Supply Chain Management (SCM)
Supply Chain Management (SCM) คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจําหน่าย ไปจนถึง ลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน ในการปรับตัวของ องค์การเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานนั้น สิ่งที่สําคัญ คือ เพื่อให้องค์การมี ความสามารถในการ บริหาร ความเติบโตของธุรกิจ และความยั่งยืนของธุรกิจ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการนําเอาการบริหารจัดการ โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานมาใช้
การแข่งขันที่รุนแรง
การกลายเป็นโลกาภิวัตน์
ความไม่แน่นอน
การขาดความไว้ใจซึ่งกันและกัน
การขาดการประสานและความร่วมมือกัน
ไม่มีการแชร์หรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาและการนําเอาการบริหารจัดการ โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานมาใช้
การแข่งขันที่รุนแรง
การกลายเป็นโลกาภิวัตน์
ความไม่แน่นอน
การขาดความไว้ใจซึ่งกันและกัน
การขาดการประสานและความร่วมมือกัน
ไม่มีการแชร์หรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบของการบริหาร Supply Chain Collaboration
ปัจจุบันเรื่องของ Supply Chain หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน มีความจําเป็นสําหรับการ ดําเนินธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรม ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน ที่ทําให้ทุกภาค ธุรกิจใส่ใจกับเรื่องการลดต้นทุนในการดําเนินงานและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ
ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) อันนี้เป็นปัจจัยหลักและสําคัญมากที่สุด จําเป็นที่จะต้องสร้าง ขึ้นมา ในอดีตผู้ที่ทําธุรกิจเกี่ยวข้องกันนั้นมักมีความไว้วางใจกันสูง ความไว้วางใจในอดีตนั้นมักเกิดใน รูปของคุณภาพสินค้าและเครดิต
การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (Information Sharing) หากคู่ค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูลการค้าร่วมกัน หรือเป็นข้อมูลชุดเดียวกันแล้ว จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเรื่องของเวลา (Time) และ ต้นทุน (Costs) คือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของ Lead Time, Order Fulfillment
คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Quality of Shared Information) คุณภาพของข้อมูล โดยทั่วไป หมายถึงความถูกต้อง (Accuracy) และความทันต่อเวลา (Timeliness) ข้อมูลนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ ใดๆเลย หากเป็นข้อมูลที่ขาดความถูกต้องแม่นยํา
เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information and Communication Technologies)ปัจจัย ทั้งสามข้อที่ได้กล่าวมา จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากการนําเอาเรื่องของไอซีทีมาใช้ ความจริงเรื่อง ของ Collaboration มีการพูดถึงมานานแล้ว แต่องค์กรธุรกิจต้องใช้เวลาในการติดตั้งซอฟต์แวร์ เพื่อให้พร้อมทั้งตนเองและคู่ค้า
การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การบริหาร SCM
ในการบริหารกลยุทธ์นั้น ผู้บริหารหรือองค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ได้หลายวิธีทั้งนี้ ควรพิจารณาความเหมาะสม และสภาพธุรกิจขององค์การ กลยุทธ์ของ SCM สามารถแบ่งประเด็น สําคัญ ๆ ได้ดังนี้
ความยืดหยุ่นในระบบ ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการปรับปรุงระบบ การใช้พนักงานชั่วคราว การ ใช้อุปกรณ์ที่ทํางานได้หลากหลาย การจ้างหน่วยงานภายนอกทํางาน การปรับปรุงกระบวนการให้ลด รอบเวลา
องค์การควรมีการออกแบบระบบให้เหมาะสมโดยเน้นสินค้า ช่องทาง หรือตลาดให้สอดคล้องกับ ความต้องการของลูกค้า
มีการจัดแบ่งลูกค้าและสินค้า การปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละรายตามระดับประโยชน์ที่ได้รับจากลูกค้า การแยกประเภทลูกค้าอย่างเหมาะสม องค์การควรมีการมองภาพรวมทั้งโลก มีการกําหนดมาตรฐาน ของกระบวนการข้อมูล วัตถุดิบและปัจจัยพื้นฐาน การใช้ระบบงานร่วมกันทั่วโลก เช่น การใช้แหล่ง ผลิตร่วมกัน การใช้ชิ้นส่วนร่วมกัน เป็นต้น
การบริหารการพัฒนาสินค้า การบริหารต้นทุนเป้าหมายของสินค้า (Target Costing) การบริหาร ต้นทุนของสินค้าตลอดช่วงอายุ (Life Cycle Costing)
การผลิตสินค้า/บริการเฉพาะลูกค้า การสร้างความแตกต่างของสินค้า/บริการใกล้จุดส่งมอบที่สุด การผลักภาระให้ลูกค้าทําให้สินค้า/บริการเหมาะกับตนมากที่สุด การออกแบบให้สินค้า/บริการใช้วัสดุ หรือชิ้นส่วนร่วมกัน การทําให้สินค้ามีความแตกต่างตามลูกค้า เกิดขึ้นที่โรงงาน โกดัง หรือจุดส่งมอบ
การใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม การปรับระบบข้อมูลให้ส่งเสริม การลดต้นทุน การสร้างความยืดหยุ่น และความสามารถในการแข่งขัน อาทิ เทคนิค Activity – Based Costing การเชื่อมโยงระบบกับคู่ค้า การลดรอบเวลาในการจัดหาข้อมูล จนถึงการใช้ประโยชน์ การปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลให้เน้นที่ ลูกค้า
การลดความสูญเสีย การใช้มาตรฐานข้อมูลหรือสัญลักษณ์ การลดความซับซ้อนของสินค้า กระบวนการผลิต การส่งมอบ การลดจํานวนผู้ส่งมอบ การบริหารความต้องการและการตอบสนอง สินค้าให้เกิดการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมากที่สุด
การสร้างพันธมิตร การใช้หน่วยงานทํางานแทนบางอย่าง การประสานงานระหว่างคู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้ให้บริการ และลูกค้า การพัฒนาการจัดการในด้านนี้
การใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาเครือข่ายผู้ส่งมอบ เพื่อร่วมจัดทําแผนการ ผลิตและส่งมอบอย่างทันเวลา
การพัฒนาบุคลากร การมีมุมองหลากหลายบนพื้นฐานของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การทํางาน หลากหลายเพื่อสร้างความเข้าใจในงานทุกระบบ การมีความรู้ถึงระดับภาคปฏิบัติ การพัฒนาให้มี ความสามารถหลากหลาย ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ
เมื่อพิจารณากลยุทธ์และวิธีการดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเข้าใจและมีความรู้ ในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ การจัดการกลยุทธ์ธุรกิจ การจัดการกระบวนการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การพัฒนาองค์การ เป็นต้น องค์การต่าง ๆ ควรจะมีแผนงานในด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน
ประโยชน์ของการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
เสริมสร้างความสามารถในการบริหารและการแข่งขันของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน
ส่งเสริมการเติบโตและความยั่งยืนของธุรกิจ
สมาชิกในห่วงโซ่อุปทานปรับระบบการทํางานให้สอดคล้องกัน
แบ่งปันข้อมูลที่จําเป็นเพื่อความคล่องตัวในการดําเนินงาน
ใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจํากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน
แนวคิดการบริหารห่วงโซ่อุปทาน
เปลี่ยนจากการทํางานตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละผ่ายเป็นการทํางานร่วมกันเป็น กระบวนการ
เปลี่ยนเป้าหมายที่กําไรเป็นการทํางานที่มีเป้าหมายหลายด้าน
เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์เป็นการมุ่งเน้นลูกค้า
รักษาปริมาณสินค้าคงคลังในระดับที่เหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูง ที่สุดโดยใช้ระบบสารสนเทศเชื่อมโยงและแจ้งข้อมูลได้ทันที
สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ประกอบการติดต่อด้วยสัญญาทางการค้า ใบสั่ง สินค้า หรือการเจรจาทางการค้า
กลยุทธ์การบริหารห่วงโซ่อุปทาน
จัดระบบให้ยืดหยุ่น และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยออกแบบโครงสร้างและ กระบวนการต่างๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานอย่างเหมาะสม และครอบคลุม
ระบุประเภทของเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการดําเนินการในแต่ละกระบวนการ
ใช้ข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยปรับและเชื่อมโยงระบบข้อมูล รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพของข้อมูลเพื่อ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
สร้างพันธมิตร ประสานงานระหว่างคู่ค้า ผู้ส่งมอบ ผู้ให้บริการ และลูกค้า
ใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยพัฒนาเครือข่ายพันธมิตร และร่วมจัดทําแผนการ ดําเนินงาน
พัฒนาบุคลากรให้สามารถทํางานข้ามวัฒนธรรม เข้าใจงานทุกระบบ ทํางานได้หลากหลาย และมี ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี
การเลือกและบริหารพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน
ผู้บริหารระดับสูงไว้วางใจซึ่งกันและกัน
สายผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับความต้องการในปัจจุบันของลูกค้า
มีเทคโนโลยีระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
สถานภาพของบริษัทที่เป็นสมาชิกแข็งแกร่ง
สมาชิกทุกคนมีพันธสัญญาว่าจะทํางานร่วมกันทั้งทางวาจาและทางปฏิบัติ
วางแผนการดําเนินงานให้สอดคล้อง กลมกลืน และเป็นไปในทิศทางเดียวกันระหว่างสมาชิกใน ห่วงโซ่อุปทาน
สมาชิกในห่วงโซ่อุปทานทุกฝ่ายร่วมกันวางแผนและปรับลักษณะการปฏิบัติงานภายในหน่วยธุรกิจ ของตนให้สอดคล้องกับแผนและลักษณะการปฏิบัติงานของสมาชิกอื่นๆ
สมาชิกทํางานร่วมกันในลักษณะหุ้นส่วน พึ่งพาอาศัยกัน และเห็นความสําคัญซึ่งกันและกัน
เปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลที่จําเป็นระหว่างสมาชิกเพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน
การบูรณาการห่วงโซ่อุปทาน
สมาชิกในห่วงโซ่อุปทานประสานงานสอดคล้องกันทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ ตลอดจน การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อสนับสนุนงาน
บูรณาการสารสนเทศ โดยเชื่อมโยงและแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลต่างๆ ที่มีผลกระทบ การดําเนินงาน
บูรณาการกระบวนการทางธุรกิจให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อช่วยปรับปรุงความสามารถหลักของ แต่ละฝ่าย อีกทั้งเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สร้างแบบจําลองธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทาน และการส่งมอบ คุณค่าให้แก่ลูกค้าในรูปแบบที่ต่างจากเดิม
ในการอธิบายความรู้พื้นฐานสําหรับการบริหารจัดการโซ่อุปทาน (Basic of Supply Chain Management: SCM) สิ่งที่สําคัญที่สุดคือการเข้าใจถึงความหมายที่แท้จริงของโซ่อุปทาน (Supply Chain) และการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ไปพร้อม ๆ กับกระบวนการทางโลจิสติกส์
โดยคํานึงถึงการไหลของโซ่อุปทานที่เริ่มจาก ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ/ส่วนประกอบ (Raw Material/ component suppliers) ผู้ผลิต (Manufacturers) ผู้ค้าส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers/distributors) ผู้ค้าปลีก (Retailers) ไปจนถึงผู้บริโภค (Customer) โดยนําเอา กลยุทธ์ วิธีการ แนวปฏิบัติ หรือทฤษฎี มาประยุกต์ใช้ในการจัดการ การส่งต่อ วัตถุดิบ สินค้า หรือ บริการจากหน่วยงานหนึ่งในกิจกรรมโซ่อุปทาน ไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์หลักของ (Supply Chain Management: SCM) ก็เพื่อลดต้นทุนการถือครองสินค้าให้¹
¹ที่มา:https://logist.rtaf.mi.th/images/files/download/Supply_Chain_Management.pdf
อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com
มื่อเริ่มต้นทำธุรกิจแน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยอะไร ที่ส่งผลให้ต้องปิดกิจการลง การเตรียมความ
หาปริมาตร - หัวใจสำคัญของการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และสิ่งของรอบตัวเรา! บทความนี้จะแนะนำแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการหาปริมาตรสำหรับนักเรียน ป.6
ทรงกรวย (Cone) เป็นรูปทรงเรขาคณิตที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ถ้วยไอศกรีมทรงกรวย หรือ กรวยจราจร ซึ่งเป็นรูปทรงที่มีฐานเป็นวงกลมและมีจุดยอดเดียว
การหาจำนวนเฉพาะในช่วงตัวเลขที่กำหนดเป็นงานที่น่าทึ่งและยาก เนื่องจากต้องตรวจสอบว่าไม่มีตัวเลขใดในช่วงนั้นสามารถหารลงตัวได้ยกเว้นตัวเลขที่เป็นจำนวน
ประโยชน์ของแผนที่5ข้อ เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ประโยชน์ แผนที่ ประโยชน์ของแผนที่ประเทศไทย แผนที่ ใช้ทําอะไร องค์ประกอบของแผนที่ วิธีการใช้แผนที่ วัตถุ
plagiarism การลักลอกผลงาน การคัดลอกผลงาน การโจรกรรม ทางวิชาการ การใช้ผลงานหรือแนวคิดของบุคคลอื่นเพื่อทําให้ดูเหมือนเป็นงานของตนเอง คัดลอก
อาเซียน 10 ประเทศ ประเทศไทย ประเทศบรูไน ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศมาเลเซีย ประเทศเมียนมาร์ ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศ
บทความแนะนำ หมวดหมู่: เศรษฐกิจ
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 168643: 1392