กฎหมายแรงงาน

พรบ คุ้มครองกฎหมายแรงงานเงินชดเชยเลิกจ้างรู้ไว้ก่อนจบ 4 พรบ?

Click to rate this post!
[Total: 177 Average: 5]

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงาน คือ

กฎหมายแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้าง เพื่อให้การจ้างงาน และการใช้งาน การประกอบกิจการ และ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างเป็นไปโดยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม

กฎหมายแรงงาน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คือ

เป็นประกาศพระราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 เมษายน 2562 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 5 พฤษภาคม 2562

กฎหมายแรงงานมีการปรับปรุงแก้ไขให้ทันต่อการคุ้มครองลูกจ้างอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดคล้องกับสากลและลดความได้เปรียบเสียเปรียบแก่ลูกจ้างและนายจ้าง โดยการประการแก้ไข้นั้น จะประกาศเป็นพระราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้สามรถบังคับใช้กฎหมายได้เร็วมากขึ้น ในปัจจุบันที่ใช้อยู่

เงินชดเชยเลิกจ้างเป็นประกาศพระราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 เมษายน 2562 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 5 พฤษภาคม 2562 โดยใช้ควบคู่ไปกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎหมายแรงงานยังสามารถแบ่งย่อยออกได้เยอะมากมายหลากหลายอาชีพ บางครั้งมีการออกกฎกระทรวง หรือ พรบคุ้มครองอาชีพเฉพาะ เพื่อให้ครอบคลุมการจ้างงานในแต่ละเภท เช่น

  1. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานประมง
  2. พระราชบัญญัติแรงงานทะเล
  3. พระราชบัญญัติการรับงานกลับไปทำที่บ้าน
  4. และกฎกระทรวงหลายๆฉบับๆ อีกมากมาย เป็นต้น

ในส่วนนี้หากประเภทอาชีพ หรืองานที่ทำอยู่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง อาจศึกษาเพิ่มเติมคราวๆ ว่ามีการคุ้มครองงานที่เราทำอยู่หรือไม่ ในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน”

ขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน สรุปได้คราว ๆ ดังนี้

  1. ตามหลักทั่วไปกฎหมายคุ้มครองแรงงานใช้บังคับกับนายจ้าง และลูกจ้างที่เป็นการจ้างงานของ เอกชนทุกกรณี ไม่ว่านายจ้างนั้นจะประกอบกิจการประเภทใด หรือมีลูกจ้างจำนวนเท่าใดก็ตาม
  2. กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติยกเว้น จะไม่ใช้บังคับกับราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ
  3. กฎหมายคุ้มครองแรงงานได้บัญญัติให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจในการ ออกกฎกระทรวง ยกเว้นไม่ใช้บังคับกฎหมาย ฯ ทั้งหมดหรือบางส่วน แก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ ได้ ซึ่งปัจจุบันได้แก่
    • นายจ้างซึ่งประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้เฉพาะใน ส่วนที่เกี่ยวกับครูใหญ่หรือครู
    • นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
    • นายจ้างซึ่งลูกจ้างทำงานที่ไม่ได้แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ
    • งานเกษตรกรรม
    • งานที่รับไปทำที่บ้าน
  4. ในบางกรณีอาจมีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยยกเว้นไว้ในกฎหมาย เฉพาะที่จัดตั้งหน่วยงานนั้น

กฎหมายแรงงาน 2562

วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน 2562

วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน 2562

ประเด็นสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข

  • กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนให้ลูกจ้าง นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี, เพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้าง หากลูกจ้างทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน
  • กรณีพนักงานลากิจสามารถลาได้อย่างน้อย 3 วันต่อปี, พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน และให้สิทธิเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงมากขึ้น
  • กรณีย้ายสถานประกอบการไปที่อื่น นายจ้างต้องมีการประกาศให้ชัดเจน ส่วนลูกจ้างหากไม่ต้องการย้ายตามก็สามารถแจ้งความประสงค์ได้ ภายในเวลา 30 วัน ก่อนการย้าย

พรบ คุ้มครองแรงงาน

พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2562

พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2562

พระราชบัญญัติคุ้มครองบแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 ที่ปรับแก้ไข มีดังนี้

1 นายจ้างผิดนัดจ่ายเงิน ไม่จ่ายชำระเงิน

ในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเงิน ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ประเภทเงินที่นายจ้างผิดนัดไม่จ่ายชำระดังนี้

  • เงินประกัน
  • ค่าจ้างแทนการบอกกล่าว
  • ค่าจ้าง เงินค่าล่วงเวลา
  • เงินค่าชดเชยพิเศษ
  • เงินค่าชดเชย
  • เงินที่จ่ายในการหยุดกิจการชั่วคราว

2 การเปลี่ยนแปลงนายจ้าง

  • กรณีนายจ้างเปลี่ยนนิติบุคคล
  • กรณีบริษัทจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
  • กรณีโอนนิติบุคคลให้นิติบุคคลอื่น
  • กรณีควบรวมกิจการ

ทั้งนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากมีผลทำให้ลูกจ้าง ไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าวต้อง ได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่ลูกจ้างเคยมีอยู่จากนายจ้างเดิมมีสิทธิต่อไป โดยนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างคนนั้นทุกประการ

” หากลูกจ้างไม่ยินยอม และนายจ้างเดิมเลิกกิจการ หรือสินสภาพ ให้ถือว่า เป็นการเลิกจ้าง โดยนายจ้างเดิมต้องจ่ายค่าชดเชยสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ลูกจ้าง ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด “

3 ค่าจ่ายแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

การจ่ายชำระค่าจ้างแทนการบอกกล่าวเป็นการประปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น โดยประเด็นหลัก ๆ แบ่งได้ 3 ประเด็น ดังนี้

  1. กำหนดให้นายจ้างบอกเลิกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ต้องจ่ายเงินเท่ากับค้าจ้างที่ที่ลูกจ้างควรได้รับ นับแต่วันที่ออกจากงานจนถึงคราวจ่ายเงินครั้งถัดไป
  2. กำหนดให้นายจ่ายจ่ายเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างควรได้รับทันที่นับแต่วันที่ออกจากงาน
  3. กรณีไม่จ่ายจะมีโทษทางอาญาแก่นายจ้าง

4 สิทธิการลา

วันลากิจตามกฎหมายแรงงาน 2562

วันลากิจตามกฎหมายแรงงาน 2562

ลากิจ ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และต้องจ่ายค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตามปกติ เช่น

  • การไปทำบัตรประชาชน ทำใบขับขี่
  • งานศพสมาชิกในครอบครัว
  • งานแต่งของตัวเอง
  • งานรับปริญญาของตนเอง
  • ลาไปฏิบัติธรรมทางศาสนา เป็นต้น

ทั้งนี้ นายจ้างอาจกำหนดแนวทางไว้ หรือตกลงกับลูกจ้างก็ได้

กฎหมายแรงงานลากิจ
ตามนิยามที่กฎหมายให้สิทธิ หมายถึง ต้องมีเหตุจำเป็นจริง ๆ จึงจะขอลาได้ คล้ายการลาป่วย คือ ต้องป่วยถึงจะลาได้

กิจธุระอันจำเป็นที่ลูกจ้างจะใช้สิทธิลามีอะไรบ้าง บางครั้งขึ้นอยู่กับนายจ้าง ลูกจ้างจะตกลงกัน หรือตามที่ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับฯ รวมทั้งต้องพิจารณาการขอลากิจของลูกจ้างเป็นกรณี ๆ ไป แม้กิจธุระนั้นจะมิได้ระบุไว้ในระเบียบข้อบังคับของนายจ้างก็ตาม เพราะกฎหมายได้รับรองคุ้มครองให้ลูกจ้างในการใช้สิทธิลาอยู่แล้วหากมีกิจธุระอันจำเป็นจริง ๆ

5 ความเท่าเทียมกันของเพศ ชาย และหญิง

 ให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานอันมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน หรืองานที่มีค่าเท่าเทียมกัน ในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างนั้นจะเป็นชายหรือหญิง

6 การกำหนดอัตราค่าจ้าง

  • กรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่น ที่ไม่เกินหนึ่งเดือน หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ให้จ่ายไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้าง
  • ในกรณีที่มีการคำนวณค่าจ้างนอกเหนือจากนี้ ให้จ่ายตามกำหนดเวลาที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

กำหนดอัตราค่าชดเชย หลังเลิกจ้าง!!

ค่าชดเชยใหม่ 28
ตารางเปรียบเทียบอัตราค่าชดเชยใหม่ และค่าชดเชยเก่า

การย้ายสถานประกอบการของนายจ้าง

หากลูกจ้างคนใดเห็นว่าการย้ายสถานประกอบกิจการดังกล่าวมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัวของลูกจ้างคนนั้น และไม่ประสงค์จะไปทำงาน ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่ ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ปิดประกาศ หรือนับตั้งแต่วันที่ย้ายสถานประกอบกิจการในกรณีที่นายจ้างมิได้ปิดประกาศ และให้ถือว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงในวันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับ

“ นายจ้างย้ายสถานที่ประกอบการ ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับตามมาตรา 118

นายจ้างต้องติดประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนย้ายสถานประกอบการ หากไม่ประกาศ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้ลูกจ้างจำนวน 30 วัน

กฎหมายแรงงาน

กฎหมายแรงงาน

หากลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ สามารถแจ้งให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือภายใน 30 วันที่ประกาศ โดยจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยพิเศษสูงสุด 400 วัน ตามหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้าง

พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ .pdf

ปิดกิจการ
ทรงกระบอกมีกี่มุมของวิถี
บทสวดพระแม่ลักษมี
220332
วิธีการทางประวัติศาสตร์
บริษัทมหาชนจำกัด
ในบทสวดมนต์สี่เทพสังฆราชของพระพุทธเจ้า
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 149805: 1181