ข้อ ดี เสีย การออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิความลับการลงทุน 3 ข้อ?
การออกหุ้นกู้
หุ้นกู้และการออกหุ้นกู้และการลงทุนซื้อหุ้นกู้ในทางบัญชี
การดำเนินธุรกิจของบริษัทจำกัดนั้น บางครั้งบริษัทอาจมีความขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อขยายกิจการ เช่นเปิดสาขา สร้างโรงงานใหม่ หรืออื่นๆอีกหลายอย่าง ถ้าเงินทุนที่ต้องการนั้นเป็นจำนวนไม่มากและมีระยะเวลาในการใช้คืนเงินกู้สั้นก็อาจกู้ยืมเงินจากเอกชน หรือธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ แต่ถ้าเงินทุนที่ต้องการมีจำนวนมากและมีกำหนดการใช้คืนเงินกู้เป็นเวลานาน เอกชนหรือธนาคารพาณิชย์แห่งใดแห่งหนึ่งอาจจะไม่สามารถให้กู้ยืมได้ บริษัทจึงต้องหาแหล่งกู้ยืมอื่นโดยคำนึงว่าจะต้องได้รับประโยชน์จากเงินทุนนั้นมากที่สุดและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด การออกหุ้นกู้ (Bonds Payable) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่บริษัทนิยมใช้
หุ้นกู้ คือคำมั่นสัญญาของบริษัทเป็นลายลักษณ์อักษรที่จะชำระเงินต้น ณ วันที่กำหนดและจะจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ หุ้นกู้มีลักษณะคล้ายกับตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) โดยปกติราคาตามมูลค่าหุ้นกู้ (Par Value มูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย, Face Value มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กำหนดระบุไว้บนใบตราสาร, Principle หรือ Maturity Value) จะเป็นราคาที่ผู้กู้ยืมชำระคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้นจะกำหนดเป็นร้อยละของราคามูลค่าหุ้นกู้ และมีกำหนดระยะเวลาจ่ายทุก 6 เดือน
วิธีการปฏิบัติในการ ออกหุ้นกู้
บริษัทจะกู้เงินโดยการ ออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชนได้ โดยที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด ใบหุ้นกู้อย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้
- ชื่อบริษัท
- เลขทะเบียนบริษัทและวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท
- จำนวนทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
- จำนวนเงินที่ออกหุ้นกู้
- วัน เดือน ปีที่จดทะเบียนการ ออกหุ้นกู้
- ชื่อผู้ถือหุ้นกู้หรือคำแถลงว่าได้ออกหุ้นกู้นั้นให้แก่ผู้ถือ
- ชนิด มูลค่า เลขที่ใบหุ้นกู้ จำนวนหุ้นกู้ และจำนวนเงิน อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลาการกู้
- วิธีการ เวลา และสถานที่สำหรับการชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ และการไถ่ถอน หุ้นกู้
- สิทธิของผู้ถือหุ้นกู้ในกรณีที่บริษัทมีหนี้ก่อนการ ออกหุ้นกู้
- วิธีการแปลงหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ
- ลายมือชื่อกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคน
- วัน เดือน ปีที่ออกหุ้น
หนังสือชี้ชวนในการ ออกหุ้นกู้
หนังสือชี้ชวนให้ประชาชนซื้อหุ้นกู้จะต้องมีรายการดังต่อไปนี้
- ทุนจดทะเบียนทุนชำระแล้ว
- ทรัพย์สินของบริษัทที่นำไปตราไว้เป็นหลักประกัน
- จำนวนเงินทั้งสิ้นที่บริษัทยังเป็นหนี้ในการ ออกหุ้นกู้ครั้งก่อน
- จำนวนเงินที่ออกหุ้นกู้ครั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย และระยะเวลากู้
- จำนวนหุ้นกู้ที่เสนอขายทั้งสิ้น
- วิธีการ เวลา และสถานที่สำหรับการชำระค่าหุ้นกู้
- เหตุผลในการ ออกหุ้นกู้
- วิธีการแปลงหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญ
- ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด สัญชาติ และที่อยู่ของกรรมการทุกคน
- รายการอื่นตามที่กำหนด ชื่อบริษัท วันทำหนังสือชี้ชวน ระยะเวลาจองหุ้นกู้ ค่านายหน้าอื่นๆ
ข้อดีและข้อเสียในการ ออกหุ้นกู้
ในการจัดหาเงินทุนจำนวนมากและมีระยะเวลาการใช้คืนนาน อาจจะทำได้หลายวิธี เช่น การออกหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิเพิ่มเติมหรือการ ออกหุ้นกู้ บริษัทจะต้องพิจารณาตัดสินใจเลือกแหล่งเงินทุน โดยพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของการออกหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และหุ้นกู้
ข้อดี
- ผู้ถือหุ้นมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทไม่ใช่ผู้ถือหุ้น ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิออกเสียงและไม่มีสิทธิเข้าควยคุมการดำเนินกิจการของบริษัท ผู้ถือหุ้นสามัญจะไม่เสียอำนาจในการควบคุมแต่อย่างใด
- ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นผู้ใดได้รับประโยชน์จากเงินกู้ยืมนั้นในรูปของกำไรสุทธิเนื่องจากผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี และบริษัทเงินทุนที่ได้จากการ ออกหุ้นกู้ไปลงทุนได้ผลตอบแทน 15% ต่อปี
- ดอกเบี้ยหุ้นกู้เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งนำไปหักจากรายได้ ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์ทางด้านภาษีเงินได้ ในขณะที่เงินปันผลที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นจะถือเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้
ข้อเสีย
- ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถชำระเงินต้นหรือผิดนัดการจ่ายดอกเบี้ยผู้ถือหุ้นกู้มีสิทธิในฐานะเจ้าหนี้ที่จะบังคับให้บริษัทปฏิบัติตามสัญญา หรือฟ้องล้มละลาย ซึ่งถ้าเป็นบริษัทล้มละลายแล้วเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนจากค่าขายสินทรัพย์ในกองล้มละลายก่อนที่จะคืนให้ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและผู้ถือหุ้นสามัญ
- การกู้ยืมโดยการ ออกหุ้นกู้ทำให้บริษัทมีภาระเกี่ยวกับดอกเบี้ยซึ่งจะต้องชำระตามกำหนดไม่ว่าบริษัทจะมีรายได้เพียงพอหรือไม่ ในกรณีที่บริษัทมีรายได้ต่ำบริษัทอาจจะไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยให้ทันตามกำหนดซึ่งอาจจะมีผลเสียหายต่อบริษัทจนถึงล้มละลายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำนวนเงินกู้ยืมมากและอัตราดอกเบี้ยสูงเกินกว่าผลตอบแทนที่บริษัทจะได้รับจากการนำเงินที่ได้จากกู้ยืมไปลงทุน
- ผู้ถือหุ้นกู้อาจจะระบุไว้ในสัญญาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการจ่ายเงินปันผลหรือกำหนดอัตราส่วนทุนหมุนเวียนอย่างต่ำ หรือระบุให้บริษัทกันเงินส่วนหนึ่งเป็นเงินทุนสะสมเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้ทุกปี เป็นต้น ซึ่งบริษัทจะต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 158141: 444