บุคลิกภาพ

ทฤษฎีบุคลิกภาพ จิตวิทยาองค์ประกอบของทางโครงสร้างของ 7 ทฤษฎี?

ทฤษฏีบุคลิกภาพ

ทฤษฏีบุคลิกภาพ (Theories of Personalities)

ทฤษฏีบุคลิกภาพแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theories)

โครงสร้างบุคลิกภาพ (Id, Ego and Super Ego)

ซิกมัน ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาแบบจิตวิเคราะห์ คิดค้นทฤษฏีจิตวิเคราะห์กล่าวว่า บุคลิกภาพประกอบด้วย จิตของมนุษย์มีโครงสร้างของจิตเป็น 3 ส่วน Id, Ego and Super Ego เป็นพลังผลักดันให้บุคคลมีพฤติกรรมต่าง ๆ กัน จนกลายเป็นลักษณะของบุคคลจะทำงานสัมพันธ์กันไม่แยกจากกันอย่างเด็ดขาด

อิด (Id)

หมายความถึง ความปรารถนาเป็นต้นกำลัง และแหล่งรวมพลังงาน ที่มีพลังต่อบุคลิกภาพ Id ประกอบด้วยทุกสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพันธุกรรมดั้งเดิม แรงกระตุ้นที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด จัดเป็นสัญชาติญาณขั้นพื้นฐานของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้รวมถึงความต้องการของร่างกาย ความปรารถนาทางเพศ และแรงกระตุ้นความก้าวร้าว ตามทรรศนะของฟรอยด์

Id เป็นระดับจิตใต้สำนึกและทำงานตามหลักการแห่งความสุข (Principle of Pleasure) คือ มีความปรารถนาที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดเพื่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งหมด Id แสวงหาแนวทางเพื่อให้มนุษย์ได้รับความสุข หลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยและความเครียดและทำให้เกิดความยินดี ตามที่ร่างกายของแต่ละบุคคลที่มีความต้องการในทันที ทันใด Id ประกอบด้วยความต้องการทางชีววิทยา และสัญชาติญาณ Id ไม่มีความสามารถที่จะคิดหรือศึกษา ไม่นับว่าเป็นตรรกวิทยา และไม่สามารถชี้ว่าถูกหรือผิด ดังนั้น Id ทำงานในแนวทางที่ไม่มีเหตุผลและไม่มีศีลธรรม ฟรอยด์ มีความเชื่อว่า บุคลิกภาพของเด็กทารกขึ้นอยู่กับ Id เกือบทั้งหมด จนกระทั่งเด็กมีการเจริญเติบโต ถึงอายุ 6 – 7 เดือน เมื่อร่างกายมีความต้องการทางชีววิทยาเกิดขึ้นก็จะเกิดความเครียดขึ้นใน Id ซึ่งต้องมีการพยายามผ่อนคลาย แนวโน้มของ Id พยายามที่จะลดความเครียดลงในทันทีทันใด เรียกว่าหลักการแห่งความสุข มี 2 แนวทาง ซึ่งอิดสามารถปลดปล่อยความเครียดโดยตนเอง คือ

แนวทางที่หนึ่ง โดยผ่านการปฏิบัติการสะท้อนอย่างง่าย เช่น การจาม ซึ่งบางครั้งก็สามารถลดความเครียดลงได้

แนวทางที่สอง ใช้ความปรารถนาที่ต้องการความสำเร็จ โดยผ่านความปรารถนาที่ต้องการความสำเร็จ Id จะทำให้เกิดจินตนาการทางความคิดเป็นรูปวัตถุ ซึ่งจะทำให้เกิดความพอใจ ต่อความต้องการนั้น และจะเป็นการช่วยลดความเครียดได้บ้าง

ตามทรรศนะของฟรอยด์ ความฝันก็เป็นแนวทางอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการแสดงออกของความปรารถนาที่ต้องการความสำเร็จ และจะทำให้เกิดเป็นจิตสำนึก (Conscious Mind) ฟรอยด์ยืนยันว่าความฝันเป็นสิ่งที่มีความหมาย นั้นคือ คนที่นอนหลับมีความสามารถจำเรื่องที่ตนปรารถนาจากจิตใต้สำนึกที่ปรากฏในความฝันได้ก็จะมีความรู้สึกเกิดความกังวลใจ ในกรณีที่ฝันร้าย และบางทีก็ต้องตื่นขึ้นในเวลากลางคืน ดังนั้นความฝันที่เป็นความจริงก็จะถูกปิดบังไว้ ฟรอยด์พบว่า บางคนรู้จักใช้สัญลักษณ์ที่คล้ายกันสำหรับความฝันทีถูกปกปิดไว้นั้นคือ บุคคลจะต้องมีความเข้าใจถึงสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งใช้แทนความฝันก่อนจึงจะสามารถแปลความหมายหรือทำนายความฝันที่เกิดจากจิตใต้สำนึกได้

อีโก้ (Ego)

 เป็นระดับจิตสำนึกบางส่วน ทำหน้าที่ตามหลักการแห่งความจริง (Reality Principle) และเชื่อแน่ว่า มีวัตถุอย่างหนึ่งที่มีความเหมาะสมหรือเป็นสภาพการณ์ที่มีความเป็นไปได้ เพื่อทำให้เกิดความพอใจต่อความต้องการของ Id ถ้าบุคคลหนึ่งมีความหิว Ego จะช่วยทำให้แต่ละบุคคลรู้จักแสวงหาอาหารมาได้อย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้น จากความหิวมาจาก Id ถ้าปราศจาก Ego อิดจะต้องแสวงหาอาหาร หรือวัตถุอื่นเพื่อตอบสนองความพอใจต่อความต้องการนั้น

Ego เป็นส่วนที่มีความสำคัญของบุคลิกภาพ ทำหน้าที่ตัดสินให้สัญชาติญาณเกิดความรู้สึกพอใจเมื่อใด และอย่างไร ไม่เหมือนกับ Id คือ Ego มีขีดความสามารถใช้สำหรับพิจารณาตัดสินใจและอาศัยหลักการและความมีเหตุผล และสามารถระลึกนึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เป็นส่วนช่วยชี้นำพฤติกรรมให้ได้รับความสุขสูงสุด และขจัดความเจ็บปวดให้มีน้อยที่สุด โดยรู้จักเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุดเพื่อทำให้เกิดความพอใจต่อความต้องการของ Id เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในระยะยาว ตัวอย่างเช่น Ego อาจจะไม่ยอมให้คนงานคนหนึ่งแสดงความก้าวร้าวต่อนายจ้างโดยตรง (ซึ่ง Id มีความรักและชอบที่จะกระทำเช่นนั้น) เพราะว่าเป็นที่ทราบดีแล้วว่าการกระทำเช่นนี้ จะทำให้นายจ้างกระทำการนอกเหนืออำนาจ และจะมีการแทรกแซงต่อการพิจารณาแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งในอนาคตได้

ซูเปอร์อีโก (Super ego)

เป็นระดับจิตที่อยู่ในจิตสำนึกเป็นบางส่วน มีหน้าที่ควบคุมการ แสวงหาความสุขของ Id จากแรงกระตุ้น Super ego ยอมให้ Id แสวงหาความสุขภายใต้เงื่อนไขที่แน่นอน Super ego เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรม มโนธรรม สามารถจะบอกได้ว่า การกระทำใดถูกหรือผิดและจะยอมให้แรงกระตุ้นของ Id ได้รับการตอบสนองเป็นความสุข ก็เฉพาะการกระทำที่ถูกต้องทางด้านศีลธรรม มโนธรรม ไม่เหมือนกับ Ego ที่ยินยอมให้ Id กระทำได้ เมื่อเป็นสิ่งที่ ปลอดภัยหรือมีความเป็นไปได้ Super ego เป็นสิ่งที่เกิดจากการมีประสบการณ์ โดยได้รับการถ่ายทอด ฝึกอบรม มาจากพ่อแม่ จากการสอนทางด้านศีลธรรมของสถานศึกษา (Norms) ของสังคมที่เป็นมาตรฐานสำรับยึดถือและปฏิบัติของบุคคลในสังคม

ระบบจิตมนุษย์ทั้ง 3 ระดับนี้ ในการทำงานตามหน้าที่ย่อมจะต้องมีการต่อสู้ มีการยอมรับ มีการปรับตัวกัน มีความขัดแย้งกัน เป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ถ้าส่วนของจิตที่เป็น Id Ego Super Ego ส่วนใดเป็นฝ่ายชนะ บุคลิกภาพของบุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมออกไปตามแนวของจิตฝ่ายที่ชนะ

ที่มา:sites.google.com/site/ktisana1/

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

บทความแนะนำ หมวดหมู่: ไลฟ์สไตล์
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 173309: 67