สร้างกระสอบทรายกั้นน้ำเมื่อเกิดอุทกภัย

การลดความเสียหายจากอุทกภัย

  1. ติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาและประกาศเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เมื่อศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติประกาศเตือนให้อพยพ ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูงหรืออาคารที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง เพราะการอยู่ที่ราบ น้ำป่าที่หลากจากภูเขาหรือที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำรุนแรงจะรวดเร็วมาก
  2. ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลายๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนย้ายสิ่งของและสัตว์เลี้ยงไว้ที่สูง
  3. ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม
  4. มีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน เพราะเมื่อมีกระแสน้ำหลาก จะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ พืชไร่ และระวังกระแสน้ำพัดพาไป
  5. อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ เพราะกระแสน้ำหลากอาจมีความรุนแรง อาจทำให้เกิดอุบัติภัยอื่นๆ อีกได้
  6. หลังจากน้ำท่วมจะมีขัง จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค ควรสะอาด ต้มสุกเสียก่อน
เคลื่อนย้ายเอกสาร สิ่งของสำคัญของมีค่าไปไว้ในสถานที่ปลอดภัย
เคลื่อนย้ายเอกสาร สิ่งของสำคัญของมีค่าไปไว้ในสถานที่ปลอดภัย

ขณะเกิดอุทกภัยควรทำอย่างไร

ควรตั้งสติให้มั่นคง อย่าตื่นกลัวหรือตกใจ ควรเตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ด้วยความสุขุม รอบคอบ และควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  1. ตัดสะพานไฟ และปิดแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย
  2. จงอยู่ในอาคารที่แข็งแรง และอยู่ในที่สูงพ้นระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
  3. จงท้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
  4. ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก
  5. ไม่ควรเล่นน้ำหรือว่ายน้้าเล่นในขณะน้ำท่วม
  6. ระวังสัตว์มีพิษที่หนีน้้าท่วมขึ้นมาอยู่บนบ้าน และหลังคาเรือนกัดต่อย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ เป็นต้น
  7. ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตลมฟ้าอากาศ และติดตามค้าเตือนเกี่ยวกับ ลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา
  8. เตรียมพร้อมที่จะอพยพไปในที่ปลอดภัยเมื่อสถานการณ์จวนตัว หรือปฏิบัติตามค้าแนะน้าของทางราชการ
  9. เมื่อจวนตัวให้ค้านึงถึงความปลอดภัยของชีวิตมากกว่าห่วงทรัพย์สมบัติ
หลังเกิดอุทกถัยเส้นทางคมนาคมและการขนส่งถูกตัดขาด
หลังเกิดอุทกถัยเส้นทางคมนาคมและการขนส่งถูกตัดขาด

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอุทกภัย

ก่อนเกิดภัย

  • ศึกษาวิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์น้ำท่วม และเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในสถานการณ์น้ำท่วม ได้แก่ น้ำดื่ม ยารักษาโรค อาหารกระป๋อง วิทยุ ไฟฉายและถ่ายไฟฉาย
  • เตรียมแผนฉุกเฉินในครอบครัว ควรเตรียมวางแผนอพยพจากบ้าน ที่ทำงาน หรือโรงเรียน ไปยังสถานที่อพยพหรือสถานที่ปลอดภัยจากน้ำท่วม โดยกำหนดจุดนัดหมายไว้ล่วงหน้าร่วมกัน
  • เคลื่อนย้ายเอกสาร สิ่งของสำคัญ ของมีค่า ไปไว้ในสถานที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันความเสียหายจากน้ำท่วม
  • พิจารณาการทำประกันภัยน้ำท่วม เลือกประกันภัยที่ครอบคลุมความเสียหายจากภัยน้ำท่วม เพื่อปกป้องทรัพย์สินของท่าน

ระหว่างเกิดภัย

  • ออกจากพื้นที่ที่อาจเกิดน้ำท่วมได้ เช่น ที่ต่ำ หุบเขา อพยพไปยังพื้นที่สูง
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีน้ำท่วมอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อมีน้ำไหลเชี่ยว ไม่ข้ามแม่น้ำลำธาร กระแสน้ำไหลเร็วสามารถทำให้เราล้มได้แม้จะมีความลึกแค่ระดับหน้าแข้งก็ตาม
  • ไม่ขับขี่ยานพาหนะฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก น้ำไหลเร็วและแรงความลึกแค่ระดับต้นขาก็สามารถพัดพารถกระบะยกสูงไปตามกระแสน้ำได้
  • ไม่เข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ ควรอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ อย่างน้อย ๒ เมตร
  • ติดตามเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด เช่น ติดตามคำเตือนเกี่ยวกับลักษณะอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และประกาศเตือนภัยจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

หลังเกิดภัย

  • ตรวจสอบความเสียหายและความปลอดภัยของตัวบ้านก่อนที่จะกลับเข้าไปในบ้าน เช่น ระบบไฟฟ้า ท่อประปา แก๊ซ รวมถึงสัตว์มีพิษที่อาจเขามาอาศัยในบ้าน
  • ทิ้งสิ่งของที่มีราขึ้น กำจัดสิ่งของที่เปียกในหัวข้อดังต่อไปนี้ทันทีที่กลับเข้าบ้าน ประกอบด้วย พรมเปียก เฟอนิเจอร์ ที่นอน และสิ่งของที่เก็บความชื้นทำให้เกิดเชื้อราได้ภายใน ๒๔ ถึง ๔๘ ชั่วโมง
  • พยายามทำให้บ้านแห้งสนิท เช่น ใช้เครื่องดูดความชื้น(ถ้ามี) ใช้เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมช่วยลดความชื้นภายในห้องหรือตัวอาคาร
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อสิ่งของทุกอย่างที่ถูกน้ำท่วม อาหารที่ถูกน้ำท่วมให้นำไปทิ้งทั้งหมด ห้ามนำไปรับประทาน ถ้าท่านใช้น้ำประปาเพื่อการบริโภคให้นำไปต้มก่อน (ในกรณีที่ประกาศว่าน้ำประปามีการปนเปื้อน)
  • วางแผนก่อนซ่อมแซมบ้าน ก่อนที่คุณจะทำความสะอาดและซ่อมแซมบ้าน คุณควรประเมินความเสียหาย โดยทำตามขั้นตอนดังนี้ก่อน ประกอบด้วย ตรวจสอบและถ่ายรูปบริเวณบ้านที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เรียกบริษัทประกันภัยและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อประเมินความเสียหาย วางแผนการซ่อมแซมสิ่งใดจำเป็นต้องทำก่อน-หลัง เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
ควรเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เมื่อเกิดน้ำท่วม
ควรเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่เมื่อเกิดน้ำท่วม และไม่ควรน้ำเล่นท่วมขัง

ผลกระทบที่เกิดจากอุทกภัย มีอะไรบ้าง

  1. ปัญหาน้ำเน่าเหม็นในพื้นที่ๆน้ำขัง
  2. ปัญหาน้ำทะเลจืดทำให้ปลาเกยตื้นมาตาย
  3. ปัญหาขยะซึ่งทำให้หลังน้ำลดลงมีขยะที่ต้องทิ้งจำนวนมาก
  4. ปัญหาผู้คนตกงานเนื่องจากโรงงานบางแห่งน้ำท่วมขังทำให้ทำงานไม่ได้ปัญหาเศรษฐกิจย่ำแย่เนื่องจากสินค้าบางอย่างไม่สามารถผลิตออกมาได้ทำให้เสียดุลการค้า

แนวทางในการป้องกันน้ำป่าไหลหลากอย่างยั่งยืนได้อย่างไร

ตกแต่งดินตามลาดตลิ่งให้เรียบมิให้เป็นอุปสรรคต่อทางเดินของน้ำ กำจัดวัชพืช ผักตบชวา และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหลให้ออกไปจนหมดสิ้น หากลำน้ำคดโค้งมาก ให้หาแนวทางขุดคลองใหม่เป็นลำน้ำสายตรงให้น้ำไหลสะดวก

ที่มา:

¹http://www.kudruaekham.go.th/files/dynamiccontent/file-71028-14973389922009963599.pdf
²http://ndwc.disaster.go.th/cmsdetail.ndwc-9.283/26672/menu_7525/4214.1/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81+%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A1

221064
221377
ประเภทของซอฟต์แวร์
221016
ปก ฝันว่าเก็บผลไม้
บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 168664: 1299